ไลฟ์แฮ็ก

Quiet Quitting เมื่อ “ทำงานหนัก” ไม่ได้ผลลัพธ์โดนใจ…ทำไมต้องทำล่ะ?

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
Quiet Quitting เมื่อ “ทำงานหนัก” ไม่ได้ผลลัพธ์โดนใจ…ทำไมต้องทำล่ะ?

จากกระแสไวรัลในโลกออนไลน์ และผู้คนให้ความสนใจอย่างมากมาย โดยหลังจากที่ผู้ใช้ TikTok ชื่อ @zaidlepplin ซึ่งเป็นวิศวกรทำงานที่เมือง New York โพสต์คลิปวิดีโอในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา จนกลายเป็นกระแสโด่งดัง ตอนนี้มีคนดูถึง 3.5 ล้านครั้ง โดยเค้าบอกว่า "งานไม่ใช่ชีวิตทั้งหมดของคุณ"

Bryan Creely ซึ่งเป็นโค้ชให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาอาชีพ ใช้ชื่อ TikTok @alifeafterlayoff ได้เริ่มใช้คำว่า “Quiet Quitting” ในคลิปของเค้าที่โพสต์เมื่อเดือนมีนาคม โดยกล่าวว่า ตัวเค้าเริ่มเห็นแนวโน้มที่หลายคน

เกลียดงาน แต่ไม่อยากลาออก

และใช้วิธีทำงานแบบ "ขอขี้เกียจไปวันๆ" มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น

ต้องยอมรับว่า เหตุการณ์ระบาดของโควิด ทำให้วิถีชีวิตการทำงานของเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างฉับพลัน ผู้คนทำงานที่บ้านมากขึ้น และเป็นเวลานานขึ้น เมื่อเหตุการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย บริษัทส่วนใหญ่ก็คาดหวังให้พนักงานกลับมาทำงานที่ออฟฟิศเหมือนเดิม แต่กลายเป็นว่า พนักงานไม่อยากกลับมา จนกระทั้งเกิดเป็นกระแส “The Great Resignation” หรือ "การลาออกระลอกใหญ่" ที่สูงเป็นประวัติการณ์ เพราะพนักงานเห็นข้อดีหลายอย่างของการทำงานจากบ้าน และขอเลือกการทำงานที่บ้านเป็นหลัก หรือการทำงานแบบไม่มีชั่วโมงการทำงานตายตัว เพราะจะได้มีเวลาให้ตัวเองมากขึ้น และได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัว

Advertisement

Advertisement

ผู้ชายกับแล๊ปท๊อป

Burnout กับ Quiet Quitting ต่างกันยังไง

หลายคนคงพอเข้าใจว่า “Burnout” เป็น “สภาวะหมดไฟในการทำงาน” ขาดแรงบันดาลใจหรือแรงกระตุ้นในการทำงาน ซึ่งอาจเกิดจากการทำงานในหน้าที่เดิมๆซ้ำๆ หรือตำแหน่งความรับผิดชอบเดิมๆ เป็นระยะเวลานาน จนเกิดความรู้สึกว่า ไม่อยากมีความก้าวหน้า และไม่อยากพัฒนาด้านอาชีพอีกต่อไป

Quiet Quitting ถ้าแปลตรงตัว คือ “การลาออกอย่างเงียบๆ” แต่ในความหมายที่เกิดเป็นกระแสไวรัลในโลกออนไลน์นั้น ไม่ได้เป็นการลาออกจากงานประจำ ยังคงเป็นการทำงานตามปกติ โดยเป็น “การทำงานในหน้าที่ ตามที่ถูกว่าจ้างหรือได้รับมอบหมาย และเป็นการทำงานตามเวลางานที่กำหนดในแต่ละวันเท่านั้น”

ทั้ง 2 คำนี้ มีความหมายที่คล้ายคลึงกัน แต่ Quiet Quitting จะแตกต่างจาก Burnout(สภาวะหมดไฟในการทำงาน) โดยสิ้นเชิง โดย Quiet Quitting จะเน้นไปที่ “สภาวะทางด้านจิตใจของพนักงาน”ที่ไม่อยากทำงานหนักเกินไป และทำเฉพาะงานในหน้าที่ หรืองานในความรับผิดชอบ จนทำให้เกิดพฤติกรรม ที่อาจเรียกว่า “ไม่อยากลาออก...แต่ขอขี้เกียจไปวันๆ”

Advertisement

Advertisement

ทั้งนี้ยังรวมไปถึง การที่ไม่อยากโต้ตอบใดๆ ผ่านช่องทางการสื่อสารนอกเวลาทำงานอีกด้วย เช่น ไม่รับโทรศัพท์ ไม่อ่านอีเมลย์ หรือไม่ตอบข้อความในไลน์ หลังเวลาเลิกงาน เพราะหลายคนมองว่า หลังเวลาเลิกงาน ก็ควรได้ออกไปใช้ชีวิตอย่างอิสระ ทำในสิ่งที่ชอบ ไม่ใช่ต้องทำงานหนัก หรือมีชีวิตที่ผูกติดกับคำว่า “งาน งาน และงาน”

ผู้คนทำงานในออฟฟิศ

นายจ้างหรือเพื่อนร่วมงาน จะมองว่าเรา “ขี้เกียจ” รึเปล่า?

