อื่นๆ
คำภาษาใต้ที่คนภาคอื่นอาจจะงง ๆ หน่อย
คนใต้จะมีจังหวะการพูดที่ค่อนข้างเร็ว ทำให้คนภาคอื่น ๆ ฟังไม่ค่อยทัน บางครั้งฟังทันก็ฟังไม่รู้เรื่อง บางคำอาจไม่คุ้นหู วันนี้ได้รวบรวมคำใต้พร้อมความหมาย และตัวอย่างประโยคฝากกันค่ะ
1. ข้องใจ/ขวยใจ
ถ้ามีคนแปลกหน้ามาถามคุณว่า น้องข้องใจอะไรมั้ย แน่นอนว่าเราจะคิดว่าเขากำลังถามเราว่ามีอะไรติดใจ หรือสงสัยอะไรหรือเปล่า ออกแนวหาเรื่องนิดหน่อย แต่ในภาษาใต้คำว่า ข้องใจ/ขวยใจ แปลว่า เป็นห่วง เช่น เธอกลับบ้านได้แล้ว ป่านนี้แม่ข้องใจหมดแล้ว หมายถึง แม่เป็นห่วงแล้ว
2. อย่าหวย ๆ
หมายถึง อยู่นิ่ง ๆ อย่ากระดุกกระดิก คนเฒ่าคนแก่จะชอบพูด เช่น หนูแดงที่นั่งกระดิกกระดิกอยู่ไม่นิ่งให้ปู่ตัดผมให้ แล้วปู่ก็บอกว่า นั่งดี อย่าหวย ๆ เดี่ยวกรรไกรกินหูเอานะ ซึ่งหวย ๆ เเปลว่า นิ่ง ๆ นั่นเอง
3. หวิบหูจี้
หวิบ แปลว่าโกรธ ส่วนคำว่าหวิบหูจี้ เป็นขั้นกว่าของคำว่าโกรธ คือโกรธมาก โกรธแบบลมออกหู โกรธแบบหน้าแดง โกรธสุด ๆ งะ
Advertisement
Advertisement
4. มาแต่สวน
ถ้าใครถามว่าคุณมากับใคร ถ้ามาคนเดียว คนใต้จะตอบว่ามาแต่สวน ไม่ได้หมายถึง มากับสวน แต่หมายถึง ฉันมาคนเดียว
5. แหน่งกึ๊บ (ต้องเน้นเสียงหน่อยนะคะ)
เราใช้คำนี้ขู่เด็กขี้แยให้หยุดร้องไห้ เช่น เวลาเด็กชอบร้องชักดิ้นชักงอขอของเล่น ก็จะบอกด้วยเสียงเข้มว่า แหน่งกึ๊บ แปลว่า หยุดร้องเดี่ยวนี้ เงียบซะ
6. ไม่บาย
ถ้ามีใครบอกว่า เธอมันไม่บาย ไม่ได้แปลว่า เธอไม่สบายนะคะ แต่เขาหมายถึง ติ๊งต๊อง ไม่ค่อยเต็มบาท คำนี้จะใช้กับเพื่อน ๆ หยอกกันเล่น ๆ
7. ในโย๋
แปลว่า ปัจจุบันนี้ ตอนนี้ หรือช่วงนี้ ส่วนใหญ่จะวางไว้ตอนต้นประโยคหรือตอนท้ายประโยค เช่น หนูแดงมันอยู่สวยขึ้นนะในโย๋ไปทำไหรมา แปลว่า หนูแดงดูสวยขึ้นนะช่วงนี้ ไปทำอะไรมางะ
8. ด้อนจัง
แปลว่า ดุจัง ใช้ได้กับทั้งคนและสัตว์ เช่น พ่อของน้องพิ้งกี้ด้อนจัง พี่กลัวแล้ว แปลว่า พี่น้องพิ้งกี้ดุมาก พี่กลัวแล้วจ้า
Advertisement
Advertisement
9. เคลื่อน อก / กวน อก
คือลักษณะอาการคลื่นไส้ พะอืดพะอม คล้ายจะอาเจียน อีกกรณีนึง จะใช้ได้กับคนที่เรารู้สึกเหม็นขี้หน้าใครสักคน ไม่ชอบหน้าใคร เช่น เห็นหน้าแล้วเคลื่อนอก ประมาณนั้น
10. อย่ามาแท่ง
แปลว่า อย่ามาโดนตัว อย่าถูกตัว เช่น เพื่อนที่นั่งอยู่ใกล้ ๆ เรา แล้วเอาข้อศอกมาโดนตัวเรา และเราบอกว่า เมิงอย่างมาแท่งกุ แปลว่า อย่ามาโดนตัวนะ
ภาษาใต้บางคำ เเค่ 1 ความหมายเดียว เเต่พูดได้หลายคำมาก เช่น คำว่าเยอะ สามารถพูดได้ว่า ลุย ราสา จังหู ค่าเอ จังเสีย ค่าลักค่าลัย มีเยอะมากจริง ๆ บางครั้งเป็นคนใต้ด้วยกัน ยังไม่เข้าใจเลยค่ะ หวังว่าจะมีประโยขน์สำหรับคนต่างภาคที่อาจจะมาเที่ยวที่ภาคใต้ แล้วได้ยินคนใต้พูดกัน ผ่านหูผ่านตามาบ้าง เผื่อจะเข้าใจสักนิดค่ะ
บทความโดย กัญญ์_the moon
ภาพปกถ่ายโดย yellowinlemon / Pixabay
Advertisement
Advertisement
ภาพที่ 1 ถ่ายโดย PublicDomainPictures / Pixabay
ภาพที่ 2 ถ่ายโดย RachelBostwick / Pixabay
ภาพที่ 3 ถ่ายโดย Bob_Dmyt / Pixabay
ภาพที่ 4 ถ่ายโดย RitaE / Pixabay
เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !
ความคิดเห็น