ไลฟ์แฮ็ก

8 วิธี อยู่กับเพื่อนร่วมห้องอย่างราบรื่น

10.7k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
8 วิธี อยู่กับเพื่อนร่วมห้องอย่างราบรื่น

การแชร์ห้องกันอยู่ ถือว่าเราต่างแชร์ตัวตนของกันแล้วนะ

เชื่อว่าหลายคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้คงกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาเรื่องการอยู่หอ หรือกำลังจะมีรูมเมทกันใช่มั้ยคะ ไม่ว่าจะอยู่กันกี่คน จะเป็นใคร มาจากไหน จะมีความคุ้นเคยกันมาก่อนหรือไม่ก็ตาม ปลายทางของเราก็คือการอยู่ร่วมกันในห้อง โดยเฉพาะนิสิต นักศึกษาที่พึ่งเข้ามหาวิทยาลัย บางคนอยู่หอใน และแน่นอนว่าส่วนใหญ่หอในของมหาวิทยาลัยต่างๆเป็นระบบ"สุ่ม" นั่นคือ เราไม่สามารถเลือกรูมเมทได้นั่นเอง แล้วเราจะอยู่ร่วมกันได้ยังไงล่ะ ในเมื่อไม่รู้จักกันมาก่อน บทความนี้เกิดขึ้นมาจากประสบการณ์ตรงของเราเอง ต้องขอเกริ่นก่อนว่าความสัมพันธ์ของเรากับรูมเมทไม่ได้ดีเท่าไหร่ แต่ก็ไม่แย่เช่นกัน แต่เราเชื่อว่าถ้าหากเรา รูมเมทของเราและทุกคนได้อ่านบทความนี้ ทำความเข้าใจและปฏิบัติตาม เราเชื่อว่าทุกคนจะอยู่ร่วมกับรูมเมทได้อย่างมีความสุข

Advertisement

Advertisement

1. เข้าใจความแตกต่าง

เพราะเราต่างมีคนเดียว ทุกคนถูกสร้างให้ต่างกัน แม้แต่ลูกพ่อแม่เดียวกันที่โตมาด้วยกัน ยังมีนิสัยไม่เหมือนกันเลย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น นิสัยของเรามันก็ขึ้นอยู่กับตัวเรานั่นแหละไม่ว่าจะเติบโตมากับสภาพแวดล้อมแบบไหน ความต่างที่สำคัญมากๆในการอยู่ร่วมกันคือรสนิยม ต่อให้เราจะสนิทกันมากๆมาก่อนหรือไม่ก็ตาม เช่น เราไม่ชอบฉีดน้ำหอม แต่รูมเมทชอบ เราไม่ชอบกะปิ แต่รูมเมทชอบกินผลไม้กะปิในห้อง สิ่งแรกที่ต้องทำคือ การทำความเข้าใจและยอมรับข้อแตกต่างของแต่ละคน

2. ไม่สุดโต่งจนเกินไป

เราอยู่ด้วยกันตรงกลาง ในเมื่อเราเข้าใจความต่างที่เรามี มันเป็นไปได้ยากมาก ถ้าจะอยู่ร่วมกันโดยไม่ปรับอะไรเลย เราต่างฝ่ายต่างต้องผ่อนกันบ้าง หาจุดที่เราจะมาเจอกันตรงกลาง เช่นหากเราเป็นฝ่ายที่ชอบฉีดน้ำหอม แต่รูมเมทเราไม่ชอบ เราควรออกไปฉีดนอกระเบียง หรือเปิดประตูหน้าต่างให้ระบายอากาศ จะทำให้ไม่มีกลิ่นเลยมันคงเป็นไปได้ยากเช่นกัน สิ่งที่เราทำได้คือลดกันคนละหน่อย เราพยายามทำให้กลิ่นจางลง ส่วนรูมเมทอีกคนก็ได้กลิ่นในจุดที่พอทนได้ หากเราต่างหัวแข็งไม่ยอมอ่อนกันทั้งคู่ อาจเกิดปัญหาบานปลายในระยะยาวได้

