ความรู้

3 การทดลองวิทยาศาสตร์ง่าย สนุก ได้ความรู้ ทำได้ที่บ้าน มีคลิปให้ดู

6.5k

ฝังวีดีโอ

คัดลอกลิงค์

ฝังวีดีโอ

คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
3 การทดลองวิทยาศาสตร์ง่าย สนุก ได้ความรู้ ทำได้ที่บ้าน มีคลิปให้ดู

ขวดทดลอง

ภาพจาก: OpenClipart-Vectors / Pixabay

หากพูดถึงการทดลองล่ะก็ต้องเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์เป็นแน่นอน ซึ่งท่านผู้อ่านหลาย ๆ ท่านอาจจะมองว่าวิทยาศาสตร์นั้นเป็นเรื่องยาก แล้วยิ่งเป็นการทดลองแล้วนั้นยุ่งยากแน่นอน แต่ ๆ อย่าเพิ่งคิดว่ายากกันเลยน้าา เพราะจริง ๆ แล้ววิทยาศาสตร์นั้นอยู่รอบตัวเราและง่ายกว่าที่คิดอีก

ดังนั้นในวันนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับการทดลองวิทยาศาสตร์ที่ง่ายแสนง่าย สามารถทำได้เองที่บ้าน แถมยังไม่ต้องไปซื้ออุปกรณ์การทดลองแพง ๆ อีกด้วย เพราะทุกบ้านจะต้องมีของสิ่งนี้ในการทดลองทุกบ้านแน่นอน เอาล่ะ เราไปดูกันเลยดีกว่า ว่าการทดลองวิทยาศาสตร์ที่ง่ายแสนง่ายของเรานั้นจะเป็นอะไร ไปดูกันเล้ยย!!

ป.ล. แล้วอย่าลืมชมคลิปวิดีโอประกอบด้วยน้าาาาจะได้เข้าใจมากขึ้นค่ะ 😁

การทดลองที่ 1 เหรียญอมน้ำ

Advertisement

Advertisement

สำหรับการทดลองนี้ เตรียมแงะกระปุกออมสินเอาเหรียญมาทดลองเลยค่ะ 555 เหรียญธรรมดา ๆ เหรียญหนึ่งจะอมน้ำได้มากมายได้อย่างไร วิทยาศาสตร์มีคำตอบค่ะ แต่ก่อนอื่นไปดูอุปกรณ์และขั้นตอนการทดลองกันเลยค่ะ

การทดลองเหรียญอมน้ำ

🧪 อุปกรณ์การทดลอง

  1. เหรียญ 1 เหรียญ (จะเป็นเหรียญบาท เหรียญห้า หรือเหรียญสิบก็ได้หมดเลยจ้า)
  2. น้ำเปล่า (ประมาณ 1 แก้วน้ำดื่มก็พอแล้วค่ะ)
  3. หลอดหยดหรือไซลิ้งฉีดยา 1 อัน

เหรียญและไซลิ้งฉีดยาภาพจาก: Memed_Nurrohmad และ janjf93 / Pixabay

👩‍🔬 ขั้นตอนการทดลอง

  1. เตรียมอุปกรณ์ข้างต้นที่กำหนดให้ครบเสียก่อนน้าาา
  2. นำเหรียญมาวางไว้บนพื้นราบเรียบ
  3. จากนั้นนำหลอดหยดหรือไซลิ้งฉีดยาดูดน้ำเปล่าเอาไว้ข้างใน
  4. ค่อย ๆ หยดน้ำทีละหยดจากหลอดหยดหรือไซลิ้งฉีดยาลงบนเหรียญอย่างช้า ๆ
  5. หยดน้ำทีละหยดไปเรื่อย ๆ บนเหรียญ จนกระทั่งน้ำบนเหรียญไหลออกมาจากเหรียญ

