ไลฟ์แฮ็ก
กำจัดเศษอาหารอย่างไรให้รักษ์โลก | Porraphat.com
เศษอาหารที่ได้จากการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อจัดว่าเป็นขยะอินทรีย์ หรือขยะย่อยสลาย เป็นขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำมาหมักปุ๋ยได้ เช่น เศษอาหาร เนื้อสัตว์ กระดูกสัตว์ เปลือกไข่ เปลือกผลไม้ เศษกิ่งไม้ ใบไม้ ฯลฯ
แม้ว่าการแยกขยะก่อนทิ้งเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่หลายคนก็ยังมองว่าไม่สำคัญ และมองปัญหาขยะเป็นเรื่องไกลตัว แต่ที่จริงแล้วปัญหาขยะเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิดเพราะคนไทยสร้างขยะเฉลี่ย 1.14 กิโลกรัม ต่อคนต่อวัน (ข้อมูลปี 2559) หากคำนวณประชากรไทยที่ปัจจุบันมีเกือบ 70 ล้านคน นับได้ว่าเป็นปริมาณขยะที่มหึมา และหากคำนวณเป็นเดือน เป็นปี จำนวนขยะก็จะยิ่งทวีคูณ เห็นไหมว่ามันเยอะแค่ไหน?
จากจำนวนขยะอันมหาศาล ขยะอินทรีย์พบมากถึง 70% ของปริมาณขยะทั้งหมด โดยมีสารอินทรีย์เน่าเปื่อยปะปนอยู่ เป็นแหล่งเพาะโรค พาหะนำโรค ก่ออันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
Advertisement
Advertisement
วิธีจัดการกับขยะอินทรีย์
- รีดน้ำออกจากขยะให้มากที่สุด (หรือให้แห้งที่สุด)
- พัน/ห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ก่อนทิ้ง
- ไม่ควรใส่ถุงพลาสติกเพื่อทิ้ง เพราะคัดแยกยาก
- แยกส่วนที่เป็นของเหลวและของแข็งออกจากกัน เพราะทำให้เกิดความชื้น เสี่ยงปนเปื้อนสูง
- น้ำมันพืชใช้แล้ว ใส่ขวดหรือภาชนะ แยกทิ้งจากขยะอื่น ๆ เพื่อไม่ทำให้ขยะในกองสกปรก และยากต่อการจัดการ ไม่ควรเททิ้งท่อระบายน้ำเด็ดขาด เพราะเป็นตัวการสำคัญให้ท่อระบายน้ำอุดตันและส่งผลเสียต่อระบบนิเวศน์
วิธีจัดการกับน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว
การเทลงท่อระบายน้ำเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ท่อระบายน้ำอุดตัน แถมส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ น้ำมันใช้แล้วอาจนำไปใช้ซ้ำอีก 1 ครั้ง (reuse) หรือนำไปแปรรูป (recycle) เพิ่มมูลค่าได้ แต่จำเป็นต้องมีการจัดการที่ถูกต้องดังนี้
- ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น
- กรองใส่ในภาชนะ โดยใช้ที่กรองเศษอาหาร กรองเอาสิ่งสกปรกและเศษอาหารออกให้หมด
- แช่ในช่องฟรีซ หรือเก็บในพื้นที่เย็นชื้น ให้น้ำมันแข็งตัว ง่ายต่อการทิ้งลงถังขยะ
Advertisement
Advertisement
การไม่สร้างขยะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด แต่ทำได้ยาก ดังนั้น “การคัดแยกขยะที่ต้นทาง” อย่างถูกต้อง คือหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาที่จะช่วยให้ระบบจัดการขยะมีประสิทธิภาพ ทั้งยังสะดวกในการจัดเก็บ ลดต้นทุนในการรีไซเคิล นอกจากนี้ขยะบางชนิดยังสามารถนำไปเพิ่มมูลค่าได้อีกด้วย
ความคิดเห็น