ไลฟ์แฮ็ก

5 เคล็ด(ไม่)ลับ เปลี่ยน คำไทย (ภาษากลาง) ให้เป็น คำเมือง (ภาษาเหนือ)

1.8k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
5 เคล็ด(ไม่)ลับ เปลี่ยน คำไทย (ภาษากลาง) ให้เป็น คำเมือง (ภาษาเหนือ)

5 เคล็ด(ไม่)ลับ เปลี่ยน คำไทย (ภาษากลาง) ให้เป็น คำเมือง (ภาษาเหนือ)

ภาคเหนือของประเทศไทย คือดินแดนที่เต็มไปด้วยศิลปะ วัฒนธรรม และธรรมชาติอันสวยงาม ทำให้เป็นเป้าหมายของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ และหนึ่งในสิ่งที่นักท่องเที่ยวทั้งหลายต่างหลงใหลคือเรื่องของ ภาษา เพราะภาษาถิ่นเหนือถือเป็นหนึ่งในภาษาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว วันนี้เราจึงมีเทคนิคการพูดภาษาเหนือง่าย ๆ มาฝาก

1. คำพยัญชนะต้น ก.ไก่ จ.จาน ต.เต่า และ ป.ปลา ให้ใช้เสียงจัตวาทั้งหมด

อย่างที่รู้กันว่า คำเมือง (ภาษาเหนือ) นั้นจะออกเสียงแบบเนิบ ๆ ช้า ๆ ทำให้คำที่พยัญชนะต้นขึ้นด้วยอักษรเสียงกลางบางตัวจะออกเสียงเป็นเสียงจัตวาเป็นส่วนใหญ่ คือ ก.ไก่ จ.จาน ต.เต่า และ ป.ปลา นั่นเอง

ตัวอย่าง ก.ไก่ เช่น จาก ไกล เป็น ไกล๋, จาก กาน้ำ เป็น ก๋าน้ำ, จาก กิน เป็น กิ๋น

Advertisement

Advertisement

จ.จาน เช่น จาก อาจารย์ เป็น อาจ๋าน, จาก จำ เป็น จ๋ำ, จาก จาม เป็น จ๋าม

ต.เต่า เช่น จาก เตา เป็น เต๋า, จาก ตำ เป็น ต๋ำ, จาก น้ำตาล เป็น น้ำต๋าน

ป.ปลา เช่น จาก ปลา เป็น ปล๋า, จาก ปี,ปลี เป็น ปี๋, จาก ปืน เป็น ปื๋น

ปล. นอกจากพยัญชนะต้นต้องเป็นอักษรกลางแล้ว ตัวสะกดยังต้องเป็นตัวสะกดเสียงยาว หรือก็คือ ต้องเป็นคำเป็น เท่านั้น!!! ห้ามเป็นคำตายเด็ดขาด!!!

คำเป็น

คำตาย

2. การเปลี่ยนตัวอักษร

ในภาษาทุก ๆ ภาษามักมีรูปแบบตายอยู่อย่างน้อย 1 รูปแบบเสมอ ภาษาเหนือเองก็เช่นกัน ในภาษาเหนือจะมีรูปแบบการเปลี่ยนตัวอักษรที่ค่อนข้างตายตัวอยู่คือ

จาก ช.ช้าง เป็น จ.จาน เช่น ช้าง เป็น จ๊าง, เชื่อ เป็น เจื้อ, เชียงใหม่ เป็น เจียงใหม่, ช้า เป็น จ๊า เป็นต้น

จาก ท.ทหาร เป็น ต.เต่า เช่น ทหาร เป็น ตะหาร, ที่ไหน เป็น ตี้ไหน, ทาง เป็น ตาง เป็นต้น

Advertisement

Advertisement

จาก พ.พาน เป็น ป.ปลา เช่น พี่ เป็น ปี้, พ้น เป็น ป๊น, พื้น เป็น ปื๊น เป็นต้น

จาก ร.เรือ เป็น ฮ.นกฮูก เช่น เรียน เป็น เฮียน, รู้ เป็น ฮู้, รัก เป็น ฮัก, ร้อง เป็น ฮ้อง เป็นต้น