🔬 สรุปผลการทดลอง

Advertisement

Advertisement

จากการทดลองนี้จะพบว่า เมื่อหยดน้ำลงบนเหรียญไปเรื่อย ๆ เหรียญจะสามารถรองรับน้ำได้จำนวนมากกว่าที่เราคิดกลายเป็นหยดน้ำขนาดใหญ่บนเหรียญ แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งที่เหรียญไม่สามารถรองรับน้ำไว้ได้แล้ว น้ำบนเหรียญจะไหลออกมาจากเหรียญเป็นจำนวนมาก ซึ่งการที่เหรียญสามารถรับน้ำได้จำนวนมาก ๆ นั้นเป็นเพราะ “แรงตึงผิวของน้ำ”

แรงตึงผิว (surface tension) คือ แรงต้านที่ผิวหน้าของของเหลวใด ๆ ยึดเกาะกันระหว่างโมเลกุลที่ผิวของของเหลวของเหลวที่มีแรงตึงผิวสูงจะมีแรงเกาะติด (cohesion force) ระหว่างโมเลกุลมาก ทำให้ควบคุมรูปร่างให้มีพื้นที่ผิวต่อปริมาตรน้อยที่สุด เป็นทรงกลมหรือเป็นหยด

เครดิตข้อมูลจาก: ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นิธิยา รัตนาปนนท์ / ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหาร

การทดลองที่ 2 ไข่ลอยน้ำ

Advertisement

Advertisement

โดยปกติแล้วไข่ไก่(ดิบ) มักจะจมน้ำ แต่ ๆ วันนี้เราจะมาทำให้ไข่ไก่ลอยน้ำกัน! พร้อมร่วมหาคำตอบไปด้วยกันว่าทำไมไข่ไก่ถึงจมและลอยน้ำขึ้นมาได้!

การทดลองไข่ลอยน้ำ

🧪 อุปกรณ์การทดลอง

  1. ไข่ไก่ดิบ 2 ฟอง
  2. แก้วน้ำ 2 ใบ
  3. เกลือ 5-6 ช้อนโต๊ะ
  4. ช้อน (ไว้สำหรับคนเกลือให้ละลาย)
  5. น้ำเปล่า (เตรียมใส่แก้วปริมาณ 3 ใน 4 ส่วนของแก้วทั้งสอง)

ไข่ภาพจาก: Pexels / Pixabay

👩‍🔬 ขั้นตอนการทดลอง

  1. เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างให้พร้อม โดยใส่น้ำทั้งสองแก้วให้มีปริมาณเท่ากันหรือใกล้เคียงกันมากที่สุด
  2. เติมเกลือแกงใส่ลงในแก้วน้ำอันใดอันหนึ่ง (ใส่เกลือแค่แก้วเดียวน้า) จากนั้นก็ใช้ช้อนคนเกลือให้ละลายกับน้ำ
  3. นำไข่ทั้ง 2 ฟองมาค่อย ๆ ใส่ลงในแก้วน้ำอย่างละ 1 ฟอง โดยสังเกต
  • แก้วใบที่ 1 ไข่ในแก้วน้ำที่ไม่มีเกลือ
  • แก้วใบที่ 2 ไข่ในแก้วน้ำที่มีเกลืออยู่

🔬 สรุปผลการทดลอง

จากการทดลองพบว่า ไข่ไก่ที่อยู่ในแก้วน้ำใบที่ไม่มีเกลือ ไข่จะจม ส่วนไข่ไก่ที่อยู่ในแก้วน้ำใบที่มีเกลือนั้น ไข่จะสามารถลอยน้ำได้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าเกี่ยวข้องกับความหนาแน่นของน้ำ ดังนี้

  • แก้วใบที่ 1 เป็นน้ำในแก้วที่ไม่มีเกลือ ดังนั้นแล้วน้ำจะมีน้ำหนักน้อยกว่าหรือความหนาแน่นน้อยกว่าไข่ และไข่หนักกว่าน้ำหรือมีความหนาแน่นมากกว่า จึงทำให้ไข่จมนั้นเอง
  • แก้วใบที่ 2 เป็นน้ำในแก้วที่มีเกลือละลายอยู่ เมื่อเกลือละลายเข้ากับน้ำ จะทำให้น้ำมีน้ำหนักหรือความหนาแน่นเพิ่มขึ้น จึงทำให้ไข่เบาหรือมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ ไข่จึงสามารถลอยน้ำได้นั่นเองค่ะ

