อื่นๆ

10 วิธีปฏิเสธ “ซองผ้าป่า” อย่างไรให้ได้ผล

3.0k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
10 วิธีปฏิเสธ “ซองผ้าป่า” อย่างไรให้ได้ผล

หลังงานกฐิน เข้าสู่ช่วงเวลา ทอดผ้าป่า สารพัดซองทำบุญมุ่งตรงมาหาเรา ไม่สนิทกันอยู่ดี ๆ ขอเอาชื่อพิมพ์ใส่ซองเป็นกรรมการซะงั้น แถมยังกำหนดอีกว่าต้องทำบุญเท่านั้นเท่านี้ ไม่เอาซองไปคืนทักมาทวง แปะพร้อมเพย์ให้โอนเงินราวกับเป็นหนี้ แหม! ขอเบรกอารมณ์ก่อน เล่นพูดแทนใจไปหมดเลย คือซองผ้าป่าไม่ใช่ว่าไม่ดีนะ แต่เดือนหนึ่งนับแล้วก็หลายซอง จะทำหมดคงไม่ไหว และยิ่งหลายคนชอบทำบุญเป็นทุนเดิม ยิ่งเป็นที่ดึงดูดของเจ้าภาพ แล้วจะมีวิธีปฏิเสธซองผ้าป่าอย่างไร? เราไปหาคำตอบจากประสบการณ์ของตัวผู้เขียนเองที่คลุกคลีอยู่ในแวดวงงานบุญ ปฏิเสธอย่างไรช่วยลดปริมาณซองผ้าป่าอย่างได้ผล

วิธีปฏิเสธซองผ้าป่า1. ปกติไปทำบุญที่วัดอยู่แล้ว

ความหมายคือ “ถ้าอยากทำ เดี๋ยวไปทำเองที่วัด” หากทำให้เค้าทราบว่าเราเป็นประเภทชอบทำบุญ “แต่ไม่ชอบใส่ซอง” เพราะปกติไปถึงวัดอยู่แล้ว โดยมารยาทหากเจ้าภาพยังตามเซ้าซี้ถือว่าไม่สมควรมาก เพราะการทำบุญไม่ใช่การบังคับ และคำว่าเดี๋ยวไปทำเองคือคำตอบแบบชัดเจนว่าเราไม่อยากได้ซองผ้าป่านี้ เป็นอันจบการสนทนาไปในตัว

Advertisement

Advertisement

2. ชอบทำเป็นสังฆทานมากกว่า

แสดงตัวว่า “ไม่ชอบทำบุญเป็นเงินทอง” เพราะหลายคนเชื่อแบบนั้นว่าการให้เงินกับพระคือเป็นบาป ผิดพระธรรมวินัย เราอาจจะทำบุญเอาเงินหยอดตู้เป็นปกติ แต่เมื่ออยู่ในสถานการณ์มีคนพยายามยื่นซองผ้าป่า การให้เค้าเชื่อว่าเราไม่ให้เงินกับพระ แต่ชอบไปทำบุญที่วัดด้วยวิธีอื่นมากกว่าเช่นสังฆทาน , ตักบาตร , ถวายเพลพระ ฯลฯ เจ้าของซองจะทราบว่าไม่ควรไปบังคับ และไม่มาเซ้าซี้เราอีก

วิธีปฏิเสธซองผ้าป่า อย่างไรดี3. อยากทำแล้วเอาไปลดหย่อนภาษีได้

บอกไปว่างบทำบุญมีจำกัด วางแผนไว้แล้วว่าจะทำบุญกับองค์กร , มูลนิธิ หรือวัดที่สามารถออกใบเสร็จรับเงิน หรือใบอนุโมทนาเพื่อเอาไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ และทำอย่างนี้เป็นประจำทุกปี “หรือขอทางวัดออกใบอนุโมทนาให้ได้มั้ย?” มาถึงตรงนี้ขอเสริมเป็นเกร็ดความรู้นิดหน่อย ถ้าไม่ใช่คนวงในอาจไม่ทราบว่าเงินของเราเนี่ย ให้ทางวัดออกใบอนุโมทนาเพื่อนำมาลดหย่อนภาษีประจำปีได้หลายบาทเลยนะ หากมีใครพูดถึง ใบอนุโมทนา เค้าจะถือว่ารู้ทัน และไม่มายุ่งกับเราอีกเลย

