ไลฟ์แฮ็ก
แชร์ประสบการณ์ ขายเสื้อผ้าออนไลน์ยังไงให้ได้ลูกค้า

เนื่องจากยึดอาชีพแม่ค้าขายเสื้อผ้าออนไลน์เป็นอาชีพเสริม และงานอดิเรกมาได้หลายปีแล้ว มีความตั้งใจมาตลอดว่าอยากจะมาแชร์ประสบการณ์และทริคเล็ก ๆ น้อย เพื่อเป็นแนวทางให้เพื่อนๆลองไปปรับใช้ดู ต่อสู้กับเศรษฐกิจขาลงในช่วงนี้ ว่าแล้วก็มาเริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ
1. เลือกแนวเสื้อผ้าที่ชอบหรืออยากขาย
- การที่เราสร้างร้านให้มีจุดยืน จะทำให้สามารถโฟกัสแนวทางของสินค้าที่จะขายได้ถูกจุด ร้านก็จะดูไม่สะเปะสะปะ แถมเรายังสามารถนำเอาจุดยืนอันนี้มาสร้างเป็นจุดเด่น และนำไปโฆษณาได้อีกด้วย
- *ข้อสำคัญ คือ เราต้องคิดไว้เสมอ ว่าเราถนัดอะไร? กลุ่มเป้าหมายของเราคือใคร? เราต้องการให้ร้านของเราไปในทิศทางไหน? เป็นต้น หากเราตอบคำถามเหล่านี้ได้ การสร้างจุดยืนของร้านก็จะยิ่งชัดเจนมากขึ้น
2. แหล่งซื้อเสื้อผ้าก็สำคัญ
- เดี๋ยวนี้มีแหล่งขายส่งเสื้อผ้ามากมายให้เราเลือก ทั้งแบบ online และ offline หรือใครอยากสั่งผลิตเองก็มีให้เลือกกันหลายเจ้า ยิ่งตอนนี้ประเทศจีนรุกตลาดเสื้อผ้าบ้านเรามากขึ้น การไปติดต่อหรือนำเข้าจากประเทศจีนจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
- ทั้งนี้ทั้งนั้น เราควรเลือกจากแนวเสื้อผ้าของร้านเป็นหลัก เช่น เสื้อโหล เสื้อคอปก เสื้อยืด ควรไปโบ๊เบ๊, เสื้อผ้าแฟชั่น ตามเทรนปัจจุบัน ควรไปประตูน้ำ, เสื้อผ้าก็อป เสื้อผ้างานป้าย งานเกรด A ต้องไปแพลตตินั่ม เป็นต้น
Advertisement
Advertisement
ที่มาของรูป : เพจประตูน้ำ & แพลตินั่ม (Pratunam & Platinum Fashion Mall)
3. ลงขายที่ไหนดี?
- ปัจจุบันธุรกิจขายสินค้าออนไลน์บูมขึ้นมาก มีหลายคนหันมาทำเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริมอยู่ไม่น้อย จึงมี Platform สำหรับขายสินค้าเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น
- แบบหน้าเว็บ (แบบดั้งเดิม)
- ข้อดี คือ สร้างความน่าเชื่อถือ, มั่นคง เนื่องจากไม่ต้องไปพึ่งพา Platform อื่น ทำให้หาก Platform นั้นปิดตัวไป ร้านค้าก็ไม่เดือดร้อน
- ข้อเสีย คือ ต้องเสียเงินซื้อ Domain แบบรายเดือน และการสร้างเว็บเป็นเรื่องที่ยุ่งยากกว่าใช้ Platform สำเร็จรูปมาก
- Social Media : ไม่ว่าจะเป็น Facebook Fanpage, Instagram, Twitter ล้วนนำไปขายสินค้าออนไลน์ได้ทั้งสิ้น
- ข้อดี คือ สะดวก,ง่าย และรวดเร็ว ที่สำคัญลูกค้าเยอะ และสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย
- ข้อเสีย คือ ไม่มั่นคง เพราะหากปิดต้วไป ย่อมมีผลกระทบกับร้านค้าโดยตรง ที่สำคัญอาจโดนแฮคหรือระบบล่มได้
Advertisement
Advertisement
- Platform ขายสินค้าโดยตรง : เช่น Lazada, Shopee, Kaidee
- ข้อดี คือ สะดวก เพราะมี filter ให้ปรับเล่นได้หลากหลาย และรองรับสำหรับร้านค้าโดยตรง ที่สำคัญหาลูกค้าได้ง่าย เนื่องจากผู้ที่เข้าแอพพลิเคชั่นส่วนมาก คือ เข้ามาเพื่อหาซื้อสินค้าอยู่แล้ว
- ข้อเสีย คือ อาจเสียค่าคอมมิสชั่น และมีกฎห้ามขายสินค้าบางประเภท เป็นต้น
หากเป็นไปได้เราควรลงขายหลาย ๆ แหล่ง เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการขายสินค้า และเป็นการเข้าหากลุ่มเป้าหมายของเราได้อย่างรวดเร็ว
ที่มาของรูป : https://www.uniqlo.com/th/store/
4. ถ่ายรูปยังไงให้น่าซื้อ
- จากภาพจะเห็นเลยว่าด้านซ้ายดูหน้าซื้อกว่าด้านขวา การที่เราจัดองค์ประกอบของภาพได้ดี ไม่ว่าจะเป็นการจัดสี แสง และอุปกรณ์ประกอบ รูปที่ออกมาก็จะดูดี ดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้ ยิ่งถ้าหานางแบบมาใส่จะยิ่งเพิ่มความน่าสนใจในตัวสินค้าได้มากขึ้น เพราะสิ่งที่ลูกค้าออนไลน์อยากรู้ที่สุด คือ ตอนใส่เป็นยังไง เนื่องจากไม่มีโอกาสได้ไปลองเหมือนซื้อที่หน้าร้าน เราจึงต้องสร้างภาพในหัวให้ลูกค้าแทน
Advertisement
Advertisement
5. แคปชั่นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
- งานวิจัยนึงบอกว่า "คนไทยอ่านหนังสือแค่ปีละ 8 บรรทัดเท่านั้น" ด้วยเหตุนี้หากแคปชั่นเราไม่สามารถดึงดูดสายตาของลูกค้าได้ โอกาสในการขายก็จะยิ่งน้อยลงไปอีก ในโลกออนไลน์ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปอย่างรวดเร็ว หากลูกค้าไม่เห็นจุดเด่นของสิ่งที่เราต้องการจะสื่อ ก็จะเลื่อนผ่านไปทันที
- *ทริค คือ ต้องเขียนอธิบายให้สั้น กระชับ เข้าใจง่าย ที่สำคัญต้องครบถ้วน ตามสิ่งที่ลูกค้าอยากรู้ การเขียนพรรณนาที่ยาวเกินความจำเป็นจะทำให้ลูกค้าเบื่อและขี้เกียจอ่าน แต่หากสั้นเกินไป ไม่ได้สาระสำคัญ ลูกค้าก็อาจจะขี้เกียจทักมาสอบถาม ทำให้พลาดการขายไปได้นั่นเอง
เป็นยังไงกันบ้างคะ? พอจะเป็นไอเดียให้เพื่อนๆได้บ้างรึป่าว หากเพื่อนๆอยากลองเปิดร้านเสื้อผ้าดูบ้าง เราอยากแนะนำให้ลองจากเสื้อผ้าที่ไม่ใส่แล้วของตัวเองดูก่อน หากลองแล้วชอบจึงค่อยลงทุน และเริ่มทำจริงจัง ไม่อย่างนั้นจากการช่วยพยุงการเงิน จะเป็นการช่วยถลุงเงินแทนได้นะคะ
สำหรับวันนี้ต้องไปแล้วค่า ไว้พบกันใหม่บทความหน้า ส่วนหัวข้อถัดไปจะเป็นอะไรนั้น รอติดตามกันได้เลยค่า สวัสดีค่ะ ^___^
ความคิดเห็น
