อื่นๆ

5 ขั้นตอนสู่การเป็นนักวิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น

3.9k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
5 ขั้นตอนสู่การเป็นนักวิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น

ในช่วงที่มีเหตุการณ์ภัยพิบัติในพื้นที่ต่างๆของประเทศไทยทุกครั้งมักจะพบกับปัญหาการติดต่อสื่อสารที่ไม่เสถียร ไม่ว่าจะเป็นทั้งสัญญาณโทรศัพท์หรือสัญญาณอินเทอร์เน็ตก็ตาม นั่นอาจเป็นเพราะว่าเสาสัญญาณได้รับความเสียหายส่งผลให้ไม่สามารถรับส่งสัญญาณต่อได้ ในเมื่อช่องทางการสื่อสารหลักที่ทันสมัยที่สุดเกิดการล่ม มนุษย์จึงต้องอาศัยอุปกรณ์สื่อสารสุดคลาสสิคอย่างวิทยุสื่อสารเข้ามาใช้เป็นอุปกรณ์สื่อสารหลัก เราจึงจะเห็นเหล่านักวิทยุสมัครเล่นในพระบรมชูปถัมภ์ที่มักเข้ามาอาสาทำงานร่วมกันกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นๆเมื่อเวลาเกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่ในบ่อยครั้ง เพื่อสนับสนุนในด้านการสื่อสารเป็นหลัก

ต้องบอกก่อนว่าวิทยุสื่อสารในประเทศไทยนั้นมีหลายประเภทมากซึ่งจะแบ่งออกตามความถี่ ได้ 3 ประเภท
1.วิทยุคลื่นความถี่ภาคประชาชนหรือที่เราคุ้นตากับวิทยุเครื่องแดงนั่นเองโดยจะอนุญาตใช้คลื่นความถี่ที่ 27/8/245/422:Mhz ซึ่งประชาชนสามารถครอบครองได้แต่ต้องทำการจดทะเบียนก่อนก่อนใช้งาน
2.วิทยุที่ได้รับอนุญาตการใช้งานจาก กสทช.หรือที่เรียกกันว่าเครื่องดำซึ่งเรามักพบเห็นการใช้งานในหน่วยการราชการตำรวจ ทหาร หรือข้าราชการกระทรวงต่างๆ รวมไปถึงเจ้าหน้ามูลนิธิต่างๆและหน่วยงานเอกชนที่ได้รับอนุญาต โดยจะใช้ความถี่ ที่147-174 Mhz

Advertisement

Advertisement

3.วิทยุสื่อสารสมัครเล่นเครื่องดำ ใช้ความถี่ที่ 144-146 Mhz ผู้ที่สามารถใช้งานได้จะต้องสอบเป็นนักวิทยุสมัครเล่นก่อนเท่านั้นจึงจะสามารถใช้ได้ซึ่งนักวิทยุสมัครเล่นจะถูกแบ่งเป็นสามระดับ ได้แก่ นักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น นักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง และนักวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง


โดยในบทความนี้ผู้เขียนจะมาแชร์วิธีการสอบเป็นนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นให้เพื่อนๆที่สนใจตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อเป็นแนวทางและความรู้ ซึ่งจะแบ่งเป็น 5 ขั้นตอนง่ายๆ
1.ขั้นตอนการเช็คตารางสอบ
ในช่วงกลางปีหรือท้ายปีเราจะสามารถเข้าเช็คตารางการสอบได้ง่ายผ่านเว็บไซต์ hs3lzx.com ตามลิงก์ที่ผู้เขียนได้แนบไว้
https://www.hs3lzx.com/ham-radio-exam/ เราสามารถเลือกช่วงเวลาและสถานที่ได้ตามที่เราสะดวก ซึ่งในตารางก็จะมีการแบ่งเป็นสองประเภท คือแบบมีการอบรม และไม่มีการอบรม
หรือพูดง่ายๆคือมีการติวก่อนสอบ และไม่มีการติวก่อนสอบนั่นเอง ซึ่งค่าสมัครก็จะแตกต่างกัน

