อื่นๆ

หากปลากัดป่วยต้องทำอย่างไร? | Porraphat.com

3.6k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
หากปลากัดป่วยต้องทำอย่างไร? | Porraphat.com

Photo by Kyaw Tun on Unsplash

ปลากัดขึ้นชื่อว่าเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ตายยาก แต่ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นปลาที่อมตะ หากเลี้ยงดูไม่ดีก็อาจจะป่วยหรือตายได้ ซึ่งหากปลากัดป่วยจะแสดงอาการออกมาอย่างชัดเจน ตั้งแต่อาการเซื่องซึม ไปจนถึงมีจุดด่างขาวตามลำตัว หากมีอาการบ่งชี้ว่าปลากัดที่เลี้ยงอยู่กำลังป่วย ให้รีบแยกออกจากปลาตัวอื่นทันที (กรณีเลี้ยงรวมกัน) เพราะโรคที่เกิดจากปลาส่วนใหญ่สามารถติดต่อกันได้

การรักษาอาการป่วยของปลากัดค่อนข้างยาก เพราะยารักษาโรคที่เกิดกับปลากัดไม่สามารถหาซื้อได้ตามร้านปลาสวนงามหรือร้านสัตว์เลี้ยงทั่วไป โดยส่วนใหญ่มักหาซื้อกันตามร้านขายปลากัดโดยเฉพาะ แต่ในปัจจุบันผู้คนนิยมซื้อกันผ่านทางร้านค้าออนไลน์

ปลากัดสำหรับการรักษาโรคของปลากัด ก่อนอื่นผู้เลี้ยงจะต้องรู้ก่อนว่าปลากัดของตนเองป่วยด้วยโรคอะไร ซึ่งโรคส่วนใหญ่ที่มักเกิดกับปลากัดมีดังนี้

Advertisement

Advertisement

ปลากัดโรคท้องมาน

โรคท้องมานจะทำให้ท้องของปลากัดโตและบวมผิดปกติ หากเกิดในปลากัดเพศเมียอาจทำให้ผู้เลี้ยงคิดว่ามันพร้อมที่จะผสมพันธุ์ สำหรับการรักษาโรคท้องมานควรผสมเกลือ 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 300 ซีซี ทิ้งไว้ประมาณ 24 ชม. หากปลากัดว่ายน้ำได้ดีขึ้น อาการเซื่อมซึมลดลง ท้องที่บวมโตแฟบลงแปลว่าดีขึ้น ควรทำซ้ำแบบเดิมจนกว่าจะหายดี และสามารถลดปริมาณเกลือให้เหลือเพียงครึ่งช้อนชา และควรเปลี่ยนน้ำทุกสามวัน

ปลากัดโรคตาโปน

โรคตาโปนเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือบาดแผลถลอกบริเวณรอบดวงตา ทำให้ตาของปลากัดปูดบวมและโตผิดปกติ การรักษาสามารถใช้ใบหูกวางล้างสะอาดตากแห้ง 1-3 ใบต่อน้ำสะอาด 300 ซีซี จากนั้นนำปลากัดแช่เอาไว้ 2-3 วัน ยางจากใบหูกวางจะละลายในน้ำและช่วยสมานแผลต่างๆ ให้กับปลากัดได้เป็นอย่างดี และยังช่วยให้หางและครีบสวยงามด้วยเช่นกัน

Advertisement

Advertisement

ปลากัดโรคสนิม

โรคสนิม มักเกิดจากปรสิตของปลาโปรโตชัวที่มาเกาะตามผิวหนัง ลำตัว และบริเวณของเหงือก โดยจะทำให้ปลากัดมีผิวหนังคล้ายกำมะหยี่สีเหลืองปนน้ำตาลกระจายเป็นหย่อมๆ บริเวณดังกล่าว บางครั้งอาจทำให้ผู้เลี้ยงคิดว่าปลากัดป่วยด้วยโรคจุดขาว แต่ควรสังเกตที่สีจะเห็นความแตกต่าง สำหรับวิธีการรักษาสามารถใช้เกลือแกงเข้มข้น 1% แช่ให้ปลากัดประมาณ 24 ชม. และทำซ้ำทุก 2 วัน จะทำให้อาการดังกล่าวดีขึ้น

ปลากัดโรคปากเปื่อย

โรคปากเปื่อย หากเป็นแล้วจะไม่มีทางรักษาหาย แต่สามารถเยียวยาให้ดีขึ้นแต่ส่วนใหญ่มักจะกลับมาเป็นอีก จึงควรแยกปลาที่ป่วยด้วยโรคนี้ออกมาอยู่ตัวเดียวเพื่อไม่ให้แพร่ไปยังตัวอื่นๆ โดยลักษณะของโรคนี้มักจะเกิดบริเวณปากของปลาจะมีแผลสีขา และเป็นเส้นเล็กๆ อาการของปลาจะซึมๆ ลอยตัวนิ่งๆ ที่ผิวน้ำ และไม่ค่อยว่ายน้ำ

ปลากัดโรคลำตัวซีด

Advertisement

Advertisement

โรคลำตัวซีดเกิดจากผู้เลี้ยงไม่ยอมเปลี่ยนน้ำ เกิดจากน้ำสกปรกจนทำให้มีปรสิตเกาะตามตัว และปลาต้องขับเมือกออกมามากจนเกินพอดี ลำตัวจึงมีสีซีดอย่างชัดเจน และอาจมีเกร็ดหลุดลอกออกมา

การเลี้ยงดูปลากัดแม้ว่าจะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายตายยาก แต่สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องอาศัยความเอาใจใส่จากผู้เลี้ยงดู ซึ่งหากไม่ดูแลก็จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้เช่นกัน


ติดตามผลงานจาก ปรภ ไม่ใช่ รปภ ได้ที่

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์