ไลฟ์แฮ็ก

บันไดพิชิตฝันสู่การเป็นนักเขียนนิยายที่ดี

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
บันไดพิชิตฝันสู่การเป็นนักเขียนนิยายที่ดี

แต่ก่อนนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่าคนมักพูดถึงอาชีพนักเขียนในทางที่ไม่ค่อยสู้ดีนัก เช่น ต้องไส้แห้ง , อดตาย แต่ในปัจจุบันมีนักเขียนชื่อดังจำนวนมากที่ประสบความสำเร็จทำให้คนมากมายใฝ่ฝันที่อยากจะเป็นนักเขียน ซึ่งนั่นรวมถึงแป้งด้วย แป้งเคยมีโอกาสได้ไปสมัครเข้าเรียนคอร์สการเขียนพล็อตนิยายอย่างไรให้โดนใจบก. แป้งจึงอยากนำความรู้ที่ได้มาบอกต่อให้กับเพื่อน ๆ นักเขียนที่ใฝ่ฝันอยากเป็นนักเขียนนิยายว่าต้องทำอย่างไร เราควรมีคุณสมบัติและเขียนนิยายแบบไหนที่จะทำให้เราก้าวเข้าสู่อาชีพนักเขียนนิยายที่ประสบความสำเร็จได้ วันนี้แป้งมีคำตอบมาให้เพื่อน ๆ ค่ะ

ขั้นตอนก่อนการจะเป็นนักเขียนได้ แน่นอนว่าต้องรักการอ่านก่อนนั่นแหละค่ะเพราะการอ่านจะช่วยฝึกทักษะด้านการสะกดภาษาที่ถูกต้อง ได้ฝึกการใช้คำอย่างสละสลวย และนอกจากรักการอ่านแล้วยังต้องรักที่จะเขียนแต่จะเริ่มต้นเขียนอย่างไรให้น่าสนใจ ถูกใจบรรณาธิการเราควรจะมี

Advertisement

Advertisement

เขียนขอบคุณรูปภาพจาก https://unsplash.com

1.  พล็อตเรื่อง คือ เรื่องราวที่ดำเนินไปตั้งแต่ต้นจนจบ มีตัวละคร , ความขัดแย้ง , อุปสรรค และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง (ในเป้าหมายของตัวเอก) ในตอนจบของเรื่อง และตัวละครในพล็อตที่จะทำให้เรื่องสนุกได้นั้นต้องมีตัวละครที่เป็นตัวเอก ตัวร้าย

2.  รูปแบบของพล็อตพื้นฐาน เราจะเห็นได้จากนิยายที่เราอ่านในบ้านเราทุกวันนี้มีหลากหลาย เช่น แนวรัก , สืบสวน , สยองขวัญ , วิทยาศาสตร์ , มหัศจรรย์ , กามารมณ์ และสะท้อนปัญหาสังคม ซึ่งรูปแบบเหล่านี้สามารถนำมารวมกันอยู่ในเรื่องเดียวได้นะคะ โดยเราต้องแบ่งสัดส่วนของเรื่องให้ดี

3.  การวางแก่นเรื่อง/เส้นเรื่อง เส้นเรื่องที่ดีนั้นต้องเล่าเรื่องสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เกิดจากอะไรและจะแก้ปัญหาอย่างไร โดยแก่นเรื่องบอกทุกสิ่งกับคนอ่านได้ ดังนั้นตั้งชื่อนิยายเป็นแก่นเรื่อง จะช่วยทำให้เราไม่ลืมเรื่องที่เราแต่งค่ะโดยเส้นเรื่องต้องเกิดจากตัวละครหลักและอย่ามากจนเกินไป

Advertisement

Advertisement

ปากกาขอบคุณรูปภาพจาก https://unsplash.com

4.  การดึงเส้นเรื่องและกำหนดความยาวของเรื่องอย่างง่าย แน่นอนว่าปกติเวลาเราเริ่มเขียนไปแล้ว มักใส่เหตุการณ์เข้าไปจนบางครั้งออกนอกเส้นเรื่องที่เราวางไว้ ดังนั้นเราควรแบ่งเรื่องต้น , กลาง ,จบ ให้เท่ากัน และใส่เหตุการณ์ที่ดีเป็นการมอบรางวัลให้กับตัวละครและคนอื่นเพื่อเป็นการจบอย่างอิ่มเอมใจ ตอนที่เราแบ่งเรื่องนั้นควรหาสถานการณ์ให้ใส่จุด Climax ลงไปได้ในช่วงกลางเรื่อง , ปูความลับไปทีละนิดและพอถึงจุด Climax แล้วเราสามารถใส่เฉลยทุกอย่างลงไปในฉาก
หากระหว่างเขียนเราต้องการขยายเรื่องมีเทคนิคง่าย ๆ ของการขยายเรื่องนั่นก็คือการเพิ่มตัวละครนั่นเองค่ะ

แต่ทั้งหมดนั้นจะไม่ประสบความสำเร็จในการเขียนนิยายเพราะหากเราไม่รู้จักตัวละครที่เขียน ย่อมไม่ส่งผลดีต่องานเขียนของเราแน่นอนค่ะ ดังนั้นก่อนจะทำการเริ่มเขียนนิยายนอกจากพล็อตนิยายแล้ว การเขียนคาแรคเตอร์ตัวละครเพื่อให้เราทำความรู้จักกับตัวละครในนิยายทุกตัว จะช่วยทำให้การเขียนของเราสนุกยิ่งขึ้น

Advertisement

Advertisement

คาแรคเตอร์ตัวละครเป็นสิ่งสำคัญมาก การแกล้งตัวละครและคนอ่านให้คนเอาใจช่วยด้วยการขยี้เรื่อง ทิ้งปมเรื่องมีจังหวะให้คิด โดยปมเรื่องที่ใหญ่ที่สุดควรคลี่คลายให้ช้าที่สุด และผลดีจากการที่เรารู้จักตัวละครของเราเองนั้นทำให้เราที่เป็นนักเขียนทราบดีว่าเมื่อตัวละครเจอสถานการณ์นั้นแล้วจะแก้ปัญหาอย่างไร การเขียนของเราจะสนุกและราบรื่นมากยิ่งขึ้นค่ะ

หนังสือขอบคุณรูปภาพจาก https://unsplash.com

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบันไดขึ้นเล็ก ๆ ที่จะจุดประกายทำให้เพื่อน ๆ ที่ใฝ่ฝันอยากเป็นนักเขียนลุกขึ้นมาเริ่มต้นอย่างถูกต้อง ไม่ว่าเราคิดอยากจะทำอะไรขอแค่ค้นคว้าหาความรู้ในสิ่งที่เราสนใจและชื่นชอบ เราจะสามารถทำได้เสมอ เหมือนกับอาชีพนักเขียนนิยายที่เราอาจถูกปฏิเสธงาน แต่ถ้าเราไม่ยอมแพ้และฝึกฝนอย่างตั้งใจ สักวันการเป็นนักเขียนนิยายที่ดีคงไม่ใช่ฝันที่ไกลเกินเอื้อมแน่นอนค่ะ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์