อื่นๆ

กังวลอย่างสร้างสรรค์

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
กังวลอย่างสร้างสรรค์

คุณผู้อ่านที่ยังคงปักหลักคิดว่า อย่างไรคุณก็ยังวิตกกังวลกับบางสิ่งบางอย่างอยู่ดี เราอยากให้คุณลองตกลงกับตัวเองใหม่ โดยจัดตารางชีวิตเพื่อจะได้วิตกกังวลไปในทางที่ดีมีคุณภาพ เช่น วันละครึ่งชั่วโมง คุณไม่จำเป็นต้องเลิกวิตกกังวลอย่างปลิดทิ้งไปเลย เพียงแต่จัดตารางเวลาของตัวเองว่าจะใช้เวลาเหมาะ ๆ ตอนไหนดี มาตั้งใจวิตกกังวลกันเป็นเรื่องเป็นราว เช่น “ฉันจะกังวลช่วงเก้าโมงครึ่งถึงสิบโมงนะ”

ภาพจาก unsplash.com

ด้วยวิธีนี้ แทนที่คุณจะหงุดหงิดว่า “ตอนนี้เราไม่มีเวลาจะไปกังวลเรื่องนั้น” คุณก็จะบอกตัวเองได้ว่า “ฉันจะเก็บไว้กังวลทีหลัง” ได้แล้ว

เราไม่ได้ขอให้คุณเลิกวิตกกังวล แต่ขอให้กังวลอย่างมีความคิดสร้างสรรค์

การที่คุณปล่อยให้ความวิตกกังวลวุ่นวายอยู่ในจิตใจจนเผลอไผลไร้สติตลอดวัน ทั้ง ๆ ที่คุณก็พยาายมจะมีสมาธิอยู่กับสิ่งที่สำคัญกว่า ไม่ใช่ความกังวลที่มีคุณภาพเลย เพราะสมาธิที่จะจดจ่อกับงานของคุณถูกแบ่งแยก สิ่งที่คุณควรทำก็คือ จัดตารางเวลามานั่งวิตกกังวลเป็นเรื่องเป็นราว

Advertisement

Advertisement

“เอาละ... ถึงเวลาแล้ว... ตอนนี้ฉันจะวิตกกังวลเรื่องอะไรดีล่ะ”

คุณควรตัดสินใจว่า แต่ละวันคุณต้องการเวลาสำหรับการวิตกกังวลมากน้อยแค่ไหน เมื่อเทียบกับเวลาของชีวิตและสิ่งที่คุณควรจะทำแม้แต่การกังวลในทางที่ดีก็เป็นสิ่งที่คุณต้องวางแผนทั้งก่อนทำ ขณะกำลังทำและหลังทำ สถานที่และช่วงเวลาที่คุณเลือกใช้ในการวิตกกังวลโดยไม่มีอุปสรรคหรือถูกขัดจังหวะก็สำคัญ

ท้ายที่สุด เราอยากจะชวนให้คุณเปลี่ยนจากคำว่า “วิตกกังวล” เป็น “การคิดแบบสร้างสรรค์” แทน

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มันก็ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของคุณเอง จริงไหม

ภาพจาก unsplash.com

เมื่อชีวิตเราต้องประสบกับอุปสรรคหรือภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก โดยที่เราไม่ได้เตรียมตัวหรือไม่พร้อมที่จะรับมือกับมัน โดยธรรมชาติแล้วคนส่วนใหญ่มักจะรับรู้ความรู้สึกกลัว กระวนกระวายและวิตกกังวลที่ร่างแหประสาทบริเวณช่องท้อง ซึ่งก็มักจะตีความกันไปว่าเป็นที่กระเพาะหรือลำไส้ เมื่อใดที่ความรู้สึกเช่นนี้เกิดขึ้นมา มันก็คือการเตือนตัวเองให้รับรู้ถึงภัยและระวังตัวนั่นเอง แต่ถ้าเราพยายามหลบเลี่ยงไม่รับรู้มันอย่างที่คนส่วนใหญ่มักจะทำ สมองก็จะยิ่งส่งสัญญาณหนักขึ้น

