ไลฟ์แฮ็ก

5 เคล็ดลับที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องรู้

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
5 เคล็ดลับที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องรู้

การมีลูกนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่การที่จะเลี้ยงลูกให้เติบโตได้อย่างมีคุณภาพนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะคะ ยิ่งเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่แล้วด้วยคงมีหัวหมุนกันแน่ถ้าหากว่าวันไหนลูกน้อยไม่สบายขึ้นมา คงวุ่นวายไม่ต้องสืบกันเลยค่ะ วันนี้หยดจะมานำเสนอ 5 เคล็ดลับที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องรู้ เป็นเหมือนบทเรียนเริ่มต้นของการเลี้ยงลูกค่ะ เพราะเด็กมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าผู้ใหญ่ พ่อแม่อย่างเรา ๆ จึงควรมาศึกษาและเตรียมพร้อมเผื่อไว้ก่อนดีกว่านะคะ

เด็กป่วยข้อที่ 1  เมื่อลูกมีไข้ ตัวร้อน
สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกเลยคือการวัดไข้ค่ะ ปกติอุณหภูมิร่างกายของเราจะอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส แต่ถ้าเช็คแล้ว อุณหภูมิเกิน 37 องศาเซลเซียสถือว่ามีไข้ค่ะ

ระดับของไข้แบ่งออกเป็น 3 ระดับดังนี้

ไข้ต่ำ อุณหภูมิร่างกายอยู่ระหว่าง 37.5 ํc - 38.9 ํc ระดับนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถเช็ดตัวลดไข้และคอยสังเกตอาการลูกน้อยที่บ้านได้โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาลค่ะ แต่ถ้าไม่สบายใจหรือลูกมีอาการที่น่ากังวล เช่น เช็ดตัวแล้วไข้ไม่ลด กินอาหารไม่ได้ นอนไม่ได้ หรืออาเจียนควรรีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

Advertisement

Advertisement

ไข้ปานกลาง อุณหภูมิร่างกายอยู่ระหว่าง 38.9 ํc - 39.5 ํc ระดับนี้อยู่ในอาการที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง ควรเช็ดตัวลดไข้และรีบพาไปพบแพทย์

ไข้สูง อุณหภูมิร่างกายอยู่ระหว่าง 39.5 ํc - 40.0 ํc ระดับนี้ไม่ควรนิ่งนอนใจ ต้องรีบไปพบแพทย์เป็นการด่วน


*การเช็ดตัวลดไข้ ต้องเช็ดย้อนขนวนเข้าหาหัวใจค่ะ
**น้ำที่ใช้เช็ดควรเป็นน้ำอุณหภูมิห้อง
***หากไข้สูงให้เช็ดตัวด้วยผ้าที่ชุ่มน้ำ ไม่ต้องบิดผ้าให้หมาด เอาให้ตัวมีน้ำโชกเลยค่ะ หลังจากเช็ดตัวแล้วให้ใช้ผ้าชุบน้ำโบกบริเวณหน้าผาก ขาหนีบ และข้อพับต่าง ๆ ไข้จะลดไวขึ้นค่ะ

ภาพโดย  PublicDomainPictures จาก Pixabay.com

https://bit.ly/2SQ6Bjw

ทารกนอนหลับข้อที่ 2 เมื่อลูกเป็นหวัด น้ำมูกไหล
อาการของโรคหวัดธรรมดามักจะหายได้เองภายใน 7 - 10 วันค่ะ ถ้าไม่มีอาการอื่น ๆ แทรกซ้อนให้คุณพ่อคุณแม่ใช้ลูกยางดูดน้ำมูก หรือล้างจมูกลูกด้วยน้ำเกลือเองได้ แต่ต้องศึกษาวิธีการที่ถูกต้องและปฏิตามอย่างเคร่งครัดนะคะ
หากลูกมีอาการอื่นแทรกซ้อน เช่น ไอ หายใจครืดคราด กินอาหารไม่ได้ นอนไม่ได้ อาเจียน มีไข้สูง ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียดค่ะ
เมื่อลูกอายุต่ำกว่า 2 ขวบเป็นหวัด ห้ามทาวิกให้เด็ดขาด ให้ใช้หัวหอม 4 - 5 หัวทุบพอแตกห่อด้วยผ้าอ้อมหรือผ้าขาวบางแล้วนำไปวางไว้บนหัวนอนลูก พอให้ลูกได้สูดกลิ่นเบา ๆ ค่ะ อาการหวัด คัดจมูกจะค่อย ๆ หายไปเองค่ะ