Advertisement

Advertisement

3. รู้จักเกรงใจ

นึกถึงผลของการกระทำของตนเอง แน่นอนว่าความเกรงใจเป็นสามัญสำนึกพื้นฐานที่ทุกคนพึงมี และปฏิบัติ แม้แต่หลายคนที่เคยเป็นเพื่อนสนิทกันมาก่อน ดันเลิกคบกันเพราะเส้นบางๆที่เรียกว่าความเกรงใจนี่เอง ระลึกเสมอว่าเราไม่ได้อยู่คนเดียว ดังนั้นทำอะไรก็ควรเกรงใจกันบ้าง เช่นในขณะที่ทุกคนในห้องกำลังหลับ เราก็ควรหลีกเลี่ยงการทำอะไรเสียงดัง เปิด, ปิดประตูเบาๆ เดินเบาๆ เพื่อไม่เป็นการรบกวนคนอื่น และเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นด้วย

4. ทำความรู้จัก

รู้จักเขา รู้จักเรา จากประสบการณ์ของเรา เราเจอคนที่เข้าหาคนอื่นเก่ง ดังนั้นอะไรมันก็จะเร็วไปหมด บางทีอีกฝ่ายอาจตั้งตัวไม่ทัน หรือรู้สึกว่ามันยังไม่ถึงเวลาที่เราจะสนิทกันและปฏิบัติต่อกันถึงขั้นนี้ เพราะคนเราใช้เวลาต่างกันในการปรับตัว ที่เราแนะนำคือ ค่อยๆทำความรู้จักเรื่อยๆดีกว่า หากเกิดอะไรขึ้นมาจะได้ไม่เป็นเรื่องใหญ่ เพราะเรายังไม่ได้สนิทกันขนาดนั้น

Advertisement

Advertisement

5. ความเท่าเทียม

เราเท่าเทียมกันนะ! เนื่องจากการสุ่มรูมเมท ระบบอาจพัดพาให้เราเจอกับรุ่นพี่ รุ่นน้อง รุ่นเพื่อน หรือแม้แต่คนเคยสนิท อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรเอาปัจจัยภายนอก เช่น ไม่ควรอายุเป็นหลัก การเป็นรุ่นน้องไม่ได้แปลว่าต้องเป็นเบ๊ทำความสะอาดห้องอยู่ฝ่ายเดียว หรือการเป็นรุ่นพี่ ไม่ได้แปลว่าเรามีสิทธิสั่งรุ่นน้องยังไงก็ได้ ระยะเวลาในการอยู่หอเช่นกัน เช่นบางคนอยู่มานานกว่า ไม่ได้แปลว่าจะสั่งให้คนที่เข้ามาอยู่ทีหลังทำอะไรก็ได้  แม้แต่ความสนิทสนมกัน ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะสั่งให้อีกฝ่ายทำ โดยที่เราไม่ทำตามใจตัวเองได้ เพราะห้องนี้เราทุกคนจ่ายเงินเท่ากัน พึงระลึกไว้ว่า เราเป็นเจ้าของห้องกันทุกคนห้องเป็นของทุกคน

6. ความสะอาด

ความสะอาดก็สำคัญ ในเมื่อห้องนี้เป็นของทุกคน ดังนั้นทุกคนต้องช่วยกันทำความสะอาด เน้นย้ำว่าทุกคน เราไม่ควรเพิกเฉย หรือเอาเปรียบให้คนอื่นทำ ไม่ใช่ว่าปล่อยไว้แบบนั้นแหละ เดี๋ยวรูมเมทก็เป็นคนจัดการเอง โดยเฉพาะผู้หญิง เราเชื่อว่าผู้หญิงแทบทุกคนมีปัญหาเรื่อง "เส้นผม" ในห้องน้ำ ผมของทุกคน มันสะสมไปเรื่อยๆ ถ้าเราไม่เก็บไปทิ้งมันจะส่งกลิ่นเหม็น และท่อตัน ถึงจะน่าขยะแขยงบ้าง แต่ระลึกไว้ว่าผมส่วนนึงในท่อนี้ก็เป็นของเรา ดังนั้นเก็บไปทิ้ง