Advertisement

Advertisement

2.ขั้นตอนการสมัครสอบ
เมื่อเลือกช่วงเวลาและสถานที่ได้แล้วก็ให้ทำการสมัครโดยวิธีการสมัครจะมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การโทรศัพท์ไปที่เบอร์โทรที่ระบุในช่องท้ายของตารางในข้อ 1 หรือ การสมัครที่สมาคมวิทยุสมัครเล่นประจำจังหวัด รวมไปถึงร้านขายอุปกรณ์วิทยุสื่อสารในจังหวัดนั้นๆที่ส่วนใหญ่จะเข้าร่วมภาคีกัน ซึ่งผู้เขียนเองก็สมัครผ่านร้านดังกล่าวด้วยเช่นกัน คุณสมบัติของผู้สมัครคือต้องมีสัญชาติไทย และต้องไม่เคยมีใบอนุญาตนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นมาก่อน ในขั้นตอนนี้ให้เราเตรียมเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน รับรองสำเนาถูกต้อง และเตรียมรูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 นิ้ว ให้พร้อม และที่ขาดไม่ได้ก็คือค่าสมัครนั่นเอง หากสมัครแบบมีการอบรมจะเสียค่าสมัครที่ 1,000 บาท หากสมัครแบบไม่มีการอบรม จะเสียค่าสมัครที่ 300 บาท ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ลิงก์ด้านล่าง
https://www.hs3lzx.com/how-to-become-a-amateur-radio/ หลังจากที่สมัครเสร็จแล้วเราจะได้รับบัตรประจำตัวผู้สอบและหนังสือคู่มืออบรมและสอบมา 1 เล่มซื่งเนื้อหาในการสอบถูกอัดแน่นไว้ในหนังสือเล่มนี้ไว้หมดแล้ว

Advertisement

Advertisement

รับคู่มืออบรมและบัตรผู้สอบ

3.ขั้นตอนการเตรียมตัวและสอบ
ผู้เขียนมีเวลาเตรียมตัวสอบ 3 เดือน แต่เอาเข้าจริงก็มาเตรียมตัวกันแค่ไม่กี่สัปดาห์ก่อนสอบ
โดยผู้เขียนศึกษาข้อมูลและทำข้อสอบจาก 2  แหล่งหลักๆ ได้แก่ หนังสือคู่มืออบรมและสอบ และฝึกทำข้อสอบเสมือนจริง(เน้นว่าเสมือนจริง)ผ่านเว็บไซต์ https://oss.nbtc.go.th/OSS/ETest/Exam.aspx?sysgrp=AR&lvl=1
เนื้อหาในการสอบจะมีทั้ง 5 วิชา 100 ข้อ ใช้เวลาสอบ 1 ชั่วโมง หากผู้สอบสมัครแบบมีการอบรมจะต้องเข้าไปนั่งอบรม เป็นเวลา 6 ชั่วโมง ตั้งแต่ 8:30 น.เป็นต้นไป ซึ่งถือว่าเป็นทบทวนที่ดีมาก
3.1.วิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุสมัครเล่น(25ข้อ)
ในเนื้อหาวิชานี้จะเป็นในเรื่องกฎหมายที่ผู้สอบจะต้องจำหลักการให้ดีไม่ว่าจะเป็นจำนวนวันที่กฎหมายกำหนด ขอบเขตหน้าที่ของพนักงานวิทยุสมัครเล่น โทษของผู้ที่ทำผิดเกี่ยวกับการใช้คลื่นความถี่ผิดประเภทเป็นต้น

3.2.วิชาการติดต่อสื่อสารของพนักงานวิทยุสมัครเล่น(20ข้อ)
ในเนื้อหาส่วนนี้ผู้เขียนขอแนะนำให้เพื่อนท่องประมวลรหัสคิว Q  code ให้แม่น ทั้ง 3 กลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น QR,QS,QT รวมไปถึงการท่อง วิธีการออกเสียงตาม ITU Phonetic Alphabet เพื่อใช้ออกเสียงสัญญานเรียกขาน เป็นต้น

