อื่นๆ
การเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษา

สวัสดีค่ะคุณผู้อ่าน อย่างที่เราต่างก็ทราบกันนะคะว่า ภาษาอังกฤษถือเป็นภาษาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำเรามากที่สุดรองจากภาษาไทยของเรา ยิ่งในแวดวงของคนทำงานในองค์กรยิ่งเป็นเรื่องจำเป็นมากเพราะเป็นภาษาที่มักใช้ในการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นทางอีเมลล์ หรือเอกสารอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง
สำหรับในแวดวงการศึกษา หากเป็นสถานศึกษาของเอกชน ก็จัดให้มีการสอนภาษาอังกฤษตั้งแต่ระดับอนุบาลกันเลยทีเดียว สำหรับโรงเรียนของรัฐก็มีการตื่นตัวและมีการกำหนดแนวทางปฏิรูปการสอนภาษาอังกฤษกัน วันนี้ผู้เขียนขอสะท้อนประสบการณ์ตรงจากการสอนพิเศษซึ่งทำให้มีโอกาสได้สัมผัสปัญหาและทัศนคติของนักเรียนอีกกลุ่มหนึ่ง ณ หมู่บ้านเล็ก ๆ ในกิ่งอำเภอหนึ่งของจังหวัดในภาคกลาง ผู้เขียนจึงเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์หากนำมาเขียนเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับระดับชั้นประถมศึกษา
Advertisement
Advertisement
สำหรับปัญหาหลักในการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษที่พบมี 3 ข้อคือ
1.) นักเรียนสั่งสมความไม่เข้าใจจนทำให้ไม่อยากเรียน
2.) นักเรียนจำคำศัพท์ไม่ได้
3.) นักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้
จากปัญหาหลักที่พบดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนในฐานะครูสอนพิเศษได้ร่วมแก้ไขกับนักเรียนจนสำเร็จ จึงนำมาแบ่งปันเพื่อเป็นแนวทางดังนี้ค่ะ
1.) นักเรียนสั่งสมความไม่เข้าใจจนทำให้ไม่อยากเรียนภาษาอังกฤษ
วิธีที่ปฏิบัติ
- 1.1 สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้มีกิจกรรมร่วมระหว่างครูและนักเรียนโดยเน้นความสุขและให้นักเรียนร่วมเสนอเนื้อหาที่อยากเรียนหรือหัวข้อที่ยังไม่เข้าใจ
- 1.2 มีใบความรู้ประกอบการเรียนโดยเริ่มจากเรื่องที่ไม่ซับซ้อนแล้วค่อย ๆ ซับซ้อนและยากขึ้นตามลำดับ
- 1.3 มีใบงานเตรียมพร้อมโดยไม่ต้องให้นักเรียนนั่งลอกโจทย์เพื่อลดความเบื่อหน่ายและการเสียเวลา
Advertisement
Advertisement
- 1.4 มีการทำแบบฝึกหัดระหว่างการเรียนการสอน เพื่อประเมินความเข้าใจ
- 1.5 เมื่อนักเรียนทำแบบฝึกหัดเสร็จ ครูร่วมเฉลยคำตอบกับนักเรียนเพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนทราบเหตุผลว่าทำไมข้อที่เฉลยว่าถูกนั้นถูกเพราะอะไร
ผลที่ได้ - นักเรียนมีความเข้าใจมากขึ้น ทำให้ความคับข้องใจลดน้อยลง ดูมีความสุข สนุกกับการเรียน มีความเชื่อมั่นในตัวเองเพิ่มขึ้น เปลี่ยนท่าที จากเดิมไม่อยากเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เปลี่ยนเป็นอยากเรียนและโหวตขอเรียนภาษาอังกฤษทุกครั้งที่มาเรียน ( ปกติมี 3 วิชาให้เลือกเรียน คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ แต่ละครั้งก่อนเรียน ครูจะให้นักเรียนโหวตว่าจะเลือกเรียนวิชาใด ช่วงแรก ๆ เด็ก ๆ จะโหวดเรียนวิชาคณิตศาสตร์และวิชาภาษาไทย จนครูต้องขอร้องให้เรียนวิชาภาษาอังกฤษบ้าง )
2.) นักเรียนจำคำศัพท์ไม่ได้
Advertisement
Advertisement
วิธีที่ปฏิบัติ
- 2.1 ให้นักเรียนเล่นเกมส์เกี่ยวกับคำศัพท์ เช่นการหาคำศัพท์จากตารางตัวอักษรที่กำหนดให้ การใบ้คำ จับคู่ภาพและคำศัพท์
- 2.2 ทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์ ทั้งแบบให้เลือกข้อที่ถูก และแบบเติมตัวอักษรที่ขาดหายไป
- 2.3 ให้คำแนะนำนักเรียนเกี่ยวกับการจัดสรรเวลาโดยแบ่งเวลาจากการเล่นเกมส์มาท่องคำศัพท์อย่างน้อยวันละ 5 คำ
ผลที่ได้
นักเรียนให้ความร่วมมือและสนุกกับการทำกิจกรรมในข้อ 2.1 และข้อ 2.2 แต่มีนักเรียนไม่ได้ทำข้อ 2.3 เนื่องจากนักเรียนติดเล่นเกมส์นักเรียนจึงจำคำศัพท์ได้เฉพาะคำศัพท์ที่ใช้บ่อยในช่วงเรียนพิเศษ
3.) นักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้
วิธีที่ปฏิบัติ
- 3.1 เทียบตัวอักษรและสระระหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษบนกระดานแล้วให้นักเรียนหัดอ่านออกเสียงด้วยกันทีละคำ โดยเริ่มจากคำที่คุ้นเคย เช่น ant / cat / rat /
- 3.2 .ให้นักเรียนเสนอคำศัพท์ภาษาอังกฤษจากของกิน ของใช้ สถานที่ ที่นักเรียนคุ้นเคยและชอบ แล้วช่วยกันเขียนและอ่านออกเสียงคำเหล่านั้นร่วมกัน
- 3.3 ให้นักเรียนทำกิจกรรมเโดยเลือกคำจากบัตรคำมาเขียนใส่ให้ตรงกับภาพที่กำหนดให้ แล้วร่วมกันสะกดและอ่านออกเสียง
ผลที่ได้
นักเรียนเข้าใจหลักในการสะกดเพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง จึงทำให้ค่อย ๆอ่านและเขียนได้มากขึ้น ที่สำคัญคือมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาภาษาอังกฤษ
นอกจากวิธีปฏิบติข้างต้นที่กล่าวมา ปัจจัยที่สำคัญซึ่งช่วยให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาภาษาอังกฤษ และประสบความเร็จในการเรียนคือผู้ปกครอง นักเรียนที่มาเรียนพิเศษได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองเป็นอย่างดี โดยดูจากภาษากายและความเอาใจใส่เมื่อมารับ-ส่ง และมีการโทรมาถามไถ่เกี่ยวกับการเรียนของนักเรียน
บทความนี้เป็นเพียงมุมมองเล็ก ๆ จากครูสอนพิเศษคนหนึ่งในย่านชนบท หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ สวัสดีค่ะ
ขอขอบคุณภาพประกอบที่ช่วยทำให้บทความชิ้นนี้สำเร็จตามรายละเอียดด้านล่างค่ะ
ภาพที่ 4 โดย National Cancer Institute
เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

เกือบ 30 ปี ชีวิตพนักงานรายเดือน เขียนบทความ เรื่องสั้น นิยาย รับทำโครงการลดต้นทุนและงานวิทยากร
ความคิดเห็น
