ไลฟ์แฮ็ก
Customer Journey คืออะไร ?

Customer Journey คืออะไร ?
เพราะการเดินทางจะทำให้คนเราเจอนั่น และเจอนี่ … Journey แปลว่าการเดินทาง
ในทางการตลาดก่อนที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อสินค้าจากเรา ถ้าเปรียบได้กับการเดินทางตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงจุดสิ้นสุดนั้นก็คือการควักเงินออกจากกระเป๋ามาจ่ายให้เราอย่างสม่ำเสมอ ลูกค้าจะต้องผ่านจุดเช็คอินหลัก ๆ อยู่ 5 จุดดังต่อไปนี้
จุดที่ 1 Awareness หรือ การรับรู้
อันดับแรกลูกค้าจะต้องรู้จักก่อนว่ามีสินค้าชนิดนี้ ว่ามีเราที่ขายสินค้านี้ นี่คือจุดเริ่มต้นสำคัญที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อสินค้าจากเรา หากลูกค้าไม่รู้จักเรา ก็คงไม่ได้ซื้อสินค้าจากเรา
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.pexels.com/photo/holidays-car-travel-adventure-21014/
การรับรู้ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือการที่ลูกค้ารู้สึกรู้สาได้ว่าเขามีปัญหาและสินค้าของเราช่วยแก้ปัญหาให้เขาได้ การทำการตลาดในจุดแรกนี้ทำได้ด้วยการพรีเซนต์ตัวเอง, เข้าถึงลูกค้า ให้เป็นที่รู้จัก หรือกระตุ้นให้ลูกค้าเกิด Need นั่นเอง
Advertisement
Advertisement
จุดที่ 2Consideration หรือ การพิจารณา
ในขั้นตอนนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ลูกค้าเกิด Awareness แล้ว ลูกค้าจะทำการสืบค้นหาข้อมูล และเปรียบเทียบ ในขั้นตอนนี้เราจะมีคู่แข่งหลัก ๆ สองทาง คือ คู่แข่งด้านสินค้า เช่น พวกสินค้าทดแทน และอีกอย่างคือ คู่แข่งด้านผู้ขาย กล่าวง่าย ๆ คือ สินค้าเหมือนกัน แต่คนละเจ้านั่นเอง
ขอขอบคุณรูปภาพจาก https://www.pexels.com/photo/man-using-stylus-pen-for-touching-the-digital-tablet-screen-6335/
กลยุทธ์ในขั้นตอนนี้สำคัญมาก การสร้าง Ecosystems ในธุรกิจจะเป็นป้อมปราการชั้นดีที่จะรองรับการสืบค้นข้อมูลจากลูกค้าได้หลากหลาย เช่น มีข้อมูลในเว็บไซต์ หรือมีคนที่คอยช่วยตอบคำถามทางโทรศัพท์ ข้อควรระวังอีกอย่างคืออย่างปล่อยให้ลูกค้ารอนาน เพราะระหว่างที่รอคำตอบจากเรา ลูกค้าอาจจะกำลังถามผู้ขายอีกเจ้าอยู่ก็เป็นได้
Advertisement
Advertisement
จุดที่ 3 Purchase หรือ การซื้อ
ยินดีด้วยถ้ามาถึงจุดนี้ได้ หลาย ๆ คนคงคิดว่าไม่ต้องทำอะไรกับจุดนี้เพราะลูกค้าซื้อแล้วก็จบ แต่จริง ๆ ก็มีรายละเอียดที่น่าสนใจอยู่ อย่างเช่นการเร่งการตัดสินใจให้เกิดการซื้อด้วยโปรโมชันต่าง ๆ เทคนิคการ Up selling (การขายเพิ่ม) อย่าเช่นเมื่อซื้อเบอร์เกอร์ พนักงานขายจะเสนอว่าเพิ่มอีก 10 บาทจะได้น้ำอัดลมด้วย หรือ Cross selling (การขายควบกับผลิตภัณฑ์อื่น) เช่น ซื้อโดนัทแล้วเสนอว่าจะรับกาแฟทานด้วยกันมั้ย เป็นต้น
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.pexels.com/photo/woman-holding-card-while-operating-silver-laptop-919436/
จุดที่ 4 Repurchase หรือ การซื้อซ้ำ
การซื้อซ้ำจะเกิดขึ้นหรือไม่นั้นอาจจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับจากจุดที่ 3 นั่นก็คือการซื้อครั้งแรก หากลูกค้าประทับใจในสินค้าและบริการ ได้รับประสบการณ์ดี ๆ จากการซื้อครั้งแรก ก็จะทำให้เกิดครั้งต่อมาได้ ในหลาย ๆ บริษัทกำไรส่วนมากเกิดจากฐานลูกค้าเดิมที่ซื้อซ้ำบ่อย ๆ มากกว่าการหาลูกค้าใหม่
Advertisement
Advertisement
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.pexels.com/photo/adult-beautiful-elegant-eyewear-291762/
จุดที่ 5Advocacy หรือ การเป็นสาวก
ข้อดีของการที่ลูกค้ากลายมาเป็นสาวกของเราก็คือนอกจากลูกค้าจะซื้อและซื้อซ้ำแล้ว ลูกค้ายังเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงในการ “แชร์” สินค้าของเราให้ผู้อื่นมาซื้อ บอกเล่าปากต่อปาก รีวิวสินค้าให้ หรือบางครั้งสามารถปกป้องและเถียงแทนเราได้ โดยที่เราไม่ต้องเสียเงินลงทุนแม้แต่บาทเดียว
กลยุทธ์ในจุดนี้คือการตั้งโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้ลูกค้ากับแบรนด์ของเรารู้สึกเกี่ยวข้องกัน และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งแบบลึกซึ้ง อย่างเช่นสินค้าของเราเปรียบเสมือนอวัยวะอีกอย่างของลูกค้า หรือเป็นเสมือนคนในครอบครัวของเขา ทำให้เขารักสินค้านั้นมาก เป็นต้น
การทำการตลาดกับ Customer Journey ที่ดี ควรจะใส่ใจในทุก ๆ ขั้นตอนของการเดินทางของลูกค้า และยิ่งมีการทำ Online เข้ามา ยิ่งเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้เร็วขึ้น อาจจะข้ามจาก Awareness มายัง Purchase เลยก็ได้
ขอให้วางแผนการตลาดให้ดี ๆ
บทความโดย โอ้
Facebook : fb.me/justlearntogether
YouTube : https://bit.ly/2PpkbZu
IG : kanziri
ความคิดเห็น
