ไลฟ์แฮ็ก

"Refinance" vs "Retention" แบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน ? หรือเหมาะสำหรับคุณมากกว่า

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
"Refinance" vs "Retention" แบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน ? หรือเหมาะสำหรับคุณมากกว่า

ด้วยสถานการณ์เช่นนี้ เชื่อแน่ว่าหลาย ๆ คงจะมีปัญหาเกี่ยวกับสถานะทางการเงินกันอย่างแน่นอนใช่ไหมคะ จากเมื่อก่อนรายได้พอเพียงกับรายจ่าย ปัญหาและความปวดหัวคงยังไม่เกิด แต่เมื่อเจอพิษเศรษฐกิจเช่นในปัจจุบันนี้ เราควรต้องมีการคิดใหม่ทำใหม่กันบ้างละคะ เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่มีมากกว่ารายรับ ดังนั้นเมื่อเราพบปัญหาและคาดว่าจะมีปัญหา เราควรจะศึกษาวิธีแก้ปัญหาของตัวเองไว้แต่เนิ่น ๆ กันนะคะ เมื่อปัญหาเกิดขึ้นมาจริง ๆ สภาวะทางการเงินของเราจะได้ไม่ต้องสะดุดและชะงักไปเลยซะทีเดียว สำหรับผู้มีภาระด้านการเงินเดิมอยู่แล้วนั้นเราลองมาทำความรู้จักกับประโยชน์ในการ "Refinance" vs "Retention" แบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน ? เมื่อเจอกับดอกเบี้ยที่สูงเกินไปกันคะ

การเช็คภาระของตัวเองและหาวิธีปรับสมดุลเพื่อให้เกิดสภาพคล่องRefinance คือ การยืนปรับลดดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าเดิมที่มีประวัติที่ดีในการจ่ายชำระ และต้องการลดภาระดอกเบี้ยสินเชื่อโดยการดำเนินการหาธนาคารที่มีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าธนาคารเดินเพื่อยื่น Refinance ดอกเบี้ย

Advertisement

Advertisement

(ขั้นตอนการดำเนินการ)

  • ผู้กู้ตรวจสอบเอกสารกู้เดิมของตัวเองให้เรียบร้อย
  • เลือกและพิจารณาธนาคารใหม่ที่จะยื่น Refinance
  • จัดเตรียมเอกสารตามนโยบายของธนาคารที่ยื่น
  • จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการยื่นกู้ ตามนโยบายของธนาคารที่ยื่นกู้
  • ยื่นเอกสารขออนุมัติการยื่นกู้กับธนาคารที่ยื่นกู้ใหม่
  • รอการอนุมัติ

(ข้อดี)

  • ผู้กู้จะได้ดอกเบี้ยที่ถูกกว่า
  • สามารถเลือกธนาคารที่จะยื่น Refinance ได้ตามต้องการด้วยตัวเอง
  • ได้รับการลดดอกเบี้ยให้ต่ำกว่าสินเชื่อที่ใช้กู้ซื้อบ้าน สำหรับลูกค้าเดิมที่มีประวัติการผ่อนชำระดี

(ข้อเสีย)

  • เอกสารจำนวนมาก  ยื่นเอกสารเหมือนกับผู้ยื่นกู้ใหม่
  • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เหมือนกับผู้กู้ใหม่ ทั้งค่าประเมิน ค่าธรรมเนียม รวมถึงค่าอัคคีภัย เป็นต้น
  • ใช้เวลานานในการดำเนินการ ทำให้เสียเวลาในการดำเนินการ
  • ผู้กู้ต้องหาข้อมูลของธนาคารที่จะยื่น Refinance ด้วยตัวเอง ทำให้เกิดความยุ่งยาก

Advertisement

Advertisement

(เอกสารในการดำเนินการ)

  • เอกสารใช้เหมือนกับผู้กู้ใหม่

ยื่นเอกสารใหม่กับธนาคารใหม่ที่อัตราดอกเบี้ยถูกกว่าเดิมRetention คือ การขอเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับธนาคารเดิม

(ขั้นตอนการดำเนินการ)

  • จัดเตรียมเอกสารตามนโยบายของธนาคารที่ยื่น (สัญญาเงินกู้, บัตรประชาชนตัวจริงและสำเนาบัตร, ทะเบียนบ้านตัวจริงและสำเนา) ซึ่งเอกสารจะมีไม่มากและไม่ยุ่งยากเช่นเดียวกับการ Refinance
  • จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการยื่นกู้ ตามนโยบายของธนาคารที่ยื่นกู้ (บางธนาคารอาจจะคิดแค่เพียง 1% ของวงเงินกู้เท่านั้น ซึ่งต่างจากการ Refinance เป็นอย่างมาก)
  • ยื่นเอกสารขออนุมัติการยื่นกู้กับธนาคารที่ยื่นกู้ใหม่
  • รอการอนุมัติ (บางธนาคารอาจจะรอการอนุมัติแค่เพียง 7 วันเท่านั้น)

(ข้อดี)

  • มีความสะดวก รวดเร็ว ในการดำเนินการ ใช้เวลาไม่นาน ทำให้ผู้กู้ไม่ต้องเสียเวลามากนัก เพราะธนาคารมีประวัติของผู้กู้อยู่แล้ว
  • ไม่มีค่าใช้จ่าย หรือค่าธรรมเนียมบางธนาคารอาจจะมี แต่ไม่แพง ประมาณ 1% ของวงเงินกู้เท่านั้น

Advertisement

Advertisement

(ข้อเสีย)

  • ส่วนลดของดอกเบี้ยได้น้อยกว่าการ Refinance

(เอกสารในการดำเนินการ)

  • สัญญาเงินกู้
  • บัตรประชาชน
  • ทะเบียนบ้าน

เอกสารไม่มาก ขั้นตอนการดำเนินการรวดเร็ว แต่ดอกเบี้ยอาจจะได้ปรับลดน้อยกว่า

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม "Refinance" vs "Retention" แบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน ? นั้น ในเบื้องต้นก็คงต้องขึ้นอยู่กับการเลือกประเภทการยื่นกู้ให้ได้ตรงตามความต้องการและความเหมาะสมของสถานะของผู้ยื่นกู้เองนะคะ ก็ขอให้ผู้กู้สามารถเลือกประเภทของการยื่นกู้ให้ได้ตรงตามความต้องการของตัวเองให้มากที่สุดละกันคะ เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้กู้เอง

ขอบคุณรูปภาพจากเว็บไซต์ https://unsplash.com/

ภาพที่ 1.Photo by Kelly Sikkema on Unsplashhttps://unsplash.com/photos/3-Tc_5LROrM

ภาพที่ 2.Photo by Scott Graham on Unsplashhttps://unsplash.com/photos/OQMZwNd3ThU

ภาพที่ 3.Photo by Amy Hirschi on Unsplashhttps://unsplash.com/photos/JaoVGh5aJ3E

ปก Photo by Tierra Mallorca on Unsplashhttps://unsplash.com/photos/rgJ1J8SDEAY

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
Daranee
Daranee
อ่านบทความอื่นจาก Daranee

รักงานเขียน รักงานศิลปะ

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์