อื่นๆ

คู่มือสำหรับแม่แมวมือใหม่ และแนวทางการดูแลแม่แมว

356
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
คู่มือสำหรับแม่แมวมือใหม่ และแนวทางการดูแลแม่แมว


เรื่องนี้เรามาเอาใจคนรักสัตว์เลี้ยงกันหน่อย สัตว์  ชนิดนี้ถ้าใครได้เลี้ยงแล้วก็คงต้องตกเป็นทาส นั้นคือ เจ้าแมวเหมียว ที่มีนิสัยที่รักความเป็นส่วนตัว ขี้อ้อน และทาสหลายต่อหลายคนก็หลงรักเจ้าแมวเหมียวอย่างทุ่มสุดหัวใจกันเลยทีเดียว  แต่พิเศษกว่านั้นคือ เมื่อทาสเลี้ยงเจ้าแมวเหมียวมาจนโตและเจ้าแมวเหมียวจะให้ของขวัญชิ้นพิเศษสำหรับทาสนั้นก็     คือ เหมียวน้อย
แมวน้อยขอบคุณภาพจากผู้เขียน

โดยปกติเมื่อน้องแมวเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ น้องแมวตัวเมียที่มีความสมบูรณ์ทางร่างกาย จะพร้อมที่จะรับการผสมพันธ์ุตั้งแต่อายุราว ๆ 6-7 เดือน แต่โดยทั้วไปเราจะรอให้น้องแมวอายุเกิน 1 ปีไปก่อน ก่อนที่จะให้น้องแมวได้รับการผสมพันธ์ุเพื่อที่จะให้น้องแมวที่จะเป็นว่าที่คุณแม่ สมบูรณ์และโตเต็มวัย เพื่อที่จะได้พร้อมสำหรับการมีแมวเหมียวน้อยนั้นเอง
แมวภาพโดยผู้เขียน

Advertisement

Advertisement

เมื่อน้องแมวของเราพร้อมที่จะผสมโดยจะมี ฮีต คือภาวะการเป็นสัดที่พร้อมจะผสมพันธุ์ น้องแมวจะมีภาวะการเป็นสัดอยู่ในช่วงแรกคือ 1-2 วันแรกจะไม่ยอมให้ตัวผู้ขึ้นผสมพันธุ์ และหลังจากนั้นน้องแมวจะใช้เวลาเป็นสัดในการพร้อมผสมอยู่ในระยะนานถึง 7-9 วัน ในช่วงนี้ตัวผู้พร้อมผสมพันธุ์จะทำการผสมพันธุ์ น้องแมวตัวเมียโดยน้องแมวตัวเมียจะส่งเสียงร้องหง่าวเรียกตัวผู้ จะทำท่านอนก้มยกส่วนท้ายเบี่ยงหางเพื่อเรียกร้องความสนใจจากตัวผู้ให้ขึ้นงับหลังคอตัวเมียและทำการผสม จะมีการผสมกันวันละ 1-3 ครั้งแล้วแต่ความต้องการของตัวผู้ จนน้องแมวตัวเมียหมดอาการเป็นสัด หลังจากหมดภาวะการเป็นสัดจะเข้าสู่ภาวะการเฝ้าระวังว่าน้องแมวได้รับการผสมติดหรือไม่ ถ้าน้องแมวได้รับการผสมก็จะใช้เวลาอุ้มท้องอยู่ประมาณ 58-67 วัน แต่ถ้าน้องแมวได้รับการผสมไม่ติด น้องแมวก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติที่สามารถกลับมาเป็นสัดได้อีกหลังจาก 35-40 วันแล้วแต่ความสมบูรณ์ของน้องแมว
หลังจากที่น้องแมวของเราผสมติดแล้วจะใช้เวลาอุ้มท้องโดยทั่วไปคือ 58-67 วัน ระหวางนี้เราต้องทำการดูแลน้องแมวเป็นอย่างดีให้ทานอาหารที่มีประโยชน์ มีแคลเซี่ยมและโปรตีนสูงกว่าปกติ เพื่อน้องแมวจะได้นำไปเลี้ยงลูกน้อยในท้องให้แข็งแรงอีกด้วย
แม่แมวภาพโดยผู้เขียน

Advertisement

Advertisement

หลังจากที่รอคอยมาแสนนานมาเข้าสู้วันที่ 58 ของการตั้งท้อง ทาสควรเตียมอุปกรณ์และสถานที่ ที่เงียบสงบไม่มีความวุ่นวายและกล่องหรือลังให้เค้าคลอดเพื่อให้เค้ารู้สึกถึงความปลอดภัย จนเมื่อถึงเวลาจะคลอดสังเกตุว่าน้องแมวจะทานอาหารน้อยลงหรือไม่ทานเลย มีอาการกระวนกระวาย คุ้ยเขี่ยหรือมุดตามมุมต่าง ๆ  หลังจากนั้นจะสังเกตุได้ว่าจะมีน้ำคล่ำแตกเป็นน้ำสีคล้ำ ๆ นั้นหมายความว่าจะมีเหมียวน้อย ๆ ออกมาดูโลกแล้ว แม่แมวจะมีการเบ่งเป็นระยะจนน้องเหมียวน้อย ๆ หลุดออกมา ระยะนี้คุณแม่จะเลียและทำการกัดสายสะดือของลูกเองแต่ถ้าแม่แมวไม่กัดเราก็ต้องทำการช่วย คือเอาเชือกด้ายสะอาดมามัดห่างจากช่วงท้องประมาน 1 ซม. และชุบเบตาดีนเพื่อฆ่าเชื้อ และช่วยเช็ดตัวน้องเหมียวน้ยจนแห้งหลังจากนั้นคุณแม่ก็จะทำการเบ่งคลอดลูก ๆ จนหมด และจะให้เหมียวน้อย ๆ เข้าเต้ากินนมกันต่อไป
แมวน้อยภาพโดยผู้เขียน

Advertisement

Advertisement

และสิ่งที่อยากบอกต่อไปนี้คือ การที่จะมีเหมียว ๆ น้อยเพิ่มขึ้นมาในครอบครัวเราต้องดูว่าเราพร้อมที่จะเลี้ยงเค้าหรือไม่ เพราะมีแมวเพิ่มขึ้นเท่ากับเราต้องมีความใสใจเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเราไม่อยากมีเหมียว ๆ น้อยควรพาน้องแมวที่เราเลี้ยงไปทำการคุมกำเนิดและเราจะได้มีความสุขในการเลี้ยงน้องแมวของเราอีกด้วย

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
โลกกลม
โลกกลม
อ่านบทความอื่นจาก โลกกลม

ทุกๆสิ่งรอบตัวเรา #เพราะโลกมันกลม 🌍

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์