Advertisement

Advertisement

หากคุณยังไม่ได้จัดการกับสิ่งที่คุณกังวลอยู่ คุณจะไม่สามารถเอาชนะความวิตกกังวลด้วยวิธีแค่พยายามจะ “ไม่” กังวลได้เลย สมองส่วนควบคุมอารมณ์ของคุณจะคอยกดปุ่มเตือนซ้ำ ๆ อยู่อย่างนั้น ส่งผลให้มีความรู้สึกรุนแรงขึ้น ลองนึกภาพหลอดไฟสีแดงที่เครื่องจักรดูก็ได้หากไฟแดงนี้ติดขึ้นมาเมื่อใด นั่นแสดงว่ามีปัญหาที่คุณต้องแก้ไขตรงไหนสักแห่งแล้ว แต่ถ้าคุณเพิกเฉย ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นก็จะส่งผลกระทบต่อไปเป็นลูกโซ่แน่ ๆ กว่าคุณจะรู้ตัวระบบงานทั้งหมดคงจะทำงานผิดปกติไปแล้ว เพราะฉะนั้นไฟแดงจึงเป็นสิ่งที่ดี แม้ว่าเราจะไม่อยากเห็นมันสักเท่าไหร่ แต่ก็ต้องยอมรับว่ามันเป็นสิ่งที่ดี อารมณ์ของคนเราก็เหมือนกับไฟแดงนี่แหละ

โดยทั่วไปแล้ว เจ้าไฟเตือนสีแดงนี้ มักจะริบหรี่หรือกะพริบในตอนต้น ๆ และจะยังคงติดอยู่อย่างนั้นจนกว่าบริเวณที่ผิดปกติจะได้รับการแก้ไข เมื่อเรามีสติ เราก็ควรจะเลือกที่จะใส่ใจกับสัญญาณเตือนนี้และตอบสนองอย่างเหมาะสม เพราะฉะนั้น ความวิตกกังวล จึงเป็นสิ่งที่ดีเพราะมันคือสัญญาณเตือนภัย อารมณ์มันจะคอยมาเคาะประตูอยู่อย่างนั้น

Advertisement

Advertisement

หากคุณยังทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้เราเรียกอารมณ์แบบนี้ว่า “ความวิตกกังวล”

สิ่งที่เราควรทำก็คือ รับรู้ความรู้สึกนั้น ด้วยวิธีพูดกับตัวเองง่าย ๆ ว่า “รู้แล้วว่านายจะบอกอะไร นี่ไง กำลังจะจัดการอยู่”

ภาพจาก unsplash.com

คนส่วนใหญ่ไม่ได้รับรู้ถึงความรู้สึกนี้ ด้วยเหตุผลนานัปการอาจจะบอกตัวเองว่ายังไม่ถึงเวลาบ้าง หรือกลัวว่าถ้าแก้ไขอะไรไปอย่างที่ใจเตือนแล้วเกิดผิดพลาดขึ้นมา ก็หน้าแตก หรือไม่อย่างนั้นก็อาจจะคิดว่าถ้าแก้ไขตามที่ใจเตือน คนอื่นเขาจะคิดยังไง เรามักจะยอมให้เงื่อนไขทางสังคมมาก่อนสามัญสำนัก

อีกประการหนึ่ง คุณต้องรู้ด้วยว่า อารมณ์ของเรานั้นเป็นเพียงการตอบสนองบางส่วนต่อเหตุการณ์ สถานการณ์ หรือแรงกระตุ้นเท่านั้น อารมณ์จึงไม่จำเป็นต้องเป็นความจริงและถูกต้องแม่นยำเสมอไป เพราะมันไม่ได้ให้ข้อมูลที่ครบถ้วนแก่คุณอารมณ์เป็นเพียงแค่ปฏิกิริยาตอบสนอง และปฏิกิริยานี้ก็เกิดขึ้นจริงและหลีกเลี่ยงไม่ได้ คุณจะพร่ำบอกตัวเองซ้ำ ๆ ว่า “อย่ากลัว... อย่ากังวล... อย่ากระวนกระวาย” คุณก็ไม่มีทางจะห้ามมันได้

หากเราปักใจซะแล้วว่า ทุกอย่างมันกำลังเลวร้าย สมองก็จะหลั่งสารเคมีผิดตัวซึ่งไม่เหมาะจะเอามาใช้ในการตัดสินใด ๆ ด้วยเหตุนี้เอง เราจะต้องพยายามควบคุมตนเองให้กลับมาอยู่กับการคิดบวกให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อจะเอาชนะอุปสรรคทั้งปวงได้ วิธีหนึ่งที่อาจได้ผลเร็วก็คือร่ายมนตราที่จะสั่งให้ความคิดลบนั้น “หยุดพูด” เพื่อเป็นการตัดตอนความคิดลบและยุติสมมุติฐานที่บิดเบือนความเป็นจริงซะในทันที แล้วเปิดทางให้คุณก้าวต่อไป โดยถามว่าตัวเอง อะไรคือสิ่งที่มีประโยชน์และควรทำที่สุดในขณะนั้น