7. พูดคุยกัน

speak out เราควรพูดคุยกันตรงๆ หาจุดที่พอดี มันอาจจะยากหน่อยแต่ก็ดีกว่าเวลาที่รูมเมททำบางอย่างเเล้วเราไม่พอใจ เราไม่ควรโต้กลับด้วยอารมณ์ ทางที่ดีเราควรหาวิธีรับมือมันร่วมกันก่อนดีที่สุด ถึงลึกๆแล้วเราอาจจะไม่พอใจก็ตาม แต่เราก็ควรพูดดีๆด้วยเพื่อรักษาความสัมพันธ์ มันไม่ใช่การเสแสร้ง เพราะเราแสดงออกไปเพื่อให้ผลลัพธ์ ปลายทางมันออกมาดี แต่การเสแสร้ง คือการทำให้ทุกอย่างมันแย่ลงต่างหาก ไม่ใช่แค่สังคมในห้อง สังคมการทำงาน การเรียน ด้วยความจำเป็นที่ยังต้องทำงานร่วมกัน เราก็ควรเปิดอกคุยกันดีๆ น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก

8. ปล่อยวาง

throw away

สำหรับเรา การอยู่ร่วมกับรูมเมทมี3แบบ

1. อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

2. อยู่ร่วมกันได้ (ไม่ทุกข์และไม่สุข)

3. อยู่ร่วมกันแบบไม่มีความสุขเลย

ส่วนตัวเราเป็นแบบที่2 หากเกิดปัญหาเกินจะแก้เราแนะนำให้เลือกที่จะปล่อยผ่าน แต่ไม่ได้หมายความว่าให้เราเพิกเฉย ไม่ทำตามกฎ หรือเก็บกด เราผ่านจุดที่รับไม่ได้ เราบ่น เราเก็บทุกอย่างมาคิดจนมันสะสม เป็นช่วงที่ไม่มีความสุดที่สุด ถามว่าคนที่ทุกข์ใจคือใคร ก็คือเราเอง ก็บ่นบ้างแต่แนะนำให้บ่นกับคนสนิท หรือบ่นๆคนเดียวให้มันจบไป ต่อให้รูมเมทเราจะตอบโต้มาด้วยอารมณ์ขนาดไหน เพื่อเป็นการอยู่ร่วมห้องให้ได้ เราไม่ควรไปตอบโต้ด้วย ถึงจะโกรธแค่ไหนก็ตาม มันอาจมองหน้ากันไม่ติดได้ ถึงขั้นนั้นแล้วเราจะอยู่ร่วมกันแบบไม่มีความสุขเอา สภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยมันก็เป็นอีกปัจจัยที่หล่อหลอมให้เรามีแนวโน้มที่จะมีนิสัยยังไง เพื่อไม่ให้เรากลายเป็นคนที่เราเกลียด ดังนั้นเราจึงควรปล่อยผ่านและทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุดต่อไป

และนี่ก็เป็นคำแนะนำส่วนนึงที่เราเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของเรา และข้อมูลจากเพื่อนๆรอบตัวที่อยู่หอกับรูมเมท สิ่งสำคัญที่สุดคือการปรับตัว และการนำใจเขามาใส่ใจเรา สุดท้ายนี้หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับทุกคนที่เข้ามาอ่านนะคะ ขอให้อยู่ร่วมกับรูมเมทอย่างมีความสุขนะคะ💓

peace

; ภาพวาดและภาพประกอบโดยผู้เขียน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์