Advertisement

Advertisement

4. ทำบุญมาเยอะแล้ว แบ่งบุญให้คนอื่นบ้าง

ทำนองว่าไม่อยากเก็บบุญไว้คนเดียว เดือนนี้ไปมาหลายวัดแล้ว ซองพวกนี้แบ่งให้คนอื่นเค้าได้บุญเถอะ เกือบทั้งหมดหากได้ยินคนตอบแบบนี้จะอึ้งโดยอัตโนมัติ รู้สึกเกรงใจ กลายเป็นรู้ตัวว่ากำลังไปยัดเยียด อาจมีบ้างไม่ยอมแพ้ “ทำแล้วทำอีกได้” ก็ให้ย้ำไปว่าอยากแบ่งให้คนอื่นทำ รับประกันว่าเดี๋ยวก็เดินหนีไปเอง

วิธีไม่รับซองผ้าป่า5. ช่วงนี้ไม่สะดวก รายจ่ายเยอะ

ตัดบทด้วย “ภาระค่าใช้จ่าย” เป็นการจบบทสนทนาแบบไม่ต้องมีคำถามอะไรอีก  ด้วยยุคโควิด-19 แบบนี้เจ้าภาพก็ต้องเข้าใจว่าเงินกรรมการหลักร้อยนี่เอาไปทำอะไรอย่างอื่นได้ และให้ท่องไว้ว่าการทำบุญจนตัวเองเดือดร้อน “เจ้าภาพจะเป็นบาป” ฉะนั้นไม่ต้องเกรงใจครับ ไม่มีคือไม่มี และไม่ทำก็คือไม่ทำ เป็นคำตอบได้ผลดีแบบไม่ต้องคิดอะไรมากให้ซับซ้อน

6. ช่วยใส่ซอง 10 บาท 20 บาทได้ แต่กรรมการไม่สะดวกนะ

Advertisement

Advertisement

เหมาะกับคนรู้จักกัน เป็นคำตอบนุ่มนวลขึ้นมาอีกระดับ คือไม่ได้ไม่อยากทำ แต่ไม่สะดวกใส่เยอะ กรรมการ 100 บาท รองประธาน 500 บาทแบบนี้ไม่เอานะ แต่ถ้า 10-20 ตามศรัทธาพอช่วยได้ ไม่ใช่การปฏิเสธไปเลย เป็นการรักษาน้ำใจ และเซฟเงินในกระเป๋าไปได้เยอะ

7. ชอบทำบุญกับโรงพยาบาลมากกว่า

วิธีนี้คือต้องออกตัวไปเลยว่า “ไม่ชอบทำบุญกับวัด” แต่ชอบทำบุญกับเด็กกำพร้า , กับสัตว์บาดเจ็บพิการ หรือกับโรงพยาบาลมากกว่า จะเหมาะกับคนไม่สนิทกัน ประมาณว่าร้อยวันพันปีไม่เคยทักอยู่ ๆ มาแจกซองผ้าป่า ออกแนวตัดจบ ไม่ต้องตามมาให้ซองกันอีกในอนาคตแบบได้ผลมาก

ไม่รับซองผ้าป่า วิธี8. ขึ้นสเตตัส “งดรับซองผ้าป่า”

เจอใครทำแบบนี้เหมือนจะเอาฮา แต่ทำให้คนไม่กล้าแจกซองผ้าป่าได้จริง ทำได้หมดไม่ว่าจะเป็นไลน์ , เฟซบุ๊ก แต่ตัวผู้เขียนเองก็ยังไม่เคยลองนะ เท่าที่สัมภาษณ์ได้คำตอบว่ามันไม่ถึงกับไม่มีเลย แต่ช่วย “ลดปริมาณ” ซองผ้าป่าลงเหลือแต่เพื่อนสนิทกันเท่านั้น ประเภทไม่เคยเห็นหน้าไม่กล้าทักมาขอชื่อเป็นกรรมการอีกต่อไป

