ไลฟ์แฮ็ก
ขบวนการพัฒนาการองค์กร ไม่ต้องรีบไป 4.0 หากคุณยังไม่ผ่าน 3.0 – เคล็ดลับการบริหาร
ทศวรรษที่ผ่านมา ถือเป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบแผนทำธุรกิจ การเข้ามาของเทคโนโลยีดิจิทัลและคลาวด์ หลายบริษัทที่เข้าใจ สมาทานและปรับตัวได้ทัน จะแสดงผลโดยชัดเจนในการปรับโครงสร้างองค์กร รูปแบบการทำงาน นำมาซึ่งนวัตกรรมทั้งในรูปแบบของโปรดักซ์หรือบริการแบบใหม่ ๆ ถึงปัจจุบัน หน่วยงานภาครัฐจึงมีความพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะเดินตามพลวัตนี้ให้ได้ หลายหน่วยจัดตั้งหน่วยงานนวัตกรรม หรือแม้กระทั่งหลายหน่วยงานก้าวข้ามคนใน จัดตั้ง ‘เวนเจอร์ แคปปิตอล ฟันด์’ สร้างทีมนักล่า-ไล่หาลูกยูนิคอร์นทั้งในและนอกประเทศ เพื่อร่วมลงทุน/ให้ทุน ศึกษาพัฒนานวัตกรรมหรือแม้กระทั่งธุรกิจในรูปแบบใหม่ ๆ
อย่างไรก็ตาม (ความเห็นส่วนตัว) กลับมองว่าการจะเดินหน้าไปสู่องค์กรนวัตกรรมกลับเป็นขั้นตอนที่ต้องมีลำดับของการพัฒนาการ องค์กรต้องก้าวผ่าน learning organization สู่ research based organization สู่ knowledge based organization การนำความรู้ในองค์กรมาบริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบ หรือที่เรียกกันว่า KM ยิ่งไปกว่านั้นกว่าสิบปีที่ผ่าน หลายหน่วยงานพยายามเดินตามแฟชั่น KM โดยไม่เคยศึกษาลงไปถึงปรัชญา จึงไม่เคยเข้าใจแทนที่จะได้ประโยชน์จาก KM กลับกลายเป็นการสร้างภาระและค่าใช้จ่าย … จะเข้าใจ KM คุณต้องเข้าใจ 2 เรื่อง
Advertisement
Advertisement
1.คือ DIKW pyramid – ถ้าไม่มี DATA จะไม่มี INFORMATION และ ถ้าไม่มี INFORMATION จะไม่มีทางสร้าง Knowledge ได้ ... ยิ่งไปกว่านั้น ย้อนกลับไปก้าวแรก การจะมี DATA ได้ คุณต้องรู้วิธี MEASUREMENT ที่น่าเชื่อถือ - นั่นเป็นสาเหตุที่ผมกล่าวว่า ถ้าองค์กรใดไม่เคยผ่าน research based organization จะไม่สามารถเดินไปสู่ knowledge based organization เพราะ research based เป็นก้าวแรกของขบวนการ MEASUREMENT ที่จะนำไปสู่ความเข้าใจ รับรู้ข้อเท็จจริง (FACTS) และมี DATA ที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ
และ 2 คือ คุณต้องเข้าใจขบวนการ การนำ KM ไปใช้ – หลักใหญ่ใจความของ KM คือ การสกัดความรู้ในตัวบุคคลออกมาเป็นหลักการปฏิบัติ ถ้าพูดง่าย ๆ คือ การนำ best practice ของผู้รู้ มาศึกษาเพื่อให้ได้ขบวนการทำงานแบบใหม่-ที่ดีกว่าเดิม (ประหยัดมากหรือมีประสิทธิภาพดีขึ้น) จากนั้นจึงจัดทำเป็น Standard Operation Procedure–SOP นั่นเอง --- จึงนำมาซึ่งหลักการที่ว่า ทำไม SOP มันถึงต้อง dynamic เพราะมันต้องถูกแก้ไข ปรับปรุงตลอดเวลา ตามสภาพแวดล้อมใหม่ ขบวนการ MEASUREMENT– FACT - DATA -> (new) Process with (new) SOP เป็นที่น่าตั้งข้อสังเกตุได้ว่า หากหน่วยงานใด SOP ไม่เคยได้รับการแก้ไข/ปรับปรุงเป็นเวลานาน แปลว่าว่า องค์กรนั้น ๆ ไม่เข้าใจหลักการ KM นั่นเอง
Advertisement
Advertisement
เมื่อองค์กรใดใด (บุคลากรในองค์กร) เข้าใจหลักการนั้นแล้ว จึงน่าจะถือว่ามีความพร้อมที่จะเดินต่อสู่ความเป็น ‘องค์กรนวัตกรรม’ ซึ่งการจะสร้างนวัตกรรมได้ - เป็นความยากลำบากมากหากจะทำโดยบุคลากรภายในองค์กร ข้อมูลที่สนับสนุน นั่นคือ ทำไมองค์กรที่ยิ่งใหญ่เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ถูก disrupt โดย Startup กลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่มักประกอบด้วย คนที่รู้รูปแบบธุกิจเดิม คนนอกวงการธุรกิจนั้น และคนที่มีข้อมูล ดังนั้นหากจะเดินหน้าไปสู่ ‘องค์กรนวัตกรรม’ ได้ องค์กรนั้น ๆ ต้องยอมที่จะถูก disrupt และคงจะเป็นการดีมาก ๆ หาก องค์กรใดใดสร้างรูปแบบการทำงานให้คนภายในสามารถ disrupt องค์กรตนเองได้ ... โอกาสหน้าจะมาแนะนำการสร้าง Startup ด้วยคนในองค์กรเพื่อ disrupt องค์กรตนเอง กันครับ
..............................
ภาพจาก Shutterstock (ซื้อถูกกฎหมาย)
ความคิดเห็น