ไลฟ์แฮ็ก

งานวิจัยบอกว่า 3 สาเหตุต่อไปนี้ที่ทำให้ตั้งเป้าหมายแล้วทำไม่สำเร็จ

106
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
งานวิจัยบอกว่า 3 สาเหตุต่อไปนี้ที่ทำให้ตั้งเป้าหมายแล้วทำไม่สำเร็จ

การตั้งเป้าหมายเป็นสิ่งที่หลายคนต่างเคยลองทำ แน่นอนว่าเป้าหมายของแต่ละคนนั้นมีขนาดที่แตกต่างกันไป คนที่ฝันใหญ่ก็มีเป้าหมายใหญ่ที่ต้องอาจใช้ระยะเวลาในการทำหลายปี คนที่มีฝันเล็กก็มีเป้าหมายที่เล็กตามขนาดของความฝันและใช้ความต่อเนื่องในการทำไม่นานมากนัก

จากสถิติของ ริชาร์ท ไวส์แมน ( Richard Wiseman ) ผู้เป็นอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยา ของมหาวิทยาลัยบริสตