อื่นๆ

5 อาการน่าเป็นห่วง ที่ต้องระวัง จากโรคติดโซเชียล

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
5 อาการน่าเป็นห่วง ที่ต้องระวัง จากโรคติดโซเชียล

ทุกวันนี้ การใช้โซเชียลมีเดียของเรา ทำให้คนติดอยู่ในโลกนั้น หรือเป็น โรคติดโซเชียล จะสังเกตได้ง่าย ๆ จากตัวเราเอง หรือคนรอบ ๆ ตัวเรา จะไม่ค่อยวางโทรศัพท์ไว้ไกลตัว หรือวางไว้ก็ไม่นาน ก็จะไปหยิบมาดูเรื่อย ๆ เป็นกันอย่างนี้แทบทุกคน ตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นมา หรือก่อนที่จะลงนอนไปแต่ละวัน เราจึงรู้สึกว่าตัวเองผิดปกติหรือเปล่านะ และมีความเป็นห่วงทุกคนด้วยค่ะ เราจึงเริ่มเรียนรู้และเห็นว่า การมีพฤติกรรมดังที่กล่าวมานี้ มีผลเสียด้วยนะคะ วันนี้จึงได้มานำเสนอ 5 อาการน่าเป็นห่วง ที่ต้องระวัง จากโรคติดโซเชียล ให้ทราบกันค่ะ

5 อาการน่าเป็นห่วง ที่ต้องระวัง จากโรคติดโซเชียล

1.โรคซึมเศร้าจาก Facebook

คนในยุคนี้ มักใช้ช่องทางเฟซบุ๊กในการระบายความรู้สึกตัวเองมากขึ้น อัฟเดทการกระทำและความรู้สึกกันตลอดเวลา และคนที่ติดตามก็เรียนรู้นิสัยใจคอกันจากการโพสต์ มากกว่าที่จะไปเจอกันเพื่อพบปะพูดคุยกันในชีวิตจริง หรือบางครั้งอาจทำให้คนเราห่างเหินกันมากขึ้น แม้จะนั่งทานข้าวด้วยกัน แต่ทุกคนก้มหน้าเล่นมือถือ ไม่มีการพูดคุยกัน นี่แหละเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้บางคนป่วยได้ เมื่อมีปัญหาหรือความเครียดเกิดขึ้น ไม่มีการให้คำปรึกษากัน หรือให้กำลังใจปลอบโยน ในบางครั้งจึงรู้สึกเหงา และรู้สึกว่าตัวเองอยู่คนเดียว

Advertisement

Advertisement

social addiction

2.โรคละเมอแชท (Sleep - Texting)

โรคละเมอแชทเกิดจากการติดสมาร์ทโฟนมากเกินเหตุ จนทำให้เกิดพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อข้อความแชท อย่างรวดเร็วโดยไม่รู้ตัว แม้กระทั่งในเวลาหลับ เพียงได้ยินข้อความแชทเด้งเข้ามา ก็เกิดการละเมอขึ้นมาพิมพ์ตอบทันที โดยที่ยังหลับ ทำให้การพักผ่อนไม่เต็มที่ มีผลให้สุขภาพแย่ลงได้ และยังอาจจะเกิดความเข้าใจผิดกันได้จากการพิมพ์ข้อความแบบไม่รู้สึกตัว และอาจมีผลให้มีความเครียด และโรคต่าง ๆ ตามมาได้ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ หรือโรคปวดหัวเรื้อรัง เป็นต้น

social addiction

3.โรควุ้นในตาเสื่อม

โดยทั่วไปมักเกิดกับคนอายุมากตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป แต่ในปัจจุบันพบมากขึ้นในทุกวัย โดยเฉพาะคนที่ต้องทำงานติดจอคอมพิวเตอร์ทุกวัน หรือบางคนจ้องสมาร์ทโฟนอยู่ตลอดเวลาจากการแชทหรือเล่นเกมส์ มีอาการเห็นภาพเป็นคราบดำ ๆ คล้ายหยากไย่ เมื่อมองไปยังแสงสว่าง รวมทั้งมีอาการปวดตาและอาจมีปัญหาด้านสายตาในเวลาต่อมา ก็ขอให้ทุกคนสังเกตตัวเองด้วยนะคะ

Advertisement

Advertisement

social addiction

4.อาการ Nomophobia

โนโมโฟเบีย (Nomophobia) เป็นอาการหวาดกลัวจาการขาดโทรศัพท์มือถือเพื่อติดต่อสื่อสาร ทำให้ต้องพกพาโทรศัพท์ไว้ติดตัวตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำกิจกรรมอะไรในชีวิตประจำวัน อาการที่เกิดขึ้น มาจากหากลืมพกติดตัว แบตหมด หรืออยู่บริเวณที่ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต จะทำให้มีอาการกระวนกระวายใจ หงุดหงิด เครียด มีเหงื่อออก ตัวสั่น หรือคลื่นไส้ เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งจัดว่าเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง

social addiction

5.สมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone Face)

เป็นโรคที่เกิดจากการก้มลงมองและจ้องไปที่สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตมากจนเกินไป จะทำให้เกิดการเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณคอ และเพิ่มแรงกดบริเวณแก้ม เป็นสาเหตุทำให้เกิดการยืดของเส้นใยอิลาสติกบริเวณใบหน้า มีผลให้แก้มเกิดการย้อยลงมา และกล้ามเนื้อบริเวณมุมปากจะตกไปทางคาง เราจะทราบได้จากการถ่ายภาพใบหน้าตัวเอง

Advertisement

Advertisement

social addiction

เมื่อใดที่เรารู้สึกว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิด เริ่มมีพฤติกรรมที่ติดโซเชียลมากเกินไปจนเริ่มมีผลเสียต่อสุขภาพและการใช้ชีวิต ควรให้การแนะนำให้พยายามลดเวลาที่เล่นลง หรือกำหนดเวลา หรือจำนวนครั้ง ที่จะเช็คข้อมูลต่อวัน ลบแอปพลิเคชันที่ทำให้ติดมาก ๆ ออกจากเครื่อง เวลาทำกิจกรรมอย่างอื่น ๆ ให้เอาอุปกรณ์หน้าจอห่างจากตัวให้มากที่สุด แต่ถ้าได้ลองหลายวิธีแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น จิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือสายด่วน สุขภาพจิต 1323 สายด่วน เป็นต้น


ขอบคุณข้อมูล : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ หรือ https://new.camri.go.th

ภาพประกอบ 1 - 5 โดยผู้เขียน และภาพปก canva

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
condoroom
condoroom
อ่านบทความอื่นจาก condoroom

รู้สึกภูมิใจกับตัวเองทุกครั้งที่ได้ทำงานใด ๆ สำเร็จได้

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์