วิธีเปลี่ยนอักษร

ขอบคุณรูปภาพจาก https://pixabay.com/th

อ๊ะ อ๊ะ แต่สำหรับบางคำจะมีศัพท์เฉพาะของท้องถิ่นนั้น ๆ อย่าเผลอเอาไปใช้เรื่อยเปื่อยล่ะ เดี๋ยวจะโป๊ะแตก พูดปะแลด แล้วคนฟังเจ็บแอวเอานะจ๊ะ อิอิ (พูดปะแลด = พูดไม่ชัดหรือออกเสียงแปลกๆ , เจ็บแอว = เจ็บเอว คืออาการฟังคนที่พูดแบบสำเนียงแปลก ๆ แล้วต้องเอนตัวเหมือนเจ็บเอวด้วยอารมณ์แบบ มันพูดอะไรของมัน)

3.เปลี่ยน มะ และ ไม่ เป็นคำว่า บะ

คำว่า มะ หรือ ไม่ นั้น บางคนแทบจะใช้เป็นคำ ๆ เดียวกันเลยด้วย โดยเฉพาะสาว ๆ ที่ต้องการเพิ่มความน่ารักให้กับตัวเองเวลาพูดกับแฟน เช่น มะอาววว (ไม่เอา), มะปายยย (ไม่ไป), มะหิววว (ไม่หิว) ภาษาเหนือก็เช่นเดียวกัน เมื่อเปลี่ยน มะ เป็น บะ ก็สามารถให้ความหมายเป็นคำว่า ไม่ ได้เช่นกัน

Advertisement

Advertisement

ชุดคำอีกชุดหนึ่งที่มักประกอบด้วยคำว่า มะ คือ เหล่าผลไม้ที่มีลักษณะนามเป็น ลูก ภาษาเหนือเองก็จะเปลี่ยนคำว่า มะ เหล่านั้นเป็นคำว่า บะ เช่นกัน เช่น บะนาว (มะนาว), บะกอก (มะกอก)

4. คำพยัญชนะ ย.ยักษ์ ให้ออกเสียงขึ้นจมูก เป็น ยง

หนึ่งคำที่มักเป็นปัญหาในการออกเสียงของนักท่องเที่ยวคือคำที่มีพยัญชนะต้น ย.ยักษ์ เพราะในภาษาเหนือนั้น เสียง ย.ยักษ์ จะมีการขึ้นจมูกเล็กน้อย หากเทียบเสียงกับภาษาไทยกลางแล้ว จะกลายเป็นเสียงควบกล้ำ ยง นั่นเอง เช่น ยักษ์ เป็น ยงักษ์, ยาก เป็น ยงาก เป็นต้น

ความแตกต่รางการออกเสียงย.ยักษ์

ขอบคุณรูปภาพจากhttps://pixabay.com/th

5. ไม่มีคำควบกล้ำ ร.เรือ

คำเมืองหรือภาษาเหนือ เป็นภาษาที่ได้รับอิทธิพลจากชาวไตลื้อ ชาวลาว และชาวพม่า ที่แต่เดิมไม่มีการออกเสียงตัว ร.เรือ ทำให้เวลาพูดคำที่มี ร.เรือ คนเหนือจะออกเสียง เป็น ล.ลิง แทน หรือ ไม่กระดกลิ้นเลย นั่นเอง

ปล. แต่เวลาอยากประชด ให้พูด ร.เรือ เร็ว ๆ แรง ๆ ใส่ไปเลยนะจ๊ะ แต่อย่าทำบ่อยเด็ดขาดนะ เราเป็นห่วง

และนี่คือเคล็ด (ไม่) ลับ ในการพูดแบบชาวเหนืออย่างง่าย ๆ ที่เรานำมาฝากในครั้งนี้ หวังว่าจะมีประโยชน์กับทุกคนที่มีใจอยากจะลองหัดพูดภาษาเหนือ ทั้งเพื่อเพิ่มอรรทรสในการท่องเที่ยวภาคเหนือ หรือเพื่ออะไรก็ตาม หวังว่าทุกคนจะสนุกกับบทความนี้นะคะ <3<3<3

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์