อื่นๆ

TROPICS ดาวผู้สังเกตการณ์พายุโซนร้อน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
TROPICS ดาวผู้สังเกตการณ์พายุโซนร้อน

ฤดูพายุเฮอริเคนในมหาสมุทรแอตแลนติกปี พ.ศ. 2563 เป็นฤดูพายุที่โหดร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยได้สร้างพายุหมุนรวม 30 ลูก ยิ่งกว่านั้นมีพายุ 10 ลูก ที่ทำลายสถิติการทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว บางลูกเร่งความเร็วได้ถึง 100 ไมล์ต่อชั่วโมง (ประมาณ 160-170 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ภายในเวลาไม่ถึงสองวัน

เฮอริเคนภาพที่ 1 โดย WikiImages จาก pixabay.com

เพื่อนำข้อมูลมาสู่การพยากรณ์และเฝ้าระวังพื้นที่เขตร้อนของโลกที่พายุก่อตัวได้อย่างแม่นยำขึ้น NASA ได้เตรียมเปิดตัวดาวเทียม TROPICS (Time-Resolved Observations of Precipitation structure and storm Intensity with a Constellation of Smallsats) โดยมีภารกิจสังเกตปริมาณน้ำฝนและความรุนแรงของพายุด้วยกลุ่มดาว Smallsats 6 ดวง ซึ่งวางแผนจะเปิดตัวในปี พ.ศ. 2565 โดยดาวทั้งหกดวงจะทำงานร่วมกันเพื่อตรวจจับอุณหภูมิ ความชื้น และปริมาณน้ำฝนในชั้นบรรยากาศ และสามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของพายุหมุนเขตร้อนทุกๆ 21 นาที

Advertisement

Advertisement

ดาวเทียมภาพที่ 2 จาก eospso.nasa.gov

เนื่องจากพายุหมุนเขตร้อนและพายุเฮอริเคนสามารถทวีความรุนแรงได้อย่างรวดเร็วขณะเดินทางข้ามมหาสมุทร การสังเกตการณ์จากดาวเทียม TROPICS ไม่เพียงแต่จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ทำความเข้าใจความรุนแรงของพายุ แต่ยังช่วยในการพยากรณ์ความรุนแรงได้อีกด้วย “พายุเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก และเราคาดหวังว่าการสังเกตการณ์พายุจากทรอปิกส์ที่เพิ่มขึ้น จะสามารถช่วยในการพยากรณ์ได้ ซึ่งนั้นคือการช่วยให้ผู้คนได้รับความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินที่เร็วขึ้น" William Blackwell ผู้วิจัยหลักของ TROPICS กล่าว

น้ำท่วมภาพที่ 3 โดย 12019 จาก pixabay.com

ถือได้ว่ากิจกรรมต่างๆ ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์โดยเฉพาะกิจกรรมที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่สุดขั้ว เช่น คลื่นความร้อน หรือพายุลูกใหญ่ ซึ่งก็เกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงมากขึ้น เช่น เฮอริเคนไอดา (Hurricane Ida) ที่พัดถล่มนิวยอร์กในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทำให้ต้องเจอกับฝนตกหนัก และเหตุการณ์น้ำท่วม นอกจากนี้รัฐอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกาก็เจอกับผลกระทบจากทอร์นาโดด้วย ในขณะเดียวกันเมืองชายฝั่งทั่วเอเชียก็เผชิญกับความเสี่ยงจากเหตุการณ์น้ำท่วมเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและพายุโซนร้อนที่รุนแรงขึ้น ดังนั้นหากเราช่วยกันคนละไม้คนละมือ ลดพลาสติก ลดใช้พลังงาน เชื่อว่าจะสามารถลดภาวะโลกร้อนได้ไม่มากก็น้อย

Advertisement

Advertisement

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์