ไลฟ์แฮ็ก

5 เทคนิค ทำโจทย์ปรนัยให้ถูกได้แบบเนียนๆ แม้ไม่รู้คำตอบ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
5 เทคนิค ทำโจทย์ปรนัยให้ถูกได้แบบเนียนๆ แม้ไม่รู้คำตอบ

เราอาจจะเจอวิธีการเดาข้อสอบปรนัยมามากมาย ที่ต้องบอกเลยว่า เดาคำตอบเพราะไม่รู้จริงๆ แต่เพื่อนๆทราบหรือไม่ว่า จริงๆแล้ว คำตอบที่ถูกต้องในข้อสอบปรนัย บางครั้งพวกเขาก็แอบกระพริบตา ส่งเบาะแส บอกคำตอบให้เพื่อนๆรู้อยู่ก็ได้นะ แค่เพียงว่า เพื่อนๆจะสังเกตเห็น หรือระแคะระคายหรือไม่ แต่ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนว่า วิธีการที่จะแบ่งปันให้เพื่อนๆทราบนี้ ใช่ว่าจะถูกต้อง 100% เสมอไป เพียงแต่มันก็มีโอกาสถูกอยู่ค่ะ เรามาลองดูวิธีเหล่านี้กันดีกว่าค่ะ


เทคนิคที่ 1 ตัวเลือกที่มีความคล้ายคลึงกัน

หากโจทย์ข้อนั้นเพื่อนๆไม่ทราบคำตอบเลย และไม่รู้จะเลือกตอบ(เดา)ข้อไหนดี ให้ลองมองหาตัวเลือกที่มีความคล้ายคลึงกันและโดดเด่นจากตัวเลือกอื่นๆ เช่น โจทย์คือ ข้อใดคือขนาดพื้นที่ที่ถูกต้องของโรงเรียน ABCDEF?

ก. 28 ไร่ หรือ 10 เอเคอร์

Advertisement

Advertisement

ข. 28 ไร่ หรือ 11 เอเคอร์

ค. 12 ไร่ หรือ 8 เอเคอร์

ง. 17 ไร่ หรือ 21 เอเคอร์

จ. 500 ไร่ หรือ 200 เอเคอร์

จากโจทย์ข้อนี้ ตัวเลือกที่มีความคล้ายคลึงกันและโดดเด่นจากตัวเลือกอื่นๆ คือ ข้อ ก และ ข้อ ข หากจำเป็นต้องเดา อาจจะพิจารณาเลือกระหว่าง 2 ข้อนี้ มากกว่าที่จะเดาเป็นข้ออื่นๆ ยกเว้นว่าเพื่อนๆค่อนข้างแน่ใจว่าสองข้อนี้น่าจะไม่ใช่อย่างแน่นอน

เทคนิคที่ 1

เทคนิคที่ 2 ตัวเลือกที่มีรูปแบบต่างจากตัวเลือกอื่น

หากเพื่อนๆลองสังเกตให้นี้ บางครั้งเพื่อนๆจะเจอตัวเลือกที่มี pattern หรือ "รูปแบบ" ลักษณะเดียวกันค่ะ แต่ถ้ามีอยู่ 1 ตัวเลือก (หรือ 2) ที่มีรูปแบบต่างจากตัวเลือกอื่นๆ ก็อาจจะพุ่งเป้าไปที่ตัวเลือกนั้นได้เลยค่ะ เช่น โจทย์คือ ข้อใดคือชื่อที่ไม่ถูกต้องของห้องพักที่เรามี?

ก. Standard Garden View Room

ข. Standard Garden Room

Advertisement

Advertisement

ค. Superior Ocean Suite

ง. Super Pool Villa

จะเห็นได้ว่า "รูปแบบ" ชื่อของห้องพักในตัวเลือกส่วนใหญ่ เป็นการบรรยายลักษณะของห้อง (Standard/Superior/Super) ต่อด้วยชื่อวิวของห้องพัก (Garden/Ocean/Pool) และต่อด้วยลักษณะนามของห้องพัก (Room/Suite/Villa) มีเพียงตัวเลือกเดียว คือ ข้อ ก ที่มีคำว่า View อยู่ในชื่อด้วย ทำให้ชื่อห้องกลายเป็น 4 คำ แทนที่จะเป็น 3 คำเหมือนข้ออื่นๆ ดังนั้น ข้อ ก จึงมีแนวโน้มที่จะเป็นคำตอบของโจทย์ข้อนี้ค่ะ เพราะฉะนั้น เมื่อต้องเดาคำตอบ เพื่อนๆอาจจะเลือกตอบข้อ ก มากกว่าจะตอบ 3 ข้อที่เหลือซึ่งมีรูปแบบของคำตอบที่เหมือนกันค่ะ

เทคนิคที่ 2

เทคนิคที่ 3 ความสมเหตุสมผล หรือ ตรรกะของคำตอบ

การใช้หลักคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล การสามารถช่วยในการเดาข้อสอบด้วยเช่นกัน่ค่ะ เช่น คำถาม คือ SME หมายถึงข้อใด? หากอ่านแค่โจทย์เพื่อนๆอาจจะไม่ทราบเลยว่า SME คืออะไร หรือ ย่อมาจากอะไร แต่เมื่ออ่านตัวเลือกของคำตอบในโจทย์ เพื่อนๆอาจจะเจอเบาะแสของคำตอบอยู่ในนั้นค่ะ

Advertisement

Advertisement

ก. วิสาหกิจขนาดใหญ่และขนาดย่อม

ข. วิสาหกิจขนาดอุตสาหกรรมและขนาดกลาง

ค. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ง. วิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดย่อม

จะเห็นได้ว่า ทุกๆตัวเลือกกล่าวถึง "ขนาดของวิสาหกิจ" ทั้งสิ้น ดังนั้น มีคำที่เพื่อนๆพอจะนึกถึง "ขนาด" เช่น ใหญ่ กลาง เล็ก อยู่ใช่มั้ยละคะ และคำเหล่านี้เมื่อเป็นภาษาอังกฤษ เรามักจะนึกถึง Big/Large = ใหญ่, Medium = กลาง/ปานกลาง, Small/Little = เล็ก/ย่อม จะเห็นได้ว่า โอกาสที่คำเหล่านี้จะไปสอดคล้องกับ SME มีแค่คำว่า Small และ Medium เท่านั้นค่ะ ส่วน E น่าจะเดาได้ว่ามาจากคำว่า วิสาหกิจ (Enterprise) อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น คำตอบจึงเป็น ข้อ ค วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพราะตรรกะคือ ข้อนี้เป็นเพียงตัวเลือกเดียวที่เดาได้ว่ามีทั้ง S (เล็ก/ย่อม) และ M (กลาง/ปานกลาง) ค่ะ และถึงแม้จะไม่ทราบว่า E คืออะไร ก็ยังสามารถเดาคำตอบข้อนี้ได้ถูกอยู่ค่ะ

เทคนิคที่ 3

เทคนิคที่ 4 โจทย์ที่กล่าวถึงสิ่งเดิมซ้ำๆกันหลายข้อ

บางครั้งหากสังเกตให้ดี อาจจะมีกลุ่มของโจทย์ที่วนเวียนกล่าวถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งซ้ำกันสองข้อหรือมากกว่า หากเพื่อนๆเจอโจทย์ลักษณะแบบนี้ ทิศทางของคำตอบของกลุ่มโจทย์เหล่านี้ก็ควรเป็นไปในทิศทางเดียวกันค่ะ

ยกตัวอย่างเช่น มีบทความภาษาอังกฤษให้เพื่อนๆอ่านเพื่อตอบคำถาม แต่เพื่อนๆอาจจะไม่เข้าใจเนื้อหาของบทความนั้นมากนัก และรู้สึกไม่แน่ใจในหลายๆจุด อาจจะเพราะชุดคำศัพท์ที่ไม่เคยเจอมาก่อน หรือไม่ทราบว่าศัพท์เหล่านั้นสื่อถึงอะไร แต่โจทย์ในคำถามกล่าวถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมในข้อแรก ข้อถัดไปถามเกี่ยวกับวันสิ่งแวดล้อมโลก ข้อต่อไปกล่าวถึงการประหยัดพลังงาน ดังนั้น คำตอบใน 3 ข้อนี้ ควรเป็นไปในทิศทางที่เกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมค่ะ เพราะฉะนั้นเมื่อต้องเดาคำตอบ ตัวเลือกใดๆที่ไม่ใช่ทิศทางเรื่องสิ่งแวดล้อม ก็ควรถูกตัดออกไปค่ะ

