อื่นๆ

4 เคล็ดลับบริหารการเงิน ทำยังไงให้มีเงินเก็บ

840
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
4 เคล็ดลับบริหารการเงิน ทำยังไงให้มีเงินเก็บ

ในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ก็ปฏิเสธไม่ได้ที่ใครหลายคนจะหาเคล็ดลับการจัดการการเงินมาเพื่อใช้จัดการเงินภายในครอบครัว เพราะทุกวันนี้ไม่ใช่เพียงแต่เงินจะหายากเท่านั้น แต่ข้าวของก็มีราคาแพงขึ้นมาดูด้วย ทำให้ยิ่งลำบากขึ้นไปอีก ตัวผู้เขียนเองมีประสบการณ์ตรงกับเรื่องนี้มามาก และเข้าใจความรู้สึกของผู้คนที่กำลังเครียดเพราะข้าวของแพงในทุกวันนี้ ในอดีตเมื่อปีที่แล้วพกเงินไป 40 บาทเพื่อเติมน้ำมันก็จะได้น้ำมันมาถึง 2 ลิตร แต่ว่าทุกวันนี้ได้แค่ 1 ลิตรกว่าไม่ แทบจะไม่ถึงลิตรครึ่งด้วยซ้ำ ด้วยสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ผู้เขียนจึงได้นำเคล็ดลับการบริหารจัดการที่ครอบครัวผู้เขียนเองก็ใช้ยึดถือจนมาถึงทุกวันนี้ รวมถึงตัวผู้เขียนเองก็ได้นำมาปรับใช้ มีบางข้ออาจจะประยุกต์บ้างเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยและเหตุการณ์ ไม่งั้นอาจจะไม่เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันได้ และในวันนี้เองก็ได้มีโอกาสได้นำเคล็ดลับเหล่านั้นมาแบ่งปันให้กับผู้อ่าน ซึ่งต้องบอกก่อนว่าวิธีเหล่านี้ผู้เขียนใช้แล้วมีเงินเก็บจริงๆ แต่จะมากหรือน้อยขึ้นกับรายได้และค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล แต่ละคนก็จะไม่เท่ากัน เราไปดูทั้ง 4 เคล็ดลับกันเลยดีกว่า

Advertisement

Advertisement

เก็บเงินเคล็ดลับที่ 1 เก็บ 30% เป็นอย่างต่ำ อันนี้ถือเป็นการฝึกวินัยการออมแต่ก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเก็บ 30% เสมอไป หากเดือนไหนค่าใช้จ่ายมากจะเก็บน้อยกว่านี้ก็ได้ หากเดือนค่าใช้จ่ายน้อยก็อาจเก็บมากหน่อย เราไม่จำเป็นจะต้องกำหนดตายตัวก็ได้ แต่ถ้าเป็นไปได้อยากให้เก็บอย่างน้อยๆ 30% จะช่วยให้เราไม่หนักและเหนื่อยจนเกินไป แต่จะไม่เหมาะกับคนที่มีภาระมากจริงๆเพราะอาจจะทำให้ลำบากได้ ควรจะค่อยเป็นไปค่อยไปดีกว่า สำหรับตัวผู้เขียนเองเมื่อได้เงินมาก็จะเก็บอย่างน้อย 30% แต่หากใช้เยอะในสิ่งที่จำเป็นก็จะยอมเอาออกมาใช้ ซึ่งได้ใช้วิธีนี้มา 3 ปีแล้ว ก็รู้สึกไม่ตึงเกินไป ถ้าเราจะเก็บอย่างเดียวทำให้เครียดได้ ข้อนี้ก็อาจจะสอดคล้องกับคำว่าที่ว่าคนเราควรมีเงินเก็บเป็น 6 เท่าของเงินที่ใช้จ่ายรายเดือน เพราะจะทำให้เราตั้งตัวได้เวลาที่ลำบาก พอจะมีเงินใช้ไปก่อนสักระยะ ถ้าเราเก็บมาได้สักพักหนึ่งแล้วหากคิดว่ามันมากพอแล้วจะหยุดแล้วเอาไปใช้หาความสุขก็ถือเป็นเรื่องที่ไม่ผิด เพราะชีวิตต้องหาสีสันบ้าง

Advertisement

Advertisement

เก็บเงินเคล็ดลับที่ 2 การหารายได้หลายทาง วิธีนี้จะนิยมเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบันตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19 เข้ามาก็ทำให้คนหลายคนหันมาหาอาชีพสำรองกันมากขึ้น ตัวผู้เขียนเองแนะนำว่าอาชีพเสริมควรเป็นสิ่งที่เราชอบจริงๆ แล้วค่อยเป็นค่อยไปจะทำให้เราไม่เหนื่อยมาก ที่พูดจุดนี้เพราะผู้เขียนไม่อยากให้เสียสุขภาพในการทำงานมากเกินไป ทำได้แต่พอดี อย่าหนักจนเกินไป เพราะอาจกระทบงานประจำได้ ส่วนตัวผู้เขียนจะหารายได้เสริมด้วยการขายของ เพราะชอบการขายเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ก็จะหาของมาขายหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นอาหาร ต้นไม้ เสื้อผ้า เครื่องสำอาง น้ำหอม เป็นต้น รายได้ก็ไม่ได้เยอะอะไร บางครั้งอาจขาดทุนด้วยซ้ำ แต่ก็ถือว่าได้ฐานลูกค้ามา ซึ่งฐานลูกค้านี่เองคือสิ่งที่หากันไม่ได้ง่ายๆ สำหรับคนอื่นๆก็ลองหาสิ่งที่ถนัดและชอบ เช่น เขียนบทความออนไลน์ สอนพิเศษ ร้องเพลง ทำช่อง YouTube เอาที่เราชอบ วันหนึ่งมันอาจจะเป็นรายได้หลักให้เราก็ได้

Advertisement

Advertisement

เงินเคล็ดลับที่ 3 แบ่งเงินให้เป็นสัดเป็นส่วน หลายคนพลาดมาเยอะแล้วกับการที่เก็บเงินกินเงินค่าน้ำค่าไฟรวมกับเงินเก็บ การทำแบบนี้ถ้าไม่แข็งพอจริงๆก็จะเผลอเอาเงินเก็บไปใช้จ่ายได้ สุดท้ายก็กลายเป็นว่าได้เก็บเพียงเล็กน้อย หรือบางคนแทบไม่ได้เก็บเลย เพราะฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือแยกส่วนของเงินให้ชัดเจน เงินเก็บก็เก็บไว้ในบัญชีเงินเก็บ เงินใช้ก็เอาไว้ในบัญชีเงินใช้ หากเงินใช้ไม่พอเมื่อไหร่ก็คือหยิบออกมาจากเงินเก็บได้ เมื่อทำแบบนี้หากเราจะเอาเงินออกจากบัญชีเงินเก็บจะทำให้เราฉุกคิดขึ้นมาสักนิดหนึ่ง ตัวผู้เขียนเองจะใช้วิธีนี้เป็นสำคัญ เพราะเมื่อก่อนจะรวมบัญชีกันเลยทั้งเงินใช้และเงินเก็บ ผลพบว่าไม่เคยอดใจได้สักเดือนหนึ่งเลย จึงต้องหันมาใช้วิธีนี้ซึ่งถือว่าได้ผลมากทีเดียว ลองนำไปปรับใช้ดูนะ

เคล็ดลับที่ 4 พยายามซื้อของที่คุณภาพดีแม้จะราคาแพงก็ตาม เคล็ดลับนี้หลายคนอาจจะมองว่าขัดแย้งกับการจัดการเงิน จริงๆแล้วมันคือการลดค่าใช้จ่ายของเราอย่างหนึ่ง การที่เราซื้อของคุณภาพ ส่วนมากจะราคาแพง หากใครหาราคาไม่แพงได้ก็ดีไป แต่ถ้าใครที่ต้องซื้อของราคาแพงแต่คุณภาพดีและจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ก็ควรจะซื้ออย่างไม่เสียดาย เพราะถ้าเราเผลอไปซื้อของคุณภาพไม่ดี ใช้ได้ไม่เท่าไหร่ก็พัง ไม่ทันได้คุ้มค่า อาจต้องเสียค่าซ่อมอีกมากมาย ดังคำที่ว่าเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย เพราะฉะนั้นอะไรที่เราต้องใช้บ่อยๆใช้ไปอีกนานๆ ก็ขอให้ซื้อของมีคุณภาพไปเลย ถึงจะแพงก็ขอให้อย่าเสียดายเงินที่ซื้อ เพราะระยะยาวถือว่าคุ้มค่าแน่นอน ผู้เขียนเคยมีอยู่ช่วงหนึ่งที่งกเงิน ซื้อแต่ของราคาถูกใช้ แต่ใช้ได้ไม่นานก็พัง สู้ซื้อของราคาแพงแต่ใช้ได้นานก็ได้เลยสักนิด

เงินและนี่ก็คือ 4 เคล็ดลับที่ผู้เขียนมองออกมาผ่านชีวิตและประสบการณ์ของผู้เขียนเอง หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่หาวิธีการบริหารจัดการเงินอยู่นะ

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์