ไลฟ์แฮ็ก

5 ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจเรียนปริญญาโท

1.4k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
5 ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจเรียนปริญญาโท

เครดิตภาพ : jasmine-coro-unsplash.com

การเรียนปริญญาโทอาจไม่ใช่ความฝัน แต่มันอาจคือบันไดอีกขั้นของชีวิต

สำหรับคนที่ทำงานมาสักระยะหนึ่ง การเรียนต่อปริญญาโทอาจเป็นหนทางในการอัพเงินเดือน สร้างคอนเน็คชั่น เจาะลึกความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือข้ามศาสตร์ไปยังสาขาอื่นที่อาจเป็นช่องทางสำหรับการเปลี่ยนงานใหม่ที่ท้าทายมากยิ่งขึ้น

ส่วนคนที่กำลังเรียนปริญญาตรี หรือเพิ่งจบใหม่ การเรียนปริญญาโทก็ไม่ต่างอะไรกับการทำรายงานชิ้นใหญ่ที่ควรจะใช้เวลา 1 ปี แต่อาจารย์กลับสั่งงานและบอกว่าต้องส่งภายใน 1 อาทิตย์!

เพื่อให้แน่ใจว่าการตัดสินใจเรียนต่อปริญญาโทจะไม่ใช่การเลือกทางผิดและทำให้ชีวิตพัง... ก่อนจะตัดสินใจก้าวขาไปสมัครสอบ

นี่คือสิ่งสำคัญ 5 ข้อที่คุณควรรู้

https://onscene-prod.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/files/styles/body_image_480w/public/inline-images/honey-yanibel-minaya-cruz-laORtJZaieU-unsplash_0.jpg?itok=G3iQnC6m เครดิตภาพ : honey-yanibel-minaya-cruz-unsplash.com

1. รู้ว่าตัวเอง ‘รู้อะไร’

Advertisement

Advertisement

การเรียนต่อสาขาเดิมจะทำให้ชีวิตง่ายขึ้นเพราะไม่ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ อย่างน้อยๆ ความรู้สมัยปริญญาตรีก็พอจะเป็นพื้นฐานให้เข้าในบทเรียนได้ง่ายกว่าคนที่จบมาไม่ตรงสาขา ยิ่งถ้าไม่มีเวลามากพอจะเตรียมตัวอ่านหนังสือสอบ ความรู้เดิมสมัยปริญญาตรีก็พอจะช่วยชีวิตให้ทำข้อสอบเข้าปริญญาได้โดยไม่ยาก (ถ้าหากยังพอจำได้และปัดฝุ่นมาตอบได้ตรงจุด)

แต่... หากจบมาไม่ตรงสายก็ไม่ใช่เรื่องโหดหิน ถ้าจะลองเรียนอะไรให้ตรงกับสายงานที่ตัวเองทำ

ขอเพียงรู้ตัวว่า อะไรคือต้นทุนความรู้ที่เรามี เพื่อให้การเริ่มต้นไม่ตะกุกตะกักเกินไปนัก แต่หากใครอยากจะเริ่มต้นใหม่จากศูนย์ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพียงแค่อาจจะเหนื่อยกว่าคนเรียนจบตรงสายสักหน่อย

https://onscene-prod.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/files/styles/body_image_480w/public/inline-images/helloquence-5fNmWej4tAA-unsplash_2.jpg?itok=GzUHBP3- เครดิตภาพ : helloquence-unsplash.com

2. รู้ว่าหลักสูตรที่จะเรียนสอนอะไร

การศึกษาคือการลงทุน และการเรียนต่อปริญญาโทไม่ใช่แค่ลงทุนด้วยเวลา แต่หมายถึงค่าเทอมด้วย ก่อนจะเรียนต่อก็ควรหาข้อมูลเบื้องต้นสักนิดว่า... หลักสูตรที่เราจะสมัครเรียนนั้นเน้นการสอนเรื่องอะไรเป็นหลัก ตรงกับความสนใจหรือสาขาอาชีพที่เราจะนำไปต่อยอดหรือไม่ เพื่อไม่ให้เสียทั้งเงินทองและเวลาแบบกลับตัวก็ไม่ได้ อดทนเรียนต่อไปก็ไปไม่ถึง

Advertisement

Advertisement

3. วางแผนสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ

ชีวิตเป็นเรื่องของการวางแผน การสอบเข้าปริญญาโทของบางมหาวิทยาลัยไม่ใช่แค่ทำข้อสอบของคณะ แต่จำเป็นจะต้องใช้คะแนนวัดระดับภาษาอังกฤษประกอบการยื่นใบสมัครด้วย

หมายความว่า... แต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัย จะกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำของคะแนนวัดระดับภาษาอังกฤษ ถ้าจะสอบเข้าจุฬาฯ ก็ต้องใช้คะแนน CU-TEP ถ้าจะสอบเข้าธรรมศาสตร์ก็ต้องใช้คะแนน TU-GET เป็นต้น ใครใคร่สมัครมหาวิยาลัยไหนก็เลือกสอบอันนั้น

