อื่นๆ

กฏส่วนตัว

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
กฏส่วนตัว

ความคิดที่บิดเบือนนำไปสู่กฏเกณฑ์ที่งี่เง่าต่าง ๆ นานา เช่น กฏแห่งการ “เผื่อ” ในภาวะที่วิตกกังวลเครียด หรือถูกบีบคั้น คนเรามักจะตั้งกฏเกณฑ์ขึ้นมา เพื่อป้องกันปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจจะเผชิญซ้ำอีกในวันหน้า ที่จริงในภาวะจิตแบบนั้น ไม่ควรตั้งกฏเกณฑ์ใด ๆ เพราะภาวะจิตที่กำลังกลัวจะนำไปสู่การตัดสินใจบนรากฐานของความกลัว จนตัดเหตุผลอื่น ๆ ที่น่าจะเป็นไปได้ออกหมด

ภาพจาก unsplash.com

ในโรงเรียนทุกวันนี้ หากมีเด็กคนใดหกล้ม ครูจะถูกห้ามไม่ให้เข้าไปช่วยประคองเด็กให้ลุกขึ้น นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า คนที่ตั้งกฏเกณฑ์หลงประเด็นไปไกลแล้ว อะไรจะสำคัญกว่ากันระหว่างความปลอดภัย กับ การปล่อยให้เด็กฝึกช่วยตัวเอง ยิ่งคิดก็ยิ่งสลดใจที่เราถอนเอาสัมผลแห่งความห่วงใยของมนุษย์ชาติออกไปจากชีวิตของเด็ก ๆ เพราะความคิดที่ถูกบิดเบือนแบบนี้

Advertisement

Advertisement

บางองค์กรขยายใหญ่จนกระทั่งต้องใช้กฏเกณฑ์กำกับพนักงานเป็นเหตุให้การทำงานทั้งหมดขาดสังคมด้านบวกและสูญเสียความเป็นมนุษย์ มันเป็นการทำร้ายคนเราด้วยคำพูดที่เป็นข้ออ้างง่าย ๆ ว่า “มันเป็นธุรกิจ” ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงคือ ความไม่ยุติธรรม ซึ่งก่อให้เกิดความทุกข์มากมายในองค์กรต่าง ๆ

แต่ก็ใช่ว่าทุกองค์กรและทุกกฏเกณฑ์จะเหมือนกันหมด หลาย ๆ กฏเกณฑ์ตั้งขึ้นมาเพื่อให้องค์กรอยู่รอดและเจริญรุ่งโรจน์ มันเป็นเพียงกลไกลเพื่อต้องการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ น่าเสียดายที่คนเรากลับไปให้ความสำคัญกับกฏเกณฑ์จนลืมจุดมุ่งหมายดั้งเดิมของมัน

“เมื่อไหร่ก็ตาม ที่คุณเห็นชอบหรือยอมรับกฏเกณฑ์ใด ๆ ขององค์กรก็พึงจำไว้ด้วยว่ามันถูกกำหนดขึ้นมา เพื่อความอยู่รอด (กำไร) ขององค์กรไม่ใช่เพื่อให้คุณถูกกลืนไปกับกระบวนการ”

ภาพจาก unsplash.com

หากการเคารพตัวเองของคุณ แรงบันดาลใจของคุณ ความสุขของคุณถูกทำร้าย คุณก็ควรจะถามตัวเองว่า “นี่เกิดจากกฏเกณฑ์ส่วนตัวของฉัน หรือจากกฏของบริษัทหรือด้วยการตีความจากวัตถุประสงค์ของกฏ”

Advertisement

Advertisement

ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไร มันก็สมควรได้รับการแก้ไขทั้งสิ้น! อย่างไรก็ดี ชีวิตเราจำเป็นต้องมีกฏเกณฑ์ บางกฏก็ประกาศไว้ชัดแจมแจ่มแจ้ง บางกฏก็ซ่อนอยู่และจะรู้ได้ ก็ต่อเมื่อมีการผิดกฏเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันก็ล้วนต้องมีกฏเกณฑ์ทั้งสิ้น กฏเหล่านี้คือภาพสะท้อนของการตัดสินใจว่าอะไรสำคัญกับเราบนพื้นฐานของคุณค่าและความเชื่อมั่นศรัทธา การฝ่าฝ่นกฏจึงก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงเสมอ เราอาจจะแบ่งประเภทเหล่านี้ออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. กฏเกณฑ์ที่เรายึดถือเพื่อตนเอง

