อื่นๆ

5 เคล็ดลับหยุด ดราม่า ในชีวิตคุณ

656
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
5 เคล็ดลับหยุด ดราม่า ในชีวิตคุณ

เชื่อว่าหลาย ๆ คน ต้องเคยได้ยินประโยคนี้กันมาแล้วอย่างแน่นอนว่า "อย่าดราม่าเยอะ" แล้วประโยคนี้นั้นจริง ๆ แล้ว มันเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ดีกันแน่เวลาที่คนกล่าวถึงเราในแง่มุมแบบนั้น วันนี้เราจะมาชำแหละคำ ๆ นี้กันว่า จริง ๆ มันคืออะไร แล้วเราจะทำอย่างไรเพื่อหยุดอาการดราม่ากันในชีวิต ด้วย 5 เคล็ดลับหยุดอาการดราม่าในชีวิตกันค่ะ

sadภาพถ่ายโดย NEOSiAM 2020 จาก Pexels

ดราม่าคืออะไรกัน

ดราม่าคือการแสดงความคิดเห็น หรือทัศนคติในเชิงลบซะส่วนใหญ่ต่อมุมมองต่าง ๆ รอบตัว  เช่น มุมมองความคิดเห็นต่อข่าวสารบ้านเมือง ข่าวบันเทิง(ที่เรามักจะเห็นชัดมาก ๆ) และมักจะมีการแสดงความคิดเห็นในมุมด้านลบต่อบุคคลที่อยู่ในข่าว จะทำให้เกิดการโต้แย้งแสดงความคิดต่างจากบุคคลอื่น ๆ จนเกิดผลกระทบต่าง ๆ นา ๆ กันไป  ซึ่งที่เราเน้นว่าเชิงลบนั้น เพราะส่วนใหญ่แล้วกระแสดราม่าในบ้านเรานั้นมักจะเกิดผลในเชิงลบต่อคนที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นมากกว่าเป็นเรื่องดี  ซึ่งข้อเสียของการเกิดดราม่านั้น นอกจากจะส่งผลกระทบต่อคนที่ถูกดราม่าหรือถูกวิจารณ์ในประเด็นต่าง ๆ แล้ว ยังส่งผลต่อสภาพจิตใจต่อคนที่สร้างการเกิดประเด็น "ดราม่า" ได้อีกด้วย

Advertisement

Advertisement

แล้วเราจะหยุดการสร้าง "ดราม่า" ในชีวิตเราได้อย่างไร

social mediaภาพถ่ายโดย Andrea Piacquadio จาก Pexels

1. เสพข่าวที่ทำให้จิตใจหดหู่ให้น้อยลง

ทุกครั้งที่เราได้ยินประโยคที่ว่า "คนไทยชอบดราม่า" เรารู้สึกไม่ค่อยดีกับคำนี้เลยจริง ๆ เพราะมันทำให้เรารู้สึกว่า การดราม่าเท่านั้นหรือที่เป็นการสร้างความรู้สึกดีหรือบันเทิงใจในชีวิต หากแต่คุณลองนึกดูว่าในชีวิตมีแต่เรื่องราวในเชิงลบและดราม่าอยู่ตลอดเวลา สภาพจิตใจของเราคงมีแต่ความตึงเครียด ดังนั้นการลดการเสพข่าวที่ทำให้คุณรู้สึกว่าสร้างความดราม่าในชีวิต และไปโฟกัสในเรื่องราวสำคัญและเป็นเชิงบวกในชีวิตของคุณอย่างเช่น การทำงาน การพัฒนาตนเอง การออกกำลังกาย หรือการถ่ายรูปในร้านกาแฟสวย ๆ จะช่วยลดการเกิดดราม่าในชีวิตของเราได้ค่ะ

taalkingภาพถ่ายโดย Christina Morillo จาก Pexels

Advertisement

Advertisement

2. หยุดการนินทา

การนินทานี้แหละคือการนำคุณเข้าไปสู่โลกของดราม่าแบบเต็มรูปแบบ แต่ปฎิเสธไม่ได้เลยจริง ๆ ว่าการนินทานั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับทุกคนในชีวิตประจำวันได้เสมอ เพราะเมื่อก่อนเราก็เคยเป็นแบบนั้นเช่นกัน แต่เมื่อโตขึ้น หน้าที่การงานที่มากมายขึ้น ทำให้เรากลับพบว่า เมื่อเราไม่นินทาใคร หากรู้สึกไม่พอใจให้พยายามหาวิธีสื่อสารกับคน ๆ นั้นออกไปตรง ๆ ความสัมพันธ์นอกจากจะดีขึ้นแล้ว ยังทำให้สมองของเราไม่เก็บมาคิดเรื่องนินทาที่จะเรียกว่าเป็น " ขยะสมอง"อีกด้วย