นอกจากนี้ เพื่อนๆอาจจะเจอคำตอบของข้อก่อนหน้าในโจทย์ข้อถัดไปได้ด้วย เนื่องจากเป็นชุดคำถามที่สัมพันธ์กัน ดังนั้น อ่านโจทย์อย่างรอบคอบมีสติ บางครั้งคำตอบก็อยู่ตรงหน้าแบบง่ายๆเลยค่ะ

เทคนิคที่ 4

เทคนิคที่ 5 หาคำตอบเมื่อจำอย่างหนึ่งได้ แต่จำอีกอย่างไม่ได้

บ่อยครั้งที่โจทย์มักจะไม่ตรงกับเรื่องที่เพื่อนๆทราบ เพื่อนๆอาจจะทราบ/เข้าใจเรื่องหนึ่ง แต่คำถามดันเป็นอีกเรื่องหนึ่งซะงั้น แต่ถ้าเรื่องที่เพื่อนๆทราบนั้นสัมพันธ์กับโจทย์ในบางด้าน สิ่งนี้อาจจะช่วยเพื่อนๆหาคำตอบที่ถูกต้องได้ หรือพอจะเดาคำตอบได้เช่นกันค่ะ ยกตัวอย่างเช่น โจทย์คือ เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นหลังสุดในบันทึกประวัติศาสตร์ จากตัวเลือกข้างล่างนี้?

ก. พระเจ้าเสือขึ้นครองราชย์

ข. สมเด็จพระนารายณ์สิ้นพระชนม์

ค. พ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์อักษรไทย

ง. สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง

เพื่อนๆอาจจะทราบแค่ว่า ข้อ ก และ ข้อ ข เป็นเหตุการณ์ในช่วงเวลาที่ห่างกันไม่นานมากนัก และทราบว่าสมเด็จพระนารายณ์ขึ้นครองราชย์ก่อนพระเจ้าเสืออย่างแน่นอน แต่ไม่ทราบว่า พ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์อักษรไทยเมื่อใด อย่างไรก็ดี เป็นไปได้ว่าการประดิษฐ์อักษรต้องเป็นยุคที่สุโขทัยรุ่งเรือง ซึ่งแน่นอนว่ามาก่อนสมัยอยุธยารุ่งเรือง และสมเด็จพระนเรศวรครองราชย์ก่อนสมเด็จพระนารายณ์ อาณาจักรอยุธยาจึงสงบร่มเย็นมายาวนานนับร้อยปี ดังนั้น การเรียงคำตอบจากแรกสุดถึงหลังสุดควรเป็น ค-ง-ข-ก โจทย์ข้อนี้จึงควรตอบข้อ ก ค่ะ

เทคนิคที่ 5

เทคนิคที่นำมาแบ่งปันทั้งหมดนี้ ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะสนับสนุนให้เพื่อนๆละทิ้งการทบทวนอ่านหนังสือหรือตำราเรียนแต่อย่างใดนะคะ แต่เพื่อนๆก็ทราบกันดีว่า ทุกๆครั้งที่ทำข้อสอบ ก็มีบ้างที่เพื่อนๆอาจจะไม่ทราบคำตอบจริงๆ จำคำตอบไม่ได้ หรือไม่แน่ใจในบางคำตอบ ดังนั้น ดีกว่าปล่อยคะแนนทิ้งให้สูญเปล่าและเดาข้อสอบแบบไร้ทิศทาง เพื่อนๆสามารถนำเทคนิคเหล่านี้มาใช้ในการทำข้อสอบได้ค่ะ ขอให้เพื่อนๆโชคดีในการสอบครั้งถัดไปนะคะ

ภาพปกและภาพประกอบทั้งหมดใช้โปรแกรม Power Point ตกแต่งโดยผู้เขียน

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน  App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
Tarisa
Tarisa
อ่านบทความอื่นจาก Tarisa

อยากให้ทุกคนมีรอยยิ้มและสุขภาพดี

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์