ไลฟ์แฮ็ก

เกราะไม้(เหลาะ) เครื่องตีบ่งบอกสัญญาณฉุกเฉิน ในสมัยโบราณ

2.0k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เกราะไม้(เหลาะ) เครื่องตีบ่งบอกสัญญาณฉุกเฉิน ในสมัยโบราณ

ในทุกยุคทุกสมัย ย่อมมีเรื่องราวและหรือความเป็นอยู่ วิถีชีวิตของมนุษย์จะมีการดำเนินไปให้สัมพันธ์เชื่อมร้อยกันในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกิน ความเป็นอยู่ ความสัมพันธ์ และแม้แต่เรื่องราวมิติทางสังคม ซึ่งเรื่องหนึ่งที่จะกล่าวถึงในที่นี้ก็คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งสัญญาณให้รับรู้ร่วมกันในยามเหตุฉุกเฉิน วิกฤติหรือธุระเร่งด่วน  นั่นคืออุปกรณ์ที่สมัยโบราณใช้กันที่เรียกว่า เกราะไม้หรือเหลาะ

น

  • เกราะไม้ หรือเหลาะ
  • ภาพโดย : ผู้เขียน

ผู้เขียนขอย้อนหาข้อมูลเรื่องเกราะหรื เหลาะ ที่ว่านี้มันคืออะไร สำคัญไฉน?

อ้างถึง : ข้อมูลจากเว็ปไซต์พันทิพย์ดอดคอม https://pantip.com/topic/33225125 มีความว่า

คำว่า   ตีเกราะเคาะไม้นี้มีที่มาจากการตีเกราะซึ่งทำด้วยไม้  เพื่อเรียกประชุม  หรือบอกเหตุร้ายต่างๆ

เกราะ  หรือ เหลาะ หรือ เขลาะ  เป็นเครื่องสัญญาณที่นิยมในสมัยก่อน เพื่อบอกความเคลื่อนไหวให้เป็นที่สังเกต  นัดแนะ  หรือบอกเหตุร้าย  เกราะ  แบ่งตามการใช้สอยได้  2  ประเภท  คือ  เกราะสำหรับแขวนคอสัตว์  และเกราะสำหรับตีให้สัญญาณ  (ในรูปที่เรานำมาให้เพื่อนๆ ดูนี้  คือ เกราะสำหรับตีให้สัญญาณค่ะ)

Advertisement

Advertisement

เกราะสำหรับตีให้สัญญาณ  แบ่งได้เป็น  2  ชนิด  คือ

1. เกราะไม้เดี่ยว  เป็นเกราะไม้แก่น  มีขนาดและรูปทรงคล้ายกลองแขกหรือกลองสองหน้า  ด้านข้างผ่ากว้างราว  2  นิ้ว  ขุดให้กลวง  หัวท้ายตัน  ตีด้วยไม้กลมขนาดเท่าข้อมือ  ยาวประมาณ  2  ฟุต เกราะไม้เดี่ยวใช้ตีนัดแนะในการประชุม  เช่น  ผู้ใหญ้บ้านประชุมลูกบ้าน  โดยจะตีจังหวะช้าและหนักแล้วค่อยเร่งเร็วตอนปลาย  และเริ่มจังหวะช้าใหม่

2. เกราะ  2  ไม้  ทำด้วยไม้ไผ่ขนาดโตเนื้อหนา  1  ปล้อง ตัดหัวท้ายให้ติดข้อ  แล้วเจาะด้านข้างอย่างเกราะไม้เดี่ยว  ตีด้วยไม้กลมขนาดเหมาะมือ  เกราะ  2  ไม้  ใช้ตีบอกเหตุร้าย  เช่น  เกิดการปล้น  เกิดฆาตกรรม โดยจะตีจังหวะเรงเร็วติดต่อกันไปเป็นเวลานาน (บางครั้งอาจใช้เกาะไม้เดี่ยวตีเป็นเกราะ 2 ไม้ก็ได้ค่ะ)

ในปัจจุบันยังคงมีเกราะให้เห็นและใช้งานอยู่บ้างนะคะ  แต่ลดน้อยลงแล้วค่ะ  เพราะแต่ละหมู่บ้านมีเครื่องขยาย  หรือวิทยุชุมชนเพิ่มมากขึ้น

Advertisement

Advertisement


าา

  • ผู้เขียน

ครั้งหนึ่ง ผู้เขียนได้รับเกียรติไปร่วมงานพิธีเปิด ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน ของหมู่บ้านแม่ที่ หมู่ที่ ๔  ตำบลลำไพลอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ทั้งนี้ผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ที่เพิ่งได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ได้จัดพิธีเปิดสำนักงานที่ทำการแห่งใหม่ เพื่อเป็นศูนย์การทำงานของคณะกรรมการและทีมงาน ซึ่งได้เชิญนายอำเภอเทพามาเป็นประธานเปิดที่ทำการ โดยการเปิดของประธานจะให้มีการเปิดด้วยการ “ตีเกราะหรือตีเหลาะ” แทนการตัดริบบิ้น หรือวิธีการอื่นใด