Advertisement

Advertisement

ภาพโดย ddimitrova จาก  Pixabay.com

https://bit.ly/2QI1EXs

เด็กร้องไห้ข้อที่ 3 เมื่อลูกร้องไห้ไม่หยุด
การเลี้ยงเด็กไม่ใช่เรื่องง่ายเลยจริง ๆ ค่ะ อาการร้องไห้ไม่มีเด็กคนไหนไม่เคยร้องหรอกค่ะ คุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็น ๆ ตั้งสติดี ๆ ถ้าเด็กงอแงร้องไห้โดยไม่ทราบสาเหตุให้สันนิษฐานไว้ก่อนดังนี้ ปวดท้อง ท้องอืด แมลงสัตว์กัดต่อยหรือว่าหิว แล้วลองมาเช็กดูว่าเกิดจากอะไร
- ลองให้กินนมดูว่าหยุดไหม
- ลองตบท้องเบา ๆ ดูว่าท้องอืดไหม ถ้าท้องอืดเสียงจะดังกลวง ๆ เหมือนมีลมในท้อง
- เช็กผ้าอ้อมดูว่าผ้าอ้อมแฉะไหม อึหรือเปล่า
- ลองกล่อมนอน
- เช็กตัวลูกทั้งนอกและในร่มผ้าว่ามีรอยอะไรกัดไหม
- เช็กไข้ มีไข้ไหม
ถ้าลองทำตามข้างต้นทุกข้อแล้วแต่ยังไม่หยุดร้อง ให้ลองสังเกตว่าร้องเวลาเดิมทุกวันไหม ถ้าใช่ก็อาจจะเป็นอาการโคลิก แต่ถ้าไม่ใช่ ให้ไปพบแพทย์ตรวจอาการให้ละเอียดเพื่อหาสาเหตุและวิธีรักษาต่อไป

Advertisement

Advertisement

ภาพโดย Ben_Kerckx จาก Pixabay.com

https://bit.ly/2ul0w4D

เด็กนอนข้อที่ 4 อาการหายใจครืดคราด กรนเสียงดัง
อันดับแรกให้ลองปรับท่านอนให้ลูกก่อนค่ะ
- จับนอนตะแคงและสังเกตว่าอาการหายหรือไม่ ถ้าหายก็ไม่มีอะไรน่ากังวล
- ใช้หมอนหรือผ้าหนุนหัวให้หัวสูงกว่าหน้าอกเล็กน้อยและสังเกตอาการว่าหายหรือไม่ ถ้าหายก็ไม่มีอะไรน่ากังวล
- สังเกตกลางหน้าอกลูกว่าหายใจแล้วบุ๋มลงหรือไม่ ถ้าไม่บุ๋มก็ไม่น่ากังวล แต่ถ้าบุ๋มลงควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการอย่างละเอียด

ภาพโดย amyelizabethquinn จาก Pixabay.com

https://bit.ly/35jAH1y

อุจจาระข้อที่ 5 อุจจาระ
เรื่องอุจจาระเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องคอยสังเกตดูทุกครั้งที่ลูกอึเลยนะคะ เพราะอึบ่งบอกอาการของลูกน้อยได้หลายอย่างเลยค่ะ


ลักษณะของอึแบ่งออกได้ดังนี้ค่ะ
- อึขี้เทา
อึจะมีลักษณะเหนียว ๆ สีเขียวเข้มเกือบดำ เป็นปกติของเด็กแรกเกิดที่จะอึเป็นสีนี้ ทารกจะอึขี้เทาแบบนี้ตั้งแต่แรกเกิด -  1 สัปดาห์ 1 - 4 ครั้ง/วันค่ะ


- อึสีเหลืองส้ม
เป็นลักษณะของอึที่มีการขับสารเหลืองออกมา ร่างกายของทารกจะมีสารเหลืองอยู่ หากได้รับน้ำนมที่เพียงพอในแต่ละวันก็จะขับสารเหลืองออกทางอุจจาระทำให้อุจจาระมีสีเหลืองส้มนั่นเองค่ะ


- อึมีกลิ่นเหม็น
อาจเกิดจากสาเหตุของอาการเจ็บป่วย ถ้าอึลูกเหลวพร้อมกับมีกลิ่นเหม็นคาวมาก ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการอย่างละเอียด แต่ถ้ามีกลิ่นปกติหรือกลิ่นคล้ายกับอาหารที่กินเข้าไปก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรค่ะ


- อึสีขาวซีด
ถ้าลูกน้อยอึออกมาสีแบบนี้ให้คุณพ่อคุณแม่รีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์โดยด่วนเพราะอาจเกิดจากภาวะท่อน้ำดีอุดตันค่ะ


- อึมีมูกปนเลือด
อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ถ้ามีอาการนี้คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์โดยด่วนค่ะ

ภาพโดย Alexas_Fotos จาก  Pixabay.com

https://bit.ly/2SRWtqH

อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นอาการไหนหากคุณพ่อคุณแม่ไม่สบายใจสามารถไปปรึกษาแพทย์ได้ก็จะเป็นการดีที่สุดค่ะ เพราะลูกคือแก้วตาดวงใจของพ่อและแม่

การเลี้ยงลูกไม่ใช่เรื่องยาก หากว่าเราหมั่นศึกษาและเตรียมพร้อมอยู่เสมอ

ภาพปกโดย Free-Fhotos จาก Pixabay.com

https://bit.ly/2FlwNdX

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์