อื่นๆ

คำพูดแรง ๆ สามารถกระตุ้นคนได้จริงหรือ

228
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
คำพูดแรง ๆ สามารถกระตุ้นคนได้จริงหรือ

ภาพปกจาก https://pixabay.com

วันนี้มีประเด็นดราม่าเกี่ยวกับโค้ชคนหนึ่งที่ใช้คำพูดแรง ๆ สื่อออกไปแล้วมีคนจำนวนมากที่บอกว่าเหมือนเขานั้นกำลังดูถูกหรือกดคนอื่นให้ต่ำลง ประเด็นนี้มีคนพูดถึงเยอะมากซึ่งเราเองก็เคยเจอกับเหตุการณ์แนวนี้เหมือนกันจึงอยากมาแชร์ว่าจริง ๆ แล้ว คำพูดแรง ๆ นั้นสามารถกระตุ้นคนเราได้จริงไหม

คำพูดรูปภาพจาก https://pixabay.com

ย้อนไปเมื่อประมาณ 6 ปีที่แล้วถือเป็นครั้งแรกที่เราได้มีโอกาสทำธุรกิจออนไลน์ ตอนแรกที่เข้ามาเพราะสนใจเรื่องรายได้ที่จะได้รับ ก็มีคนชวนให้เข้าไปฟังสัมมนาออนไลน์สัมมนาหนึ่ง คนสอนเป็นเด็กอายุ 21 ตอนนั้นสำหรับเราถือว่าเขายังอายุน้อยแต่ประสบความสำเร็จแล้วเป็นเรื่องที่น่าทึ่งจริง ๆ พอเราลองเข้าฟังเขาใช้คำพูดแรง ๆ ในการสอนแต่อาจจะไม่แรงเท่าโค้ชที่กำลังเป็นประเด็นในตอนนี้ ซึ่งเราเองค่อนข้าง sensitive เพราะปกติที่บ้านจะใช้คำพูดดี ๆ กันมากกว่า เวลาโดนพูดใส่ด้วยคำแรง ๆ เรารู้สึกได้เลยว่าตัวเองนั้นมีอาการต่อต้าน โดยแฟนเราที่นั่งฟังด้วยกลับรู้สึกว่า คำพูดเหล่านั้นมันทำให้เกิดความฮึกเหิม

Advertisement

Advertisement

คุยรูปภาพจาก https://pixabay.com

หลังจากที่เราและแฟนฟังสัมมนานั้นจบเราก็มาคุยกันเรื่องนี้ เราบอกว่า เราไม่โอเคเลยที่เขาใช้คำพูดแบบนี้ มันเหมือนกดดันและเราไม่อยากทำธุรกิจร่วมกับเขา ซึ่งแฟนเราก็เข้าใจนะ แต่เขาบอกว่าเขากลับไม่คิดแบบเรา เขาบอกว่า บางคนก็อยากได้ยินคำแรงพวกนี้เพราะเหมือนจะช่วยผลักดันให้ตัวเองก้าวไปข้างหน้า(ใช้คำด่ามาเป้นแรงผลักดัน) และเขาก็บอกเราต่ออีกว่า เหมือนได้เข้าไปทำงานในที่แห่งหนึ่งที่นายจ้างพูดจาไม่ดี ลูกน้องก็จะตั้งใจทำเพราะกลัวถูกด่าว่าด้วยคำแรง ๆ แต่หากนายจ้างพูดจาดีลูกน้องอาจจะเหลิงก็ได้

ซึ่งจากข้อมูลของทั้งสองคน (เรากับแฟน) เราขอสรุปได้ว่า คำพูดแรง ๆ นั้นมันก็มีข้อดีกับคนบางกลุ่มนะ แต่บางกลุ่มอาจจะคิดว่ามันควรจะใช้คำพูดดี ๆ แล้วผลักดันและปลอบโยนให้ไปถึงเป้าหมายดีกว่า ซึ่งเราว่ามันควรใช้ให้ถูกกลุ่มค่ะ เพราะยังไงก็สามารถกระตุ้นได้เหมือนกันทั้งคำพูดดีและคำแรง ๆ

Advertisement

Advertisement

คุยกันรูปภาพจาก https://pixabay.com

จริง ๆ แล้วการใช้คำพูดแรง ๆ ก็ไม่ได้เป็นสิ่งไม่ดีแต่เราว่ามันขึ้นอยู่กับคนที่ฟังมากกว่า ก็เหมือนกับคนที่ชอบกินบะหมี่ ก็มักจะไปรวมกลุ่มกับคนที่ชอบกินบะหมี่ด้วยกัน แต่คนไม่ชอบคงไม่เข้าไปในกลุ่มคนรักบะหมี่ ถ้าให้เราออกความเห็นในเรื่องประเด็นดัง ๆ นี้ เราคิดว่า จริง ๆ แล้วเข้าใจจุดของเรื่องที่โค้ชเขาสื่อออกมานะคะ เราไปดูคลิปละ เห็นว่ามันอยู่ที่มุมมองของคนฟังมากกว่า ความชอบมันต่างกันค่ะคำแรงสามารถกระตุ้นคนบางกลุ่ม บางกลุ่มก็ไม่ชอบ เหมือนกับคำหวาน ๆ อาจจะกระตุ้นบางกลุ่ม บางกลุ่มก็เห้นว่ามันเฟค ขึ้นอยู่ว่าหากเรารู้ว่ากลุ่มไหนชอบแบบไหน แต่เราไม่ชอบเราแค่ออกมาไปอยู่ในกลุ่มที่เราชอบค่ะ แต่อย่างไรแล้ว การพูดในสื่อสาธารณะถ้าจะหลีกเลี่ยงไม่เกิดประเด็นดราม่าก็ควรใช้คำพูดที่ใช้ปกติกัน อย่างที่เขาว่ากันว่า คำพูดก็เหมือนดาบนั่นแหละค่ะหากเราใช้ถูกมันจะช่วยเบิกทางให้เรา แต่หากใช้ผิดมันก็จะทำให้เราเป้นแผลเสียเอง

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์