ห

  • เกราะไม้หรือเหลาะ
  • ภาพโดย : ผู้เขียน

นายวรานนท์  นินวน ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านแม่ที หมู่ที่ ๔ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นต้นคิดให้ประธานเปิดพิธี ด้วยการตีเกราะให้ข้อมูลว่า  การตีเหลาะ หรือตีเกราะเคาะไม้ ถือเป็นการย้อนรอยตำนานในเชิงสัญลักษณ์ของการเป็นผู้ใหญ่บ้าน หรือภาษาแถบถิ่นนี้เรียกว่า "นายบ้าน" หรืออีกคำคือ “โต๊ะนาย” นั่นหมายถึงเป็นผู้นำของกลุ่มชน กลุ่มเผ่าสมัยโบราณ เพราะเกราะหรือเหลาะ จะมีใช้เพียงเฉพาะที่ทำการ "นายบ้าน"

Advertisement

Advertisement

ห

  • นายวรานนท์ นินวน : ผู้ใหญ่บ้าน ต้นคิดเรื่องการเปิดที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน ด้วยการให้ประธานเปิด "ลั่นเกราะ"
  • ภาพโดย : ผู้เขียน

ฟ

  • เปิดที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน โดยนายอำเภอเทพา ตีเกราะไม้เปิดพิธี
  • ภาพโดย : ผู้เขียน

การตีเกราะ-จะใช้เฉพาะตีป่าวบ่งบอก

การนัดลูกบ้านเพื่อมารวมตัวที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน(นายบ้าน) มารับข่าวที่จะแจ้งให้ทราบ หรืออาจกรณีมีเหตุด่วนเหตุร้าย เหตุฉุกเฉิน เพราะบ้านผู้ใหญ่บ้าน(นายบ้าน)จึงเป็นศูนย์รวมศูนย์บัญชาการในทุกเรื่องต่อลูกบ้าน เพราะฉะนั้นการตีเราะจึงถือว่าเป็นการบ่งบอกถึงสัญญาณบอกให้รู้ถึงเรื่องที่จะธุระแบบเร่งด่วน ตามแบบฉบับของคนสมัยก่อน ที่บ้านเรือนจะอยู่ห่างไกลกัน เครื่องมือสื่อสารที่สามารถติดต่อได้ฉับไวเหมือนปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นวิทยุส่งสัญญาณ หรือโทรศัพท์ก็ไม่มี


ผู้ใหญ่บ้านวรานนท์ ยังบอกอีกว่า

สำหรับเกราะไม้ หรือเหลาะที่ใช้ให้ประธานตีเปิดพิธีนี้  อันนี้เป็นเกราะที่สืบทอด และเก็บรักษาไว้อย่างดี ตั้งแต่สมัยปฐมของหมู่บ้านแม่ที ที่มีค่ามาก เป็นของผู้ใหญ่บ้านสมัยแรกๆของหมู่บ้าน ได้รับทราบว่า ลูกหลานของตระกูล "ล่าหับ" อันเป็นตระกูลของนายเส็น ล่าหับ อดีตผู้ใหญ่บ้านสมัยก่อนนั้น ซึ่งมีคุณพ่อของนายวรานนท์ฯ เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านอยู่ด้วย

ฟฟ

  • เกราะ
  • ภาพโดย : ผู้เขียน

การตีเกราะ-

ถือเป็นการเปิดปฐมฤกษ์ของเปิดที่ทำการผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ ที่เป็นเชิงสัญลักษณ์ที่พ่อเมืองของอำเภอ-ได้มอบอำนาจเต็มให้ "นายบ้าน" เพื่อดูแลบำบัดทุกข์บำรุงสุขลูกบ้านของตนเองต่อไป


เกราะ จึงเป็นภูมิปัญญาแลเป็นศาสตร์อันมีค่าของคนยุคก่อนเก่า ที่ปัจจุบันเหมือนว่าจะหาดูได้ยาก แต่กระนั้นก็ตามการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย ก็ย่อมมีการวิวัฒนาการเครื่องมือให้สัญญาณแบบชนิดอื่นมาแทนที่ ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรศัพท์มือถือ ซึ่งถือเป็นช่องทางใหม่ที่ฉับไวกว่าเดิม เกราะจึงเหลือเพียงเป็นร่องรอยของเรื่องเล่าจากบางผู้เฒ่า และหรือบางหลักคิดของบางผู้นำท้องถิ่นที่ย้อนคุณค่าความเป็นก่อนเก่ามาให้คนรุ่นหลังได้ร่วมรับรู้คุณค่าต่อไป ดั่งเช่น ผู้ใหญ่บ้านวรานนท์ฯ ผู้นำท้องถิ่นยุคใหม่ท่านนี้


Anusorn Ninuan : True ID in trend  : เรื่อง/ภาพ

รายงานจากพิกัด : หมู่บ้านแม่ที หมู่ที่ ๔ ต.ลำไพล อ.เทพา จ.สงขลา

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์