หากพูดถึง การทำงานที่ “ไม่เกินหน้าที่ หรือ ไม่เกินเวลาทำงานตามที่กำหนดไว้” ถือได้ว่า มันยุติธรรมดีกับทุกฝ่าย และการที่ไม่ “รับอาสา” ทำงานเพิ่มหรือรับทำงานที่ไม่ใช่หน้าที่เรา ก็คงไม่ใช่เรื่องผิดอะไร เพราะคงไม่ถูกมองว่า “ไม่มีน้ำใจต่อผู้อื่น” แต่อย่าลืมว่า “ประสิทธิภาพ” ในการทำงาน ก็ย่อมเป็นสิ่งที่นายจ้างหรือหัวหน้างาน ให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ

Advertisement

Advertisement

การที่บรรยากาศในออฟฟิศหรือสถานที่ทำงานที่ดี มีส่วนช่วยส่งเสริม ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ส่งเสริมการพัฒนาทักษะ และความก้าวหน้าในอาชีพของแต่ละคน ก็คงไม่มีใครปฎิเสธแน่นอน เพราะมีส่วนช่วยให้ทุกคนมี “ความสุขในการทำงาน” เพิ่มขึ้น แต่หลายคนก็คงมีคำถามในใจว่า “ออฟฟิศในฝัน” มันมีอยู่จริงหรือ

คนกำลังประชุม

การทำงานเปรียบเสมือนสังคมเล็กๆ ในสังคมขนาดใหญ่ ดังนั้น นายจ้างหรือหัวหน้างานมีส่วนสำคัญอย่างมากในกระบวนการสร้าง “ออฟฟิศในฝัน” นั่นคือ เปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงศักยภาพ แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ และมีการสื่อสารที่ดีมีประสิทธิภาพด้วย

ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (Human Resources) ก็เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ต้องคอยช่วยกำกับดูแล “สภาพจิตใจ” ของทุกฝ่าย และควรหามาตรการที่จะป้องกันสภาวะหมดไฟหรือสภาวะอยากขี้เกียจไปวันๆของพนักงานให้ได้ การจัดกิจกรรมนอกสถานที่ ให้ทุกคนในองค์กรมีโอกาสทำความรู้จัก พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิด และทำกิจกรรมร่วมกัน ก็เป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพในเติม “ไฟในการทำงาน” และการลด “ความเครียดจากการทำงาน” ได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลควรให้ความสำคัญกับการสำรวจความเห็นจากพนักงานเกี่ยวกับ "แรงจูงใจในการทำงาน" และให้ความสำคัญกับการสัมภาษณ์ก่อนพนักงานลาออก อาจจะมองดูไม่สำคัญ แต่เชื่อว่า องค์กรจะได้เรียนรู้ถึงความต้องการ และแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน และเข้าใจว่า อะไรคือเหตุผลที่แท้จริง ที่ทำให้พนักงาน "ตัดสินใจลาออก" และหาทางแก้ไขหรือป้องกัน

พนักงานยิ้มแย้ม

จะรับมือกับสภาวะ “Quiet Quitting” ได้อย่างไร?

ผู้เขียนเชื่อว่า “ความสมดุลระหว่างการทำงาน และการใช้ชีวิต”(Work-Life Balance) มีความสำคัญอย่างมากในยุคนี้ การทำงานหนักเกินไป ย่อมไม่ส่งผลดี ซ้ำร้ายกลายเป็นผลเสียมากกว่า โดยเฉพาะผลเสียที่กระทบสภาพจิตใจของพนักงานทุกคน

และยังเชื่ออีกว่า การทุ่มเทพัฒนาทักษะในการทำงาน เป็นสิ่งที่เราทุกคนควรทำ และต้องทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ รวมถึงการแบ่งเวลาในการใช้ชีวิต มีเวลาได้พักผ่อน ท่องเที่ยวหาประสบการณ์ชีวิต เป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน

ภาพหน้าปก โดย Luis Villasmil จาก Unsplash.com

ภาพ 1 โดย Tim Gouw จาก Unsplash.com

ภาพ 2 โดย Sigmund จาก Unsplash.com

ภาพ 3 โดย Jason Goodman จาก Unsplash.com

ภาพ 4 โดย Priscilla Du Preez จาก Unsplash.com

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์