3. หัดพูด Say No ให้เป็น

การพูดปฎิเสธไม่ร่วมวงสนทนาที่อาจก่อให้เกิดการดราม่านั้น จะช่วยให้คุณไม่รับความรู้สึกหรือความคิดเห็นที่เป็นเชิงลบได้ดี ถึงแม้ว่าคุณจะบอกว่าสามารถรับมือกับเรื่องนี้ได้ แต่เชื่อเถอะว่าหากคุณรับแต่เรื่องราวเหล่านี้ทุก ๆ วัน มันจะทำให้คุณรู้สึกเครียดได้โดยไม่รู้ตัวเลย เพราะเราเองก็เคยเป็น ข้อแนะนำคือ หากคุณไม่อยากทำร้ายจิตใจด้วยการพูดคำว่า ไม่ ให้ใช้วิธีเงียบ ไม่แสดงความคิดเห็น เมื่อเขาเหล่านั้นไม่เห็นคุณมีท่าทีที่เห็นด้วย เขาจะค่อย ๆ จบบทสนทนาไปเอง

Advertisement

Advertisement

friends

ภาพถ่ายโดย Elle Hughes จาก Pexels

4. เลือกคบเพื่อนไม่ดราม่า

เพื่อสายนินทาช่วยทำให้ชีวิตของคุณนั้นมีความตื่นเต้นอยู่ตลอดเวลา เพราะคุณจะได้รับรู้ข่าวสารจากคนต่าง ๆ รอบตัวที่เพื่อนของคุณจะเอามาเล่าสู่กันฟังเสมอ แต่หากเรื่องที่เพื่อนของคุณมาเล่านั้นทำให้คุณมีความรู้สึกไม่สบายใจ คุณจะทำอย่างไรกับอารมณ์ความรู้สึกนั้น เราไม่ได้บอกให้คุณเลิกคบเพื่อนเหล่านั้นนะคะ เพียงแต่เมื่อต้องเจอสถานการณ์เหล่านั้น ให้คุณหาวิธีหลีกเลี่ยงจากสถานการณ์ อาจจะโดยการเงียบ ไม่แสดงความคิดเห็น หรือเปลี่ยนเรื่องคุยก็ได้ เชื่อเถอะว่าการนินทา หรือดราม่าล้วนแต่ไม่ใช่สิ่งที่ดีทั้งต่อคนพูดเองและคนที่ถูกวิจารณ์ เพราะมันสื่อถึงการเป็นคนที่ชอบวิจารณ์คนอื่นในด้านลบและมีมุมมองความคิดเห็นที่เป็นลบในเรื่องอื่น ๆ ได้ด้วย

focusภาพถ่ายโดย Min An จาก Pexels

5. โฟกัสกับตัวคุณเอง

แทนที่จะโฟกัสกับเรื่องราวอื่น ๆ ที่อาจเกิดการดราม่าได้ เราขอแนะนำให้แบ่งเวลาเสพข่าวดราม่ามาซัก 5-10 นาที เดินออกกำลังกาย โทรหาคนที่คุณรัก หรือพอกหน้า ดูแลผิว หรือดูยูทูปพัฒนาตัวเอง แล้วคุณจะพบว่าเวลาที่คุณใช้ไปกับการเสพข่าวดราม่านั้น สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับตัวเองจนคุณต้องแปลกใจเลยทีเดียว

การรับข้อมูลข่าวสารจากโลกออนไลนนั้น เหมือนดาบสองคมที่ถ้าคุณใช้มันอย่างเหมาะสมคุณจะได้รับโอกาสอย่างมหาศาลจากสิ่ง ๆ นี้ แต่ตรงกันข้าม หากคุณรับข้อมูลโดยปราศจากการกลั่นกรองและยังเก็บเอาคิดในหัวไม่ยอมปล่อย โอกาสที่จะเกิดความเครียดและดราม่าย่อมเกิดขึ้นแน่นอน อยู่ที่คุณแล้วว่าจะเรียนรู้ที่จะจัดการกับเรื่องแบบนี้อย่างไร สวัสดีค่ะ

ภาพถ่ายโดย Pixabay จาก Pexels

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ข้างหลังภาพ
ข้างหลังภาพ
อ่านบทความอื่นจาก ข้างหลังภาพ

กินจนตัวแตก แดรกจนข้างบ้านอิจฉา

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์