อื่นๆ

การทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีโทษอย่างไร?

540
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
การทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีโทษอย่างไร?

1

นับตั้งแต่เข้าสู่ยุคข้อมูลสารสนเทศ ทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ต แต่การส่งข้อมูลข่าวสารทางอินเทอร์เน็ตดังกล่าวได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านคุณธรรมจริยธรรมมากมาย เช่น การส่งข้อความที่เป็นเท็จ การส่งภาพที่เป็นเท็จ การส่งภาพลามกอนาจารหรือข้อความที่ก่อให้เกิดความตื่นตระหนก ฯลฯ จึงก่อให้เกิดผลเสียต่าง ๆ ตามมามากมาย โดยเฉพาะผลเสียที่ส่งผลกระทบต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น รวมทั้งอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ถ้าหากผู้ที่ได้รับข้อความหรือภาพเหล่านี้ไม่ได้ตรวจสอบให้ดีว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่ และได้เผยแพร่ด้วยการส่งต่อไปให้บุคคลอื่นด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ถ้าข้อมูลเหล่านี้ไม่เป็นความจริง ก็อาจมีความผิดทางกฎหมายได้ เนื่องจากสามารถตรวจสอบได้ว่าข้อความหรือภาพเหล่านี้ส่งมาจากใครหรือส่งต่อไปให้ใครบ้าง

Advertisement

Advertisement

2

ในขณะนี้ปัญหาในเรื่องการส่งข้อมูลหรือภาพที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อบุคคลอื่น รวมทั้งการส่งภาพลามกอนาจารมีมากขึ้นเรื่อย ๆ จนก่อให้เกิดปัญหาทางด้านคุณธรรมจริยธรรมทางสังคมตามมา ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีกฎหมายเพื่อควบคุมเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560”  ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2560 เป็นต้นไป โดยมีข้อกฎหมายที่สำคัญ โดยสรุปได้ดังนี้

1. ผู้ที่ส่งข้อมูลข่าวสาร หรืออีเมลให้ผู้อื่น ซึ่งสร้างความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับ สามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท

2. ผู้ที่นําเข้าข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

Advertisement

Advertisement

3. ผู้ที่นําเข้าข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จ โดยที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

4. ผู้ที่นําเข้าข้อมูลข่าวสารอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

5. ผู้ที่นําเข้าข้อมูลหรือภาพที่ลามกอนาจาร และข้อมูลหรือภาพนั้นประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

Advertisement

Advertisement

6. ผู้ที่เผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลข่าวสารโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลอันเป็นเท็จที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น หรือข้อมูลที่ลามกอนาจาร ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

7. ผู้ที่นําเข้าข้อมูลที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้  ซึ่งเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลง ด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม โดยจะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท

3

ถ้าหากท่านหรือบุคคลในครอบครัวมีการใช้อินเทอร์เน็ตอยู่เป็นประจำ ท่านก็มักจะได้รับข้อมูลข่าวสารหรือภาพที่ไม่เหมาะสมอยู่เสมอ ๆ จึงต้องพิจารณาให้ดีว่าข้อมูลข่าวสารหรือภาพเหล่านั้นควรส่งต่อให้บุคคลอื่นหรือไม่ ถ้าเห็นว่าไม่เหมาะสมก็ไม่ควรส่งต่อไปยังบุคคลอื่น เพราะท่านอาจเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 อาจได้รับโทษทางกฎหมายได้ ดังนั้นจึงควรรู้กฎกติกาการใช้งานไว้ก่อน ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เราเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายได้

อ้างอิงข้อมูลจาก ราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 เล่ม 134 ตอนที่ 10 ก  24 มกราคม 2560

ขอบคุณรูปภาพจาก pexels.com รูปปก / รูปประกอบที่ 1 / รูปประกอบที่ 2 / รูปประกอบที่ 3

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์