เครดิตข้อมูลจาก: แม่ปาน / Amarin Baby&Kids

การทดลองที่ 3 เทียนไขดูดน้ำ

การทดลองนี้อาจจะต้องระมัดระวังกันหน่อยน้า เพราะเป็นการทดลองที่เราจะมาเล่นกับไฟกันค่ะ แต่จะเล่นแบบไหน ไปดูกันค่ะ

การทดลองเทียนไข่ดูดน้ำ

🧪 อุปกรณ์การทดลอง

  1. เทียนไข 1 แท่ง (ขนาดความยาวน้อยกว่าแก้วน้ำ)
  2. แก้วน้ำทรงสูง 1 ใบ (ต้องมีความสูงมากกว่าเทียนไขนะ)
  3. น้ำ
  4. สีผสมอาหาร (หรือน้ำหวานที่มีสีผสมก็ได้น้า)
  5. จานใส่น้ำ
  6. ที่จุดไฟ (เช่น ปืนจุดไฟ หรือไม้ขีดจุดไฟ และอื่น ๆ เป็นต้น)

เทียนไขภาพจาก: Anerma / Pixabay


👩‍🔬 ขั้นตอนการทดลอง

  1. เตรียมวัสดุอุปกรณ์กันให้พร้อมจ้าา ลำดับแรกนี้สำคัญมาก จากนั้นก็นำเทียนไขวางตั้งลงบนกลางจาน
  2. นำน้ำมาผสมกับสีผสมอาหารหรือน้ำหวานสีเพื่อเพิ่มสีสันในการทดลองมากขึ้น
  3. จากนั้นเทน้ำที่ผสมสีลงบนจานที่มีเทียนไขวางตั้งตรงกลาง
  4. จุดไฟที่เทียนไข แล้วนำแก้วน้ำทรงสูงมาครอบเทียนไขไว้ให้มิดบนจานที่เตรียมไว้
  5. รอและสังเกตระดับน้ำในแก้วที่ครอบเทียนไขไว้

🔬 สรุปผลการทดลอง

จากการทดลองนี้พบว่า ขณะที่แก้วน้ำครอบเทียนไขที่จุดไฟไว้ เมื่อเวลาผ่านไปสักพัก ไฟของเทียนไขจะเริ่มหรี่ลงเรื่อยๆ จนดับไป พร้อมกับที่ระดับน้ำในแก้วน้ำเริ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่าก๊าซออกซิเจนที่อยู่ในแก้วครอบเทียนไขถูกใช้ในการเผาไหม้จนหมดลงไปเรื่อย ๆ เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นมา แล้วทำให้ความดันอากาศที่อยู่ภายในแก้วลดลง ส่งผลให้ความดันอากาศจากภายนอกดันน้ำเข้ามาอยู่ในแก้ว จึงทำให้ระดับน้ำในแก้วเพิ่มสูงขึ้นพร้อมกันกับที่ไฟเทียนไข่ดับลงนั่นเอง

เครดิตข้อมูลจาก: พระจันทร์สีส้ม / TruePlookpanya

เป็นไงล่ะคะเพื่อน ๆ 3 การทดลองวิทยาศาสตร์ที่ง่ายแสนง่ายนี้ ง่ายจริง ๆ มั้ยล่าาา  เห็นมั้ยล่ะว่าวิทยาศาสตร์เนี่ยมันอยู่รอบตัวเราจริง ๆ นะ รู้อย่างนี้แล้วเริ่มชอบวิทยาศาสตร์กันมั้ยเอ่ยยย 555

จรวดพร้อมท่องโลกวิทยาศาสตร์ภาพจาก : satheeshsankaran / Pixabay
เครดิตภาพปกจาก: mvolz / Pixabay : mvolz / Pixar : OpenClipart-Vectors / Pixabay

7-11 Community ห้องลับเมาท์มอยของกินของใช้ในเซเว่น อะไรดีอะไรใหม่ ต้องรู้ ต้องคุย ต้องแชร์

ฝังวีดีโอ

คัดลอกลิงค์

ฝังวีดีโอ

คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ButterNoey
ButterNoey
อ่านบทความอื่นจาก ButterNoey

การเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิตเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์