อื่นๆ
วิธีตรวจสอบเงินเกษียณผ่านเว็บไซต์ ในสวีเดน ตอนที่ 1
ที่ประเทศสวีเดน ถ้าใครที่ทำงาน และจ่ายภาษีถูกต้อง จะมีเงินบางส่วนที่จ่ายเข้ากองทุนเงินเกษียณอายุ และทุกปีจะมีจดหมายแจ้งยอดเงินสะสมเกษียณอายุ แต่ในปัจจุบันนี้อินเตอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตเรามากขึ้น เราก็สามารถเข้าไปดูยอดเงินเกษียณของเราได้ทางเว็บไซต์ ซึ่งก็ถือว่าสะดวก ง่าย และสามารถทำได้ด้วยตัวเอง วันนี้ผู้เขียนเลยจะมาแนะนำวิธีการตรวจสอบเงินเกษียณในสวีเดน ผ่านเว็บไซต์ ”pensions myndigheten” โดยผู้เขียนจะขออธิบายทีละขั้นตอน เผื่อใครที่ไม่เก่งภาษาจะสามารถทำตามได้
ขั้นตอนที่ 1
เข้าไปพิมพ์ชื่อของเว็บไซต์หรือคัดลอกชื่อเว็บไซต์ด้านล่างนี้ไปวางที่กูเกิลได้เลย https://www.pensionsmyndigheten.se/service/login
ขั้นตอนที่ 2
เมื่อเข้าไปที่หน้าเว็บแล้ว เราก็ต้องเข้าระบบก่อนใช้งาน (Logga in) ซึ่งจะมีวิธีการให้เข้าระบบได้ 3 แบบ คือ
Advertisement
Advertisement
- BankID
- Freja eID+
- Foreign eID
ผู้เขียนถนัดเข้าระบบด้วยการใช้ แบบที่ 1 BankID ส่วนแบบอื่น ๆ ไม่เคยใช้ ไม่รู้คืออะไรเหมือนกันค่ะ เมื่อเราพร้อมก็กดเข้าไปที่ BankID หลังจากนั้นจะมีให้เลือกว่าต้องการเข้าระบบแบบไหน มีสองตัวให้เลือกคือ
- ถ้าเราจะเข้าระบบด้วยมือถือเครื่องเดียวกันกับมือถือที่มี BankID เราก็เลือกอันแรก
- แต่ถ้าเราเปิดเข้าเว็บในไอแพดหรือคอมพิวเตอร์แต่เราต้องการเชื่อมต่อ BankID ในโทรศัพท์มือถือ เราก็เข้ากดอันที่สอง
ตัวอย่างของผู้เขียนคือทำแบบหลังนะคะ จะเด้งหน้าคิวอาร์โค้ดมาให้เราแสกน เราก็เอาคิวอาร์โค้ดแสกนเข้าด้วยกัน หลังจากนั้น BankID จะให้เราใส่รหัสเพื่อยอมรับการเข้าระบบ
ขั้นตอนที่ 3
ใส่รหัส และกดตกลง ก็เป็นเรียบร้อย ให้เราสามารถเข้าไปตรวจสอบเงินเกษียณอายุของเราได้เลย
ขั้นตอนที่ 4
กดเลือกไอคอนที่เราสนใจ ที่มุมขวา ด้านบนสุด ซึ่งมี 2 ตัวเลือกคือ ”mina sidor ” กับ ” mina tjänster ” แต่วันนี้เราจะขออธิบายเฉพาะหัวข้อ Mina sidor (รูปด้านล่างนี้ ) ซึ่งเราจะทำกรอบสีส้ม ๆ ให้นะคะ ส่วนการดูหัวข้อที่สอง "Mina tjänster" เราจะอธิบายในบทความถัดไป
Advertisement
Advertisement
4.1 ไอคอนแรกเป็นข้อมูลส่วนตัวของเรา (mina sidor)
ถ้าเราต้องการคำนวณยอดเงินเกษียณเราในอนาคต ให้เลื่อนมาด้านล่างให้เจอคำว่า ” uppdatera dina uppgifter ” หลังจากนั้นกดเข้าไป ระบบก็จะเด้งให้เราต้องกรอกข้อมูลดังนี้
แถวบนสุด มีมุมด้านขวาให้เลือกว่า เรามีการจ้างงานแบบไหน เช่นเจ้าของกิจการ พนักงานของคอมมูน ตัวอย่างของผู้เขียน เป็นพนักงานของคอมมูนเราเลือกไปตามนั้น
แถวที่สอง ให้กดเลือกที่สัญลักษณ์ที่มุมขวาเช่นกัน ตามสัญญาของนายจ้าง เช่นถ้าเป็นเจ้าของกิจการ เป็นเจ้าของกิจการแบบมี กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (tjänstepension) หรือแบบไม่มี หรือถ้าเราเป็นลูกจ้าง เราก็ต้องถามนายจ้างว่าสัญญาจ้างงานมีเงิน tjänstepension หรือไม่ ปกติแล้วถ้าเป็นหน่วยงานใหญ่ ๆ นายจ้างจะจ่ายเงินส่วนนี้ให้เราเสมอค่ะ
