ไลฟ์แฮ็ก
How To เขียนบทความยังไงให้ผ่านอนุมัติเร็ว

Photo by picjumbo.com from Pixels
กิจกรรมหรือเรื่องราวต่างๆที่เราไปเจอในแต่ละวัน เช่น ท่องเที่ยว กิน เดินเล่น ในสถานที่ต่าง ๆ ถ้าปล่อยให้มันเป็นแค่รูปภาพไว้บันทึกความทรงจำของวันวานที่ผ่านมา ทำไมเราไม่เปลี่ยนมันเป็นรายได้เลยล่ะครับ ก็คือเอารูปภาพที่เราถ่ายได้ในชีวิตประจำวัน มาเขียนเล่าเรื่องลงใน True ID In-Trend ไงละครับ ผมทำมาประมาณ 1 เดือนเศษ ผลตอบรับถือว่าดีทีเดียว รายรับก็จะขึ้นอยู่กับความขยันของแต่ละบุคคล ถ้าเขียนได้เยอะก็ได้เยอะ ถ้าเขียนได้น้อยก็ตามเนื้องานนั้นแหละ
ในแต่ละวันทางทีมงานจะมีภารกิจมาให้เราเขียน ยกตัวอย่างเช่น เรื่องกีฬา เรื่องแฟชั่น เรื่องอาหาร จะมีภารกิจเกิดขึ้นทุก ๆ วันไม่ซ้ำกัน ผู้เขียนต้องใช้ความสามารถหาข้อมูลมาเขียนตามที่ได้รับมอบหมาย ไม่กำหนดว่าจะวันละกี่บท จนกว่าจะเลยเที่ยงคืนของอีกวัน นอกจากเรื่องเขียนแล้วยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกหลายอย่างเพื่อให้บทความเราผ่านง่ายขึ้น ซึ่งผมจะอธิบายเป็นข้อหลักสัก 3-4 ข้อหลักๆว่ามีหัวข้อไหนบ้างที่ต้องเน้นเป็นพิเศษ เพื่อให้บทความของเราผ่านเร็วขึ้น
Advertisement
Advertisement
1.เนื้อหาของบทความ ตรงนี้สำคัญเป็นอันดับ 1 เพราะเราต้องเขียนและเรียบเรียงขึ้นมาด้วยตัวของเราเอง ห้ามคัดลอกจากที่อื่นมาโดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้บทความของเราไม่ผ่านอนุมัติ และใน 1 บทต้องมีอย่างน้อย 3 ย่อหน้า 400 ตัวอักษรขึ้นไปเพื่อความสมบูรณ์ของบทความ ถ้าใน 1 ย่อหน้ามันยาวเกินไปก็ให้แบ่งออกเป็นย่อหน้าย่อยได้เช่นกัน
Photo by Elina Krima from Pexels
2.รูปภาพที่ใช้ในบทความ จะต้องมีรูปในบทความประมาณ 3- 4 รูปและต้องเป็นรูปภาพที่ถ่ายเองเท่านั้นหรือรูปภาพจากเว็บไซด์แจกรูปฟรีก็ได้ เช่น Pixabay.com, Pixels.com เอามาแล้วก็อย่าลืมให้เครดิตเจ้าของรูปด้วยนะครับ เพื่อเป็นการขอบคุณเจ้าของผลงาน รูปที่เราถ่ายต้องไม่เบลอ แตก หรือไม่ชัดและรูปกับบทความต้องมีเนื้อหาที่ตรงกันด้วย เช่น รีวิวอาหารแค่เอารูปทะเลมาลงตรงนี้ก็อาจจะโดนแก้ไขได้ ก่อนส่งงานก็อย่าลืมตรวจบทความดีๆก่อนส่งด้วยนะครับ
Advertisement
Advertisement
Photo by Lisa Fotios from Pexels
3.ภาพหน้าปกของบทความตรงนี้ก็สำคัญเช่นกันครับ รูปภาพที่จะนำเอามาทำเป็นรูปภาพหน้าปกจะต้องอธิบายภาพรวมของบทความหรือเกริ่นนำดึงดูดให้ผู้อ่านสนใจที่จะเปิดเข้าไปอ่านบทความของเรา และต้องมีชื่อบทความเขียนลงบนรูปภาพหน้าปก ตัวหนังสือต้องมองเห็นได้ชัด ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไปและต้องอยู่กึ่งกลางของรูปภาพ
Photo by Daria Shevtsova from Pexels
สำหรับการเขียนนั้นนอกจากจะช่วยให้เรามีทักษะในการเล่าเรื่อง เรียบเรียงให้คนอ่านเข้าใจแล้ว ยังเป็นการฝึกฝนสมองไปในตัวอีกด้วย ซึ่งการเขียนบทความให้ผ่านโดยไม่มีการแก้นั้น จริงๆแล้วก็มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยอยู่เยอะพอสมควร เช่น การตั้งชื่อบทความ การสร้างแรงดึงดูดให้ผู้อ่านอยากอ่าน และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งจะต้องมีประสบการณ์พอสมควร เดี๋ยวจะมารีวิวให้ฟังกันอีกทีว่า นอกจาก 3 หัวข้อข้างต้นนี้แล้ว จะต้องมีหัวข้อสำคัญอะไรบ้างที่จะทำให้บทความของเราผ่านเร็วขึ้น หากบทความผิดพลาดตกหล่นตรงไหน ขออภัยไว้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
ความคิดเห็น
