ไลฟ์แฮ็ก
5 เทคนิค ปรับบุคลิกภาพระหว่างบทสนทนาให้น่าประทับใจเมื่อแรกพบ (First impression)
หลายคนคิดว่าการที่จะเลือกคบหาสมาคมกับใครสักคนนั้น เราไม่ควรตัดสินคนที่ภาพลักษณ์ภายนอก ควรศึกษาดูใจให้รู้ว่ามีนิสัยหรือทัศนคติเป็นอย่างไร เพื่อที่จะประเมินคนเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราไม่สามารถรับรู้ถึงความคิดของคนอื่นได้ตั้งแต่แรกพบ ทำให้จำเป็นต้องใช้ภาพลักษณ์ภายนอกที่สังเกตเห็นได้ชัดกว่าในการประเมินคนที่พบเจอกันเป็นครั้งแรก ลักษณะการพูดก็นับว่าเป็นภาพลักษณ์ของผู้พูดได้เช่นกัน การมีบทสนทนาที่ดีรวมถึงมีบุคลิกภาพที่ดีในการสนทนาครั้งแรกที่พบเจอ จึงสามารถช่วยคัดกรองคนที่จะทำความรู้จักในเบื้องต้นได้
1. สบตาคู่สนทนา
การมีบทสนทนาที่ดีนั้นควรเริ่มจากการสบตาผู้พูด เคยมีคนกล่าวไว้ว่า “ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ” เพราะการสบตานั้นจะช่วยบอกคู่สนทนาว่าเรากำลังตั้งใจฟังและใส่ใจกับสิ่งที่เขากำลังพูด แม้ในความเป็นจริงเราจะจับใจความของสิ่งที่กำลังฟังไม่ได้ แต่การสบตาผู้พูดรู้สึกสบายใจ และรู้สึกดีต่อผู้ฟังมากขึ้น
Advertisement
Advertisement
2. รอยยิ้มขณะสนทนา
อีกหนึ่งสิ่งที่ควรทำเมื่อต้องสนทนากับผู้อื่นคือการยิ้ม เนื่องจากการยิ้มจะทำให้เราดูเป็นมิตรน่าเข้าหามากขึ้น ทำให้ผู้คนกล้าที่จะเข้ามาพูดคุย หรือติดต่องานมากกับเรามากขึ้น นั้นหมายถึงโอกาสที่เราจะได้พูดคุยกับผู้คนมากมาย และผู้คนเหล่านั้นอาจเป็นส่วนช่วยส่งเสริมให้เราก้าวหน้าในอาชีพการงาน แต่ถ้าหากรู้สึกว่าเป็นคนยิ้มไม่เก่ง หรือรู้สึกว่ายิ้มไม่เป็นธรรมชาติ “แนะนำให้นำลิ้นแตะเพดานปากเวลายิ้ม” จะช่วยลดอาการเกร็งของใบหน้า ทำให้รอยยิ้มของเราดูเป็นธรรมชาติ และดูจริงใจมากขึ้น
3. ให้เกียรติคู่สนทนา
ระหว่างการสนทนาหากเกิดหัวข้อใหม่ในการพูดคุยขึ้นควรให้ฝ่ายตรงข้ามพูดก่อน เพื่อเป็นการให้เกียรติคู่สนทนาว่าเราอยากฟังเรื่องของเขา และหากเกิดการโต้แย้งขึ้นระหว่างบทสนทนา เราก็ควรให้ฝ่ายตรงข้ามได้พูดอธิบายก่อน เพื่อที่เราจะได้เข้าใจเหตุผลของฝ่ายตรงข้ามมากขึ้น และไม่ควรใช้น้ำเสียงที่แสดงความไม่พอใจในการโต้ตอบ เพราะจะทำให้บรรยากาศในการสนทนานั้นแย่ลงกว่าเดิม
Advertisement
Advertisement
4. โต้ตอบเป็นครั้งคราว
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญนอกจากการตั้งใจฟังผู้พูด คือการมีปฏิสัมพันธ์ หรือ Interaction กับคู่สนทนา การมีปฏิสัมพันธ์ในที่นี้ คือ การตอบรับบทสนทนาเป็นครั้งคราว เช่น การพูดแสดงอารมณ์ให้สอดคล้องกับสิ่งที่คู่สนทนากำลังพูด การแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ หรือการถามทวนในเรื่องที่ฟังไม่ทัน การตอบรับเหล่านี้จะทำให้ผู้พูดรู้สึกว่าผู้ฟังกำลังให้ความสนใจกับสิ่งที่เขากำลังพูดอยู่จริงๆ
5. สิ่งที่ไม่ควรทำขณะสนทนา
นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่ควรทำระหว่างการสนทนา เช่น การกอดอกขณะฟังผู้อื่นพูด เพราะจะดูเหมือนเป็นการข่มขู่คู่สนทนา หรือเป็นการแสดงความประหม่า ซึ่งจะทำให้คู่สนทนารู้สึกไม่สบายใจ รวมไปถึงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะผู้อื่นพูด เพราะจะแสดงว่าเราสนใจสิ่งอื่นมากกว่าเรื่องที่ผู้พูดกำลังพูด
Advertisement
Advertisement
ด้วยวิธีการสร้างบทสนทนาที่ดีดังที่กล่าวมา จะสามารถช่วยให้คนอื่นสามารถประเมินเราไปในทางที่ดีตั้งแต่แรกพบได้ และอาจจะช่วยเปิดโอกาสให้สิ่งดีๆหลายอย่างเข้าในชีวิต เช่น ทำให้เรามีความน่าสนใจต่อผู้จ้างวานหรือช่วยสร้างความประทับใจต่อหัวหน้างาน ทำให้มีสภาพการงานที่ดีขึ้น หรืออาจช่วยดึงดูดเพศตรงข้ามมากขึ้น และสามารถสร้างควาประทับใจในเบื้องต้นก่อนเริ่มศึกษาดูใจ จึงเป็นเรื่องที่ดีหากเราจะเริ่มฝึกสร้างบทสนทนาให้น่าประทับใจตั้งแต่แรกพบ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในอนาคต
ขอบคุณภาพประกอบ
ความคิดเห็น