แถวที่สาม สถานที่ทำงาน เราจะกรอกหรือไม่กรอกก็ได้
Advertisement
Advertisement
แถวที่สี่ จำนวนเงินเดือนปัจจุบัน ซึ่งผู้เขียนสมมุติให้ดูว่าเงินเดือน 40,000 โครน
แถวล่างสุด ให้เรากรอกอีเมลของเรา หลังจากนั้นให้เรากดเซฟข้อมูล (spara)
เมื่อทำรายการดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว เลื่อนลงมาข้างล่างสุด เราจะเจอรูปเหมือนแผนภูมิ ( ตามรูปข้างล่างนี้ )เราสามารถไปกดดูข้อมูลว่าถ้าเราขอรับเงินเกษียณตอนอายุ 65 ปี หรือ 66 ปีเราจะได้เงินเท่าไร ซึ่งในส่วนนี้จะมีแยกให้ว่าเรามีเงินเกษียณส่วนไหนเท่าไร ตามตัวอย่างของผู้เขียน
ระบบเงินเกษียณในประเทศสวีเดน แบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ
1. เงินเกษียณขั้นพื้นฐาน (Allmän pension) ที่เราทำงานจ่ายภาษีเข้าไป ส่วนหนึ่งจะถูกหักเข้าไปในกองทุนเงินเกษียณอายุ
2. เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Tjänstepension) เงินส่วนนี้ไม่เกี่ยวกับการจ่ายภาษีนะคะ เป็นสวัสดิการแยกต่างหาก ซึ่งบางบริษัทมีสวัสดิการส่วนนี้ให้พนักงาน บางบริษัทไม่มี อันนี้คือสิ่งที่สำคัญอีกข้อหนึ่งที่เราต้องถามให้ชัดเจนก่อนการเซ็นสัญญาเข้าทำงาน ซึ่งผู้เขียนก็เคยเขียนในบทความก่อนหน้า
3. เงินเกษียณในส่วนที่เป็นเงินเก็บของเรา (Private pension) ตามตัวอย่างผู้เขียนไม่มีการเก็บเงินในส่วนนี้ ทำให้จำนวนดังกล่าวเท่ากับศูนย์
ถ้าเราอยากดูยอดสรุปแบบชัด ๆ ให้เราเลื่อนขึ้นไปด้านบน จะมีข้อมูลสรุปให้เราชัดเจน (ตามรูปด้านล่างนี้ ) เช่น ในกรณีของผู้เขียนถ้ารับเงินเกษียณตอนอายุ 65- 66 ปี จะได้เงินเกษียณ 11,300 โครนก่อนภาษี
ปล.
- ในส่วนของเงินเดือนปัจจุบัน เราสามารถหลอกระบบได้ ว่าเราได้เงินเดือนเท่าไร ผู้เขียนก็ใส่ตัวเลขให้ดูที่ 40,000 โครน เพื่อดูแนวโน้มว่าเงินเกษียณในอนาคตของเราจะเพิ่มขึ้น หรือ ลดลงมากน้อยแค่ไหน
- เราไม่สามารถหลอกอายุในการเข้าระบบได้ เพราะเราเข้าระบบโดยใช้ข้อมูลประจำตัว 😊
วันนี้เอาแค่หัวข้อแรกไปก่อนนะคะ เยอะเกินไป เดี๋ยวจะมึนหัวจนเกินไป ส่วนใครที่สนใจข้อมูลส่วนที่สอง ” mina tjänster ” สามารถอ่านได้ในบทความถัดไป ซึ่งผู้เขียนจะเขียนแยกไว้ต่างหาก ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้ จะช่วยให้เราทุกคนสามารถเข้าไปตรวจสอบข้อมูลเงินเกษียณของเราได้ด้วยตัวเอง แล้วพบกันใหม่ค่ะ
เครดิต ภาพปก และกราฟฟิกจากเว็บ Canva
ภาพปก โดย bongkarn thanyakij จาก Pexels
ภาพที่ 1- 5 โดยผู้เขียน
Nurseonomy
บทความที่เกี่ยวข้อง
5 ข้อต้องรู้ ก่อนเซ็นสัญญาเข้าทำงาน | TrueID In-Trend
เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !
ความคิดเห็น