อื่นๆ
ANFO สารประกอบวัตถุระเบิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่
“สารประกอบวัตถุระเบิด”อาจฟังดูรุนแรงเพราะจากการที่ได้เห็นในสื่อต่าง ๆ ที่ถ่ายทอดออกมาสิ่งเหล่านี้จะนำมาใช้ในการสงครามทั้งสิ้น เราจะเห็นภาพความรุนแรงที่มาจากระเบิดได้คร่าชีวิตผู้คนนับหมื่น แต่ระเบิดนั้นไม่ได้มีไว้ใช้ในการทำสงครามเพียงอย่างเดียว มันยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในงานวิศวกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสารประกอบวัตถุที่จะกล่าวถึงคือ ANFO
ANFO คืออะไร
แอนโฟ (อังกฤษ: ANFO) เป็นคำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ (ย่อจาก ammonium nitrate/fuel oil) ถูกผลิตขึ้นในปี 1945 อันเป็นส่วนผสมระหว่างสารแอมโนเนียมไนเตรตและน้ำมันเชื้อเพลิง(มักจะเป็นน้ำมันดีเซล แต่บางครั้งอาจใช้น้ำมันก๊าด หรือโมลาสส์)ในอัตราส่วน 94 : 6 เป็นระเบิดที่นิยมใช้กันมากที่สุดในการทำเหมือง และการก่อสร้างต่าง ๆ
ข้อดีและข้อเสีย
ในด้านของข้อดี ANFO มีราคาถูกหาซื้อได้ง่าย ปลอดภัยควบคุมได้ง่าย มีความไวต่ำ และความเร็วการระเบิดสูง
Advertisement
Advertisement
ในด้านข้อเสีย มีความต้านทานน้ำต่ำ ใช้พลังงานมากเพื่อให้เกิดการระเบิด ความสมดุลของออกซิเจน และประสิทธิภาพอาจไม่ดีถ้าเส้นผ่านศูนย์กลางของหลุมระเบิดมีขนาดเล็ก
คุณสมบัติของANFO
- ความเร็วการระเบิด 2000 – 4000 m/s
- ความหนาแน่น 0.8 – 1.8 gm/cc
- พลังงานความร้อนจากการระเบิด 900 kcal/kg
- ปริมาตรของแก๊ส 970 l/cc
- ความไวต่อแรงกระแทก 3.0 – 3.5 kg/m
- มีความต้านทานน้ำต่ำ
การกระตุ้นวัตถุระเบิด (Priming)
การทำ Primer เพื่อกระตุ้น ANFO มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อผลของการระเบิด ระเบิดแรงสูงที่ใช้ในการกระตุ้นควรเป็นระเบิดที่ได้มาตรฐาน มีความเร็วการระเบิดไม่น้อยกว่า 5200 m/s แรงอัดในการระเบิดไม่น้อยกว่า 80 kbar จุดระเบิดได้ด้วยแก๊ปเบอร์ 6 ขนาดใกล้เคียงกับเส้นผ่านศูนย์หลุมระเบิด และมีน้ำหนัก 2-5% ของปริมาณวัตถุระเบิดทั้งหมด วัตถุระเบิดที่นิยมนำไปกระตุ้น ANFO คือ ไดนาไมต์ และวัตถุระเบิดแบบหนืด
Advertisement
Advertisement
ปัญหาที่พบบ่อยในการใช้ ANFO กับงานเหมืองแร่
- ปัญหาน้ำในหลุมระเบิด แก้ไขได้โดยทำเป็นบ่อน้ำที่จุดต่ำสุดของขุมเหมือง ซึ่งจะทำให้น้ำไหลตามรอยแตกของหินไปรวมอยู่ที่บ่อดังกล่าว แล้วจึงใช้เครื่องสูบน้ำสูบออก
- ปัญหาโครงสร้างของชั้นหิน แก้ไขโดยพยายามวางหน้าระเบิดให้เหมาะสมกับการวางตัวของชั้นหิน
ANFO อาจเป็นสารประกอบวัตถุระเบิดที่อันตรายและหาได้ง่าย แต่ถ้าใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านที่ดีจะเห็นได้ว่าสารประกอบวัตถุระเบิดชนิดนี้มีประโยชน์อย่างมากในงานวิศวกรรม
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://th.wikipedia.org/https://sites.google.com/site/differentserviceengineering/http://library.dmr.go.th
/ https://www.youtube.com
รูปภาพจาก https://pixabay.com/ https://pixabay.com/ https://unsplash.com / https://pixabay.com
Advertisement
Advertisement
ความคิดเห็น