  1. หยุดทำทุกอย่าง แล้วหันหน้าเข้าไปสำรวจความรู้สึก เมื่อเกิดความวิตกกังวล เครียด กลัว หรือกระวนกระวายถามตัวเองว่า “เราจะลงนั่งสำรวจความรู้สึกนี้สักครู่ได้ไหม ดูซิว่ามันต้องการจะบอกอะไรเรา”

  2. ติดป้ายไว้เลย บอกสาเหตุไว้ด้วย แม้ว่าคุณอยากจะรีบขับไล่ไสส่งเจ้าความรู้สึกนั้นให้มันสลายไป แต่คุณอาจจะได้ประโยชน์กว่าหากสามารถแยกแยะเจ้าความรู้สึกที่เกิดขึ้นว่า มันคือความรู้สึกอะไรบ้าง คล้าย ๆ กับติดป้ายชื่อมันไว้ให้ชัดเจน บอกสาเหตุเอาไว้ด้วย “ตอนนี้ ฉันกำลังรู้สึก... เพราะ...”

ปกติแล้วสาเหตุของมันมักจะเพิ่งเกิดขึ้นหมาด ๆ และชัดเจนแจ่มชัด แต่ถ้าหากคุณมองไม่เห็นสาเหตุ ก็ไม่ใช่ปัญหาอะไร แค่รู้ว่าคุณรู้สึกอย่างไร ก็ใช้การได้แล้ว อย่างที่เราบอกไว้ในตอนต้น บางคนรับรู้ความวิตกกังวล กระวนกระวาย กลัว หรือเครียดได้ที่บริเวณกระเพาะอาหาร คนกลุ่มนี้หลายคนเลือกที่จะตอบสนองหรือกดขู่ความรู้สึกเหล่านั้นด้วยการกินอาหารทั้ง ๆ ที่ไม่หิวเลย

หากเปรียบก็คงคล้าย ๆ กับการที่เลือดกำเดาของคุณไหล แต่คุณกลับพันผ้าแผลไปทั้งศรีษะโดยไม่จำเป็น แถมยังจะก่อความเสียหายตามมาด้วย

ภาพจาก unsplash.com

3.  เปิดใจกว้างกับทางแก้แนวบวก นี้คือสร้างผลลัพธ์แบบ Well-formed outcome คุณอาจจะเริ่มด้วยการปรับทิศทางความคิดใหม่ และลองถามตัวเองด้วยคำถามต่อไปนี้ เพื่อให้สมองหลั่งสารที่ดี ๆ ก่อเกิดความรู้สึกที่เป็นประโยชน์

4.  เมื่อคุณตั้งคำถามเหล่านี้กับตัวเอง สมองของคุณจะเริ่มมองหาคำตอบ และจะมองไปในแง่ดี เพราะคำถามเหล่านี้เป็นคำถามเพื่อการบำบัด เช่น ฉันอยากจะรู้สึกอย่างไร เป็นการเปิดทางให้สมองของคุณได้รู้สึกดี ๆ คำถามไม่ได้ถามถึงความรู้สึกที่เกิดอยู่ในตอนนี้ แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธมัน เพียงแต่เปิดโอกาสให้แก่ความรู้สึกดี ๆ ที่คุณปรารถนา อาทิ เช่น ฉันอยากเข้มแข็ง... ฉันอยากมีพลัง... ฉันอยากจะมุ่งมั่น... ฉันอยากมั่นใจในตัวเอง... ฉันอยากผ่านเหตุการณ์นี้ไปให้ได้... ฉันอยากผ่อนคลาย... ฉันอยากประสบความสำเร็จ... ฉันอยากจะเป็นหนึ่ง... ฉันอยากให้ผลลัพธ์มันออกมาเยี่ยมยอด ฯลฯ

หากสามารถจะลงมือทำได้ ก็กำหนดรอบเวลาให้ตัวเองแล้วก็ลงมือทำเลย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ “ฉันจะแก้ปัญหานี้ด้วยการ...” นี่ก็คือการตั้งเข็มทิศให้สมองของคุณเดินไปทางนั้นสมองจะดูแลคุณเองหากคุณเปิดทางให้ ทั้งจิตใต้สำนึก จินตนาการ และอารมณ์ของคุณจะทำงานประสานกันเพื่อดูแลคุณตลอดเวลาสมองอาจจะรับสัญญาณหรือข้อมูลผิดพลาดไปบ้างในบางครั้งบางคราว แต่มันก็กระตุ้นความสนใจให้คุณได้ดีขึ้น จนคุณสามารถทำต่อไปจนสำเร็จสัมฤทธิ์ผลในที่สุด


ขอบคุณภาพปกจาก unsplash.com

ขอบคุณภาพประกอบเนื้อหา ภาพที่1 , ภาพที่ 2 , ภาพที่ 3 , ภาพที่ 4

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์