Tips :การสอบวัดระดับภาษาอังกฤษเหล่านี้ไม่ได้เปิดสอบตลอดทั้งปี มักจะเปิดเป็นรอบๆ และค่าสอบค่อนข้างโหด เพราะฉะนั้นก่อนจะสมัครสอบก็ควรจะเตรียมตัวไว้บ้าง (ใครไม่มีเวลาอ่านทบทวน แนะนำให้เสิร์ชหาคลิปติวสอบใน YouTube จะช่วยทุ่นแรงในการเตรียมตัวสอบได้ดีทีเดียว)

ส่วนใครที่ภาษาอังกฤษเจ๋งๆ ก็ขอแนะนำให้สอบ TOEFL ไปเลยจ้าาาา ใช้ยื่นสมัครได้ทุกมหาวิทยาลัย

Advertisement

Advertisement

https://onscene-prod.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/files/styles/body_image_480w/public/inline-images/sarah-boudreau-0z0nT8w_y_o-unsplash.jpg?itok=sn3urEiO เครดิตภาพ : sarah-boudreau-unsplash.com

4. เก็งข้อสอบให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน

ข้อสอบเข้าปริญญาโทส่วนใหญ่มักจะล้อไปตามสถานการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกับศาสตร์ในแขนงนั้นๆ ทางลัดก็คือ... เมื่อรู้ตัวว่าจะสอบก็ควรอ่านหนังสือพิมพ์ ฟังข่าว อ่านบทความ และฝึกวิเคราะห์สถานการณ์ย้อนหลังอย่างน้อย1 เดือน

Tips : การตอบข้อสอบปริญญาโทไม่ควรตอบแบบชักแม่น้ำทั้งห้า แต่ต้องแสดงความคิดเห็นแบบมีหลักการ และมีเหตุผลมากพอที่จะโน้มน้าวใจ (ถ้าเอาคำตอบของตัวเองไปจับกับโมเดล หรือหลักการของศาสตร์แต่ละแขนงได้ จะเจ๋งมาก)

https://onscene-prod.s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/files/styles/body_image_480w/public/inline-images/campaign-creators-8F4EX4Nw1yY-unsplash.jpg?itok=nRqCEuFC เครดิตภาพ : campaign-unsplash.com

5. มีหัวข้อวิทยานิพนธ์ไว้ในใจ

แค่ก้าวขาไปสมัครสอบปริญญาโท ก็เหมือนคุณปักหมุดไว้แล้วว่าปลายทางคือ‘วิทยานิพนธ์’

คำถามที่คุณต้องเจอแน่ๆ ซึ่งต่อให้ไม่เจอในการสอบข้อเขียนก็ต้องเจอในการสอบสัมภาษณ์ คือ... “คุณอยากทำวิทยานิพนธ์เรื่องอะไร เพราะอะไร”

คำตอบที่คุณควรเตรียมไปจากบ้านก็คือ คำตอบคร่าวๆ เกี่ยวกับส่วนต่างๆ ของวิทยานิพนธ์ (ข้อสอบบางที่ไม่ถามว่าคุณสนใจอะไร แต่จะถามคุณว่า... หากจะศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งควรเขียน โครงร่างวิทยานิพนธ์ หรือ Proposal อย่างไร)

สิ่งที่คุณควรท่องจำให้ขึ้นใจก็คือ

1. ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ที่เชื่อมโยงกับสาขาวิชาที่คุณจะสอบเข้า

2. ที่มาและความสำคัญ คือ การอธิบายว่าการศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีสาเหตุมาจากอะไร ศึกษาเพื่ออะไร ได้คำตอบแล้วจะเอาไปประยุกต์ใช้ยังไง

3. วิธีการศึกษาวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่าง การเก็บข้อมูล และขอบเขตการวิจัยทั้งในแง่ของพื้นที่และเนื้อหา

4. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง (ข้อนี้จะเป็นการโชว์กึ๋นว่าคุณเหมาะจะเรียนสาขานั้นๆ มากแค่ไหน ต่อให้คุณเรียนข้ามสายแต่คุณก็ควรเตรียมตัวล่วงหน้าด้วยการศึกษาว่าสาขานั้นๆ มีโมเดล หรือหลักการพื้นฐานอะไรที่ควรรู้บ้าง)

การสอบเป็นเรื่องของการเตรียมตัว เมื่อตัดสินใจแล้วก็ต้องพุ่งไปให้สุดแรง และต้องไม่ลืมว่าการเตรียมตัวที่ดีจะมีชัยไปกว่าครึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการสอบเข้าปริญญาโท หรือการสอบครั้งไหนๆ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
SummerButterfly
SummerButterfly
อ่านบทความอื่นจาก SummerButterfly

ฟูลไทม์-นักเรียนรู้ พาร์ทไทม์-นักเดินทาง ซัมไทม์-นักเยียวยา

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์