3.3.วิชาทฤษฎีต่างๆสำหรับนักวิทยุสมัครเล่น(20ข้อ)
เนื้อในส่วนนี้ค่อนข้างจะออกไปในเชิงเทคนิคพอสมควรหากผู้อ่านมีพื้นฐานทางด้านไฟฟ้าสื่อสารก็จะช่วยได้เยอะมากส่วนตัวผู้เขียนนั้นอาศัยความรู้วิชาไฟฟ้าพื้นฐานมาบ้างเลยพอถูๆไถ่ๆไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง กฎของโอห์ม ความถี่ของระบบกระแสไฟฟ้า วิธีการหาประจุไฟฟ้ารวมทั้งแบบอนุกรมและขนาน เป็นต้น ซึ่งหากใครไม่มีพื้นฐานมาก่อนจะต้องให้เวลาเตรียมตัวกับเนื้อหาส่วนนี้มากเป็นพิเศษอาจจะต้องจดจำบางสมการสำหรับใช้คำนวณในห้องสอบด้วย

3.4.วิชาหลักปฏิบัติของนักวิทยุสมัครเล่น
เนื้อหาในส่วนนี้ก็จะยังมีในเรื่องเทคนิครวมอยู่ด้วยเช่นกันโดยจะเน้นในเรื่องความรู้เรื่องอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยุสื่อสารรวมไปถึงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆ

3.5.วิชาคุณธรรมและจริยธรรมของนักวิทยุสมัครเล่น(15ข้อ)
เนื้อหาส่วนนี้จะเป็นข้อเก็บแต้มให้กับผู้สอบทุกคน เพราะเป็นพื้นฐานในเรื่องผิดชอบชั่วดี แต่ต้องระวังในความกำกวมของคำถามเล็กน้อยที่จะพาเราไขว้เขวและทำให้เสียคะแนนในส่วนนี้ไปง่ายๆ
โดยทั้งหมดนี้เราจะต้องตอบถูกมากกว่า60% หรือมากกว่า 60 ข้อ เท่านั้นจึงจะถือว่าสอบผ่าน

บรรยากาศห้องสอบ

4.ขั้นตอนการสมัครสมาคม
เมื่อการสอบเสร็จสิ้นแล้วประมาณ 1 เดือนต่อจากนั้นก็จะมีการประกาศผลสอบและจะได้รับใบประกาศณียบัตรนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ให้เราถ่ายสำเนาพร้อมแนบเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน รูปถ่าย และสำเนาทะเบียนบ้านเพื่อนำไปสมัครเป็นสมาชิกสมาคมนักวิทยุสมัครเล่นประจำจังหวัด โดยจะเสียค่าธรรมเนียมราย 5 ปี 350 บาท โดยเราจะได้รับบัตรสมาชิกและเอกสารการเป็นสมาชิกเพื่อไปขอทำใบอนุญาตและขอสัญญาณเรียกขานที่ กสทช.ต่อไป

ใบประกาศ

บัตรสมาชิก


5.ขั้นตอนการทำใบอนุญาต
นำเอกสารที่ได้จากสมาคม และเตรียมสำเนาใบประกาศณียบัตรนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ให้เราถ่ายสำเนาพร้อมแนบเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน รูปถ่าย และสำเนาทะเบียน ไปยื่นที่สำนักงาน กสทช. ประจำเขต เพื่อรับใบอนุญาตและสัญญาณเรียกข่าน(Call Sign) โดยจะต้องเสียค่าธรรมเนียม 214 บาท
ผู้เขียนสามารถตรวจสอบ Call sign ปัจจันได้ที่ facebook fanpage ศูนย์สื่อสารสำนักงาน กสทช. เพื่อเป็นแนวการตัดสินใจกันได้เลย

รับCall sign

รูปภาพโดยผู้เขียน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์