  2. กฏเกณฑ์ที่เรายึดถือเพื่อผู้อื่น

เราต่างก็ดำเนินชีวิตไปตามกฏเกณฑ์ โดยที่คนส่วนใหญ่ก็มักไม่รู้ตัว แต่มันคือตัวกำหนดความเชื่อมั่นความศรัทธาและคุณค่า ว่าอะไรถูกอะไรผิด อะไรดีอะไรเลว เป็นตัวตัดสินว่าเราเป็นคนอย่างไร และยึดมาตรฐานในการดำเนินชีวิตอย่างไร รวมทั้งความคาดหวังว่าผู้อื่นจะมองเราอย่างไร เป็นต้น เมื่อใดก็ตามที่เราทำผิดไปจากกฏเกณฑ์เหล่านี้ หรือไม่สามารถจะดำรงชีวิตไปตามมาตรฐานเหล่านี้ได้ เราจะรู้สึกผิดแต่ถ้ามีใครฝ่าฝืนกฏของคุณ คุณจะรู้สึกโกรธ ความรู้สึกผิดนับเป็นสิ่งสำคัญที่คุณต้องมี ไม่อย่างนั้นเขาจะหาว่าคุณเป็นบ้า แต่หากคุณฝังตัวอยู่กับความสำนึกผิดนานเกินควรหรือไม่คิดจะแก้ไขอะไร ก็ต้องถือว่าคุณผิดอีกเหมือนกัน

Advertisement

Advertisement

เหตุใดจึงรู้สึกผิด ความสำนึกผิด เป็นการสื่อสารออกมาจากจิตไร้สำนึกขอเราเพื่อจะเตือนว่า เราเป็นคนดีกว่านี้และสามารถทำได้ดีกว่านี้ หากคุณเข้าใจจุดประสงค์ของมันได้ก็เป็นประโยชน์ น่าเสียดายที่เรามักจะรับรู้เอาแค่ความรู้สึกที่เกิดขึ้น แล้วนำมาใช้ทรมานตัวเอง ซึ่งไม่เกิดประโยชน์อะไร


ภาพจาก unsplash.com

บางขณะที่เราประสบปัญหาหากกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ก็อาจจะรู้สึกผิดเป็นปฏิกิริยาตอบสนอง

“คำพูดหรือความคิดที่ก่อให้เกิดความรู้สึกสำนึกผิด มักจะได้แก่ “ฉันมันไม่ดีพอ... ฉันยังทำไม่พอ... ฉันพยายามไม่พอ... ยังทุ่มเทไม่พอ...”

เราก็ไม่รู้ว่าแค่ไหนถึงจะเรียกว่า พอ บางคนที่เก่งหน่อยก็กระโดดข้ามไปคิดว่า “ที่ฉันทำแบบนี้ ก็แปลว่าฉันเลวน่ะซิ” ช่างเป็นความคิดที่ไม่สร้างสรรค์และไม่เมตตาตัวเองเลย การที่คุณพร่ำบ่นกับตัวเองไม่เลิกราว่า “ฉันไม่น่าตะคอกแกเลย ฉันน่าจะมีความอดทนมากกว่านี้ ไม่น่าจะไปหัวเสียใส่ลูกเลย” มันเปลี่ยนแปลงความจริงว่า คุณทำลงไปแล้วไม่ได้หรอก เพราะฉะนั้น เตือนตัวเองว่า ครั้งเดียวพอแล้ว รู้เรื่องแล้ว สั่งจิตตัวเองให้ “หยุดพูด” แล้วดูซิว่าคุณจะแก้ไขอะไรได้บ้างจะดีกว่า”


ขอบคุณภาพปกจาก unsplash.com

ขอบคุณภาพประกอบเนื้อหา ภาพที่ 1 , ภาพที่ 2 , ภาพที่ 3

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
gasmap
gasmap
อ่านบทความอื่นจาก gasmap

บอกเล่าผ่านตัวหนังสือ I ทุกความรู้สึก I ทุกความประทับใจ I ทุกแรงบันดาลใจที่จะให้ทำคุณก้าวข้ามผ่านควา

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์