ไลฟ์แฮ็ก

คิดคำปลอบใจไม่ออก...ลองใช้เทคนิคนี้ดูสิ!

259
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
คิดคำปลอบใจไม่ออก...ลองใช้เทคนิคนี้ดูสิ!

“ยังมีคนที่เขาทุกข์กว่าเราอีกเยอะ” “ลองมองดูคนที่เขาลำบากกว่าเราสิ” “มันยังไม่เกิดขึ้นเลย จะกังวลไปทำไม” คำปลอบใจที่มักได้ยินบ่อย ๆ เวลาที่ใครสักคนมาเล่าความทุกข์ของตัวเองให้ฟัง

Sad woman (ขอขอบคุณรูปภาพจาก https://pixabay.com/photos/girl-sitting-jetty-docks-sad-1822702/)

ผู้ฟังอาจเพียงแค่ต้องการให้กำลังใจ ปลุกใจให้ผู้เล่ารู้สึกมีกำลังใจ อยากสู้ชีวิต แต่สำหรับบางคนแล้วประโยคเหล่านี้กลับไม่ใช่คำปลอบใจที่เขาอยากได้ยินสักเท่าไหร่ การที่คุณบอกเขาว่า มีคนอื่นที่ทุกข์กว่าเขา หรือบอกว่าเรื่องมันยังไม่เกิด จะกังวลไปทำไมนั้น นั่นอาจทำให้เขารู้สึกว่า คุณกำลังละเลยสิ่งที่เขากำลังเล่าให้ฟัง เพราะผู้เล่านั้นเพียงต้องการที่จะสื่อสารว่า ณ ปัจจุบันตอนนี้เขากำลังทุกข์อยู่ จริงอยู่ที่ยังมีคนอีกมากมายที่ทุกข์กว่า แต่ผู้เล่านั้นเพียงต้องการให้ผู้ฟังอยู่กับเรื่องราวของเขา ฟังอย่างเข้าใจ และไม่ตัดสินในความทุกข์ของเขา ว่ามันหนัก หรือ เบา กว่าใคร เท่านั้นเอง

Advertisement

Advertisement

แล้วผู้ฟังควรทำตัวอย่างไร เมื่อมีคนมาระบายทุกข์ให้ฟัง?

เพื่อน ๆ เคยได้ยินคำว่า “Active Listening” หรือหากแปลเป็นไทยก็คือ “การฟังอย่างตั้งใจ” ไหมคะ ?

ฟัง(ขอขอบคุณรูปภาพจาก https://pixabay.com/photos/listening-listen-upset-3079065/)

Active Listening หรือ การฟังอย่างตั้งใจ ก็คือการที่ผู้ฟัง ไม่เพียงแค่ฟังเฉย ๆ แต่จะมีการสะท้อนความรู้สึกของผู้เล่า (Reflection) เพื่อแสดงออกถึงความสนใจในเรื่องราวของผู้เล่า ทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่ากำลังถูกใส่ใจอยู่ เช่น ผู้เล่า เล่าให้ฟังว่าวันนี้ประกาศผลคะแนนสอบและเขาทำคะแนนได้น้อยกว่าเพื่อนในกลุ่ม เขาเลยแอบไปร้องไห้คนเดียวในห้องน้ำ ถ้าเป็นคำปลอบใจแบบไม่ได้คิดอะไร เราอาจจะปลอบไปว่า “ไม่เป็นไรนะ ยังมีคนที่ได้คะแนนน้อยได้กว่านี้อีก” ซึ่งนั่นอาจไม่ได้ทำให้เขารู้สึกดี เพราะความทุกข์ใจของเขาคือการได้คะแนนน้อยกว่าเพื่อนในกลุ่ม ถึงแม้จะมีคนได้คะแนนน้อยกว่าเขามากมาย แต่ความจริงที่ว่าเขาได้น้อยกว่าเพื่อนในกลุ่มก็ยังไม่ได้หายไป

Advertisement

Advertisement

แต่ถ้าเราลองใช้การสะท้อนความรู้สึกของผู้เล่าแทน เช่น “ตอนนี้เธอกำลังรู้สึกกังวลใช่ไหม ที่ได้คะแนนน้อยกว่าเพื่อนในกลุ่ม” ถ้าใช่ หรือไม่ใช่อย่างไร ผู้เล่าจะเป็นคนอธิบายต่อเอง ซึ่งนั่นจะทำให้ผู้เล่ารู้สึกว่าผู้ฟังกำลังให้ความสนใจในเรื่องราวของตนเองอยู่ การที่ใครสักคนให้ความสำคัญกับสิ่งที่ตัวเองเล่า หรือรู้สึกอยู่นั้น ย่อมทำให้ผู้เล่ารู้สึกดีและอยากที่จะเล่าต่อ

หัวใจ(ขอขอบคุณรูปภาพจาก https://pixabay.com/photos/heart-earphones-object-listen-1187266/ )

จะเห็นได้ว่า หลายๆครั้งผู้เล่าอาจไม่ได้ต้องการคำแนะนำหรือคำปลอบใจอะไร แค่เพียงตั้งใจฟังและเข้าใจในสิ่งที่เขาเล่าก็เพียงพอแล้ว หากใครที่มักจะต้องเป็นที่ปรึกษาให้กับเพื่อน ๆ หรือคนใกล้ตัว แล้วไม่รู้ว่าควรพูดอะไรดี สามารถนำเทคนิคการฟังอย่างตั้งใจนี้ไปใช้กันได้นะคะ ในวงการจิตวิทยาเอง ก็มีการใช้เทคนิคนี้ในการให้คำปรึกษาเช่นกัน :)

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์