ไลฟ์แฮ็ก
ช้อปของนอก ต้องตรวจสอบ...บาร์โค้ด ชัวร์มั่นใจ

นักช้อปส่วนใหญ่จะรู้สึกเจ็บใจมาก หากถูกหลอกให้ซื้อสินค้าที่บอกว่าเป็นของนอกแล้วไม่ใช่ แต่กลับกลายเป็นสินค้าที่ผลิตในบ้านเราเอง ซึ่งไม่เกี่ยวกับสินค้าแบรนด์เนม แบรนด์ฮิตติดโซเชี่ยลหรือแบรนด์ไฮโซต่าง ๆ เพราะสินค้าเหล่านั้นอาจจะแพงเกินกว่าจะจับต้องได้ ในที่นี้เราหมายถึงสินค้าทั่วไปที่เรายอมจ่ายเงินซื้อจากผู้ขายที่บอกว่านำเข้า หิ้วเข้ามาหรือสั่งตรงมาจากต่างประเทศ
รหัส 800 - 839 : อิตาลี ซานมารีโน วาติกัน
วิธีการง่าย ๆ กับการตรวจสอบ เพียงเรารู้ เข้าใจและให้ความสำคัญกับบาร์โค้ด (Barcode) บนบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นกล่อง ห่อ ซอง ขวด ของสินค้า เพิ่มเติมจากการดูวันที่ผลิต (MFG หรือ MFD) หรือวันหมดอายุ (EXP หรือ BEST BEFORE) ของสินค้า
รหัส 883 : เมียนมาร์
บาร์โค้ด หรือเรียกว่า "รหัสแท่ง" ในภาษาไทย ที่เราจะเห็นบนบรรจุภัณฑ์หรืออาจจะพิมพ์ไว้บนป้าย หรือ tag ที่ติดไว้กับตัวสินค้า จะเห็นเป็นชุดลักษณะของแถบเส้นสีดำ ขาว เรียงต่อกันในแนวตั้ง มีทั้งเส้นหนาและบาง ซึ่งใช้เป็นรหัสแทนตัวเลขและตัวอักษร เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านรหัสเป็นข้อมูล โดยผ่านเครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) โดยประกอบด้วย รหัสประเทศ รหัสโรงงานที่ผลิต รหัสสินค้าและเลขตรวจสอบความถูกต้องของตัวเลขบาร์โค้ด
Advertisement
Advertisement
รหัส 885 : ประเทศไทย
สำหรับการตรวจสอบสินค้าที่เราซื้อมาว่าเป็นสินค้าจากต่างประเทศจริงหรือไม่นั้น เราจะตรวจสอบเฉพาะรหัส 3 ตัวแรกของบาร์โค้ดเท่านั้น ที่จะแสดงรหัสประเทศของผู้ผลิตสินค้า หากเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย รหัส 3 ตัวแรกของบาร์โค้ด คือ 885 เพื่อความมั่นใจก็ทดลองหยิบสินค้าที่อยู่ใกล้มือซึ่งซื้อใช้เป็นประจำมาตรวจสอบกันได้
สำหรับเราซึ่งผู้ซื้อหรือเป็นนักช้อปทั่วไปจะใช้ประโยชน์เฉพาะรหัสตัวเลข 3 ตัวแรกนี้ก็คงพอแล้ว เพียงจดจำว่า เลข 885 คือสินค้าที่ผลิตใประเทศไทย ซึ่งผู้เขียนก็เคยไปเจอรหัส 885 ในการซื้อสินค้าที่ต่างประเทศยังรู้สึกภูมิใจว่าน่าจะเป็นสินค้าส่งออกของเราไปยังต่างประเทศ นอกจากนี้ ผู้เขียนก็ได้นำตัวอย่างสินค้าจากต่างประเทศเพื่อนำเสนอรหัสเลข 3 ตัวแรก เท่าที่พอจะนำมาเป็นตัวอย่างกันได้ ตามลำดับ 000 - 020 สหรัฐอเมริกา 690 - 692 สาธารณรัฐประมาชนจีน 490 - 499 ประเทศญี่ปุ่น 880 เกาหลีใต้ 930 - 939 ประเทศออสเตรเลีย 870 - 879 เนเธอร์แลนด์ 893 เวียดนาม 955 มาเลเซีย
Advertisement
Advertisement
รหัส 000 - 020 อเมริกา
รหัส : 690 - 699 สาธารณรัฐประชาชนจีน
รหัส 490 - 499 ญี่ปุ่น
รหัส 880 : เกาหลีใต้
รหัส 870 - 879 : เนเธอร์แลนด์
รหัส 893 : เวียดนาม
รหัส 930 - 939 ออสเตรเลีย
รหัส 955 : มาเลเซีย
ปัจจุบันจะมีทั้งบาร์โค้ดแบบ 1 มิติ รูปแบบเป็นแถบตามที่เล่าข้างต้น แบบ 2 มิติ และแบบ 3 มิติ ซึ่งจะใช้ประโยชน์ในทางธุรกิจโดยอ่านผ่านสแกนเนอร์ ที่เรามักเห็นกันคุ้นตาตามร้านค้าต่าง ๆ ซุปเปอร์มาร์เก็ตและบริเวณแคชเชียร์ในห้างสรรพสินค้า ซึ่งใช้ตรวจสอบข้อมูลของสินค้าเกี่ยวกับคุณภาพสินค้า การชำระเงินของลูกค้า การเช็คสต๊อกสินค้า
จากนี้ไป หากเรา - ท่านจะช้อปสินค้าของนอกแบบไม่ถูกหลอก ควรต้องตรวจสอบบาร์โค้ด ด้วยรหัสเลขสามตัวแรกเพื่อความชัวร์และความมั่นใจในสินค้านั้น ๆ ตามที่นำมาเป็นตัวอย่าง ส่วนท่านที่อาจจะสนใจบาร์โค้ดของสินค้าในประเทศอื่น ๆ ก็สามารถตรวจสอบจาก Link ที่ได้นำมาฝากกัน หรือจะ Search หาเลขรหัสบาร์โค้ดของประเทศนั้น ๆ จาก Google เพื่อตรวจสอบทุกครั้งเมื่อซื้อสินค้าต่างประเทศ https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_GS1_country_codes
Advertisement
Advertisement
อ้างอิงข้อมูล : https://www.gs1th.org
บทความและภาพโดยผู้เขียน
ความคิดเห็น