9. ได้ซองเกินโควตาแล้ว

อธิบายว่าเดือนหนึ่งสามารถรับได้กี่ซอง หรือลิมิตเงินทำบุญต่อเดือนเท่าไหร่ ถ้าเกินจากนี้ขอยกยอดไว้คราวหน้า นอกจากแสดงถึงวินัยการใช้จ่ายเงิน ยังทำให้ผู้แจกซองผ้าป่าเกรงใจ ถ้าถามต่อคือการยัดเยียด เจออีกทีก็ใช้วิธีเดิม ไม่นานก็จะเลิกมาแจกซองเพราะรู้ว่ามาก็ไม่ได้

10. ไม่ชอบเป็นกรรมการผ้าป่า

คนรู้จักกัน “สายบุญ” หลายท่าน แม้ชอบทำบุญเป็นทุนเดิมแต่กลับไม่ชอบให้ชื่อตัวเองปรากฏอยู่ในใบฎีกา (ใบรายชื่อในซองผ้าป่า) เพราะเชื่อว่าไม่อยากผูกเวรกรรมกับคนหมู่มาก สมมุติว่าคณะผ้าป่านี้ไปทำอะไรในทางไม่เหมาะสมเช่นกินเหล้าเมาปลิ้นในวัดตีกันตาย เค้าก็ต้องร่วมเวรกรรมนี้ไปด้วย การอธิบายว่าชอบทำบุญ แต่ไม่ชอบเป็นกรรมการ เป็นทางออกอีกอย่างที่คนเดินมาเส้นทางนี้ไม่ต้องเจอกับชื่อตัวเองไปโผล่มียศ , ตำแหน่ง ในซองผ้าป่าแบบไม่มีใครกล้ามายุ่งเลย

วิธี ไม่รับซองผ้าป่า ทำอย่างไรท้ายบทความขอแชร์ประสบการณ์พูดคุยเพื่อนต่างศาสนาในเรื่องนี้ ทุกคนไม่อยากให้บอกว่าไม่รับซองเพราะ “นับถือศาสนาอื่น” ซึ่งเป็นคำพูดยอดฮิตเลยในการปฏิเสธซอง โดยหลักการแล้วเราไม่ควรเอาศาสนาอื่นมายุ่งเกี่ยว หากมีกำลัง มีเวลา การได้ทำนุศาสนาเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องทำตามกำลังความสามารถ เคยกล่าวโดยละเอียดในบทความ

วิธี "ใส่ซองบุญ" แบบได้บุญเต็มร้อย

ถึงหลักการใส่ซองทำบุญว่าไม่จำเป็นต้องใช้เงินเยอะ และใส่อย่างไรให้ได้บุญ ลองคลิกอ่านกันดูนะครับ รับรองว่าต่อไปนี้การทำบุญจะเต็มไปด้วยความสุขใจมากขึ้น แล้ววันหน้ากลับมาพบกับบทความน่าสนใจกันได้ที่ TrueID In-Trend เช่นเคยครับ 🤗 ..

บทความน่าสนใจ

5 สถานที่บนบานขอพร “สอบบรรจุราชการ” พิกัดใกล้กรุงเทพฯ อยากสอบติดบนที่ไหนดี

10 เครื่องรางดูดเงิน “ใส่กระเป๋าสตางค์” เรียกทรัพย์เงินตุงกระเป๋า! ฉบับสายมู

เครื่องรางที่ต้องมีต้อนรับปีเสือ (ฉบับสายมู) บูชาอะไรถึงเสริมดวงรับปี 2565

ทำไมการ “กดไลก์กดแชร์” ถึงได้บุญ อยู่บ้านเล่น Facebook ก็อิ่มบุญแบบรัว ๆ

ห้ามพูดอะไรตอน “ตักบาตร” อาจชวนพระทำบาปไม่รู้ตัว

วิธี “เบิกบุญ” เอามาใช้ยามชีวิตลำบาก เพื่อชีวิตไม่อับจน

คาถาเบิกบุญ (ฉบับย่อ) เบิกบุญเก่ามาใช้ พลิกชะตาชีวิต


ภาพประกอบโดย ภาพปก : โดยผู้เขียน / Pixabay dudu19 : ภาพที่ 1 / ภาพที่ 2 - ภาพที่ 3 : โดยผู้เขียน / Pixabay janjf93 : ภาพที่ 4 / ภาพที่ 5 : โดยผู้เขียน

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
หงส์ดรุณ
หงส์ดรุณ
อ่านบทความอื่นจาก หงส์ดรุณ

ติดตามเรื่องราวน่าสนใจกันได้ที่นี่ครับ

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์