อื่นๆ
อะไรคือศิลปะแบบนาอีฟ (Naive Art)
%20ปรับใหม่.png)
ในโลกของการเรียนรู้เชิงทักษะนั้น สิ่งสำคัญคือ กระบวนการฝึกฝนที่ต้องใช้เวลา รวมทั้งต้องใช้ความมานะอดทนเพื่อทำให้สมอง สายตา และมือทำงานร่วมกันในการถ่ายทอดสิ่งที่เห็นให้ปรากฏออกมาเป็นผลงานศิลปะที่ใกล้เคียงกับต้นแบบให้มากที่สุดไม่ว่าจะเป็นงานวาดเส้นขาว-ดำ งานจิตรกรรมสีน้ำหรือสีน้ำมัน หรือแม้แต่งานปั้น งานแกะสลักรวมทั้งงานทัศนศิลป์ทุกแขนงวิชา กระบวนการฝึกฝนดังกล่าว เป็นที่มาของคำว่า “การเรียนรู้แบบเชิงช่าง” ซึ่งเป็นการสอนที่มีรากฐานจากแนวทางการสร้างสรรค์ศิลปะในยุคกรีก-โรมัน (Greek-Roman Age) และยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา (Renaissance) ที่เน้นการใช้แบบแผนในการสร้างสรรค์ความงามตามอุดมคติเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม กาลเวลาได้เปลี่ยนแปลงความเชื่อของผู้สร้างสรรค์งานศิลปะตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป จากศิลปะที่รับใช้ศาสนา มารับใช้สถาบันกษัตริย์ จนประชาชนเกิดความเบื่อหน่ายและคิดว่าศิลปะควรเป็นสิ่งที่รับใช้ตอบสนองความรู้สึกทางความงาม รวมทั้งมีคุณค่าด้านประโยชน์ใช้สอยสำหรับชีวิตประจำของปุถุชนทั่วไป ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่หลากหลายและอยู่นอกกฎเกณฑ์ดั้งเดิมมากขึ้น
Advertisement
Advertisement
ศิลปะนาอีฟ (Naive Art) เป็นศิลปะบริสุทธิ์ ที่สร้างสรรค์โดยผู้คนหลากหลายอาชีพซึ่งไม่ได้เรียนและฝึกฝนด้านงานศิลปะโดยตรง เช่น แม่บ้าน วิศวกร หมอ เป็นต้น ผู้คนเหล่านี้ มีความรักในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะโดยไม่เน้นการฝึกฝนฝีมือตามหลักวิชาในสถาบันสอนศิลปะโดยตรง แต่เน้นการสร้างสรรค์ผลงานที่มุ่งแสดงออกตามความต้องการของตนเองแบบซื่อๆ เหมือนการวาดภาพของเด็กที่ไม่ได้ฝึกฝนการวาดภาพ อย่างไรก็ตาม มีศิลปินหลายท่านที่แม้จะมีความเชี่ยวชาญ แต่ก็ยังนิยมสร้างผลงานที่สื่อสารถึงความบริสุทธิ์ภายในผลงานศิลปะตามแนวทางศิลปะนาอีฟ (Naive Art) เช่น อองรี รูโซ (Henri Rousseau) ซึ่งเป็นศิลปินชาวฝรั่งเศส ผลงานของเขามีลักษณะเรียบง่ายใช้สีน้ำมันเป็นหลักเรื่องราวส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติในป่า ความเร้นลับเกี่ยวกับความฝันและตำนาน ตัวอย่างผลงานจิตรกรรมของอองรี รูโซ เช่น ยิบซีหลับ (The sleeping Gypsy) เป็นต้น
Advertisement
Advertisement
ที่มาของภาพ : ผลงานจิตรกรรม สร้างสรรค์โดยผู้เขียน
สำหรับศิลปินไทยที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปะตามแนวทางศิลปะนาอีฟ (Naive Art) เช่น อาจารย์สุเชาว์ ศิษย์คเณศ ซึ่งในอดีตเมื่อประมาณ 40 ปีที่ผ่ามา อาจารย์สุเชาว์ ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ซึ่งส่วนใหญ่จะสื่อสารถึงความรู้สึกเปล่าเปลี่ยว เงียบเหงา และการโหยหาความรักความอบอุ่น นอกจากนี้ ผู้เขียนเอง ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะหลายรูปแบบ และรูปแบบหนึ่ง คือ การสร้างผลงานศิลปะตามแนวทางศิลปะนาอีฟ (Naive Art) ซึ่งผู้เขียนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะรูปแบบดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และจุดเน้นภายในภาพ คือ ความต้องการในการแสดงออกถึงเรื่องราวของความรักความสุขเป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างเช่น ภาพผลงาน ชื่อ ชีวิตหลังฝนตก เทคนิคสีน้ำมันบนผืนผ้าใบ ขนาด 100x320 เซนติเมตร ผลงานดังกล่าวต้องการสื่อสารอารมณ์ประชดประชันสังคมด้วยภาษาภาพ โดยปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2563) ผลงานภาพนี้ ได้จัดแสดงที่หอศิลป์จอยแมนแกลอรี่ สี่แยกสำราญราษฎร์ กรุงเทพฯ
Advertisement
Advertisement
ที่มาของภาพ : ผลงานจิตรกรรม สร้างสรรค์โดยผู้เขียน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า แนวทางศิลปะนาอีฟ (Naive Art) จะไม่เน้นการฝึกฝนฝีมือตามหลักวิชาในสถาบันสอนศิลปะโดยตรง ก็ก็ถือว่า เป็นแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มุ่งสื่อสาร ”ความบริสุทธิ์” ของการสร้างสรรค์ ที่มีเสน่ห์มากพอที่จะคงอยู่ต่อไปในสังคมศิลปะเพื่อสนองความต้องการของคนรักการทำงานศิลปะ และจรรโลงความสุขสนองจินตนาการของผู้คนอีกนานเท่านาน
ที่มาของภาพ : ผลงานจิตรกรรม สร้างสรรค์โดยผู้เขียน
***ภาพปก : ผลงานจิตรกรรม สร้างสรรค์โดยผู้เขียน
ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์
Advertisement
Advertisement
Advertisement
Advertisement
Advertisement
ข้อตกลงและเงื่อนไข|Copyright © True Digital & Media Platform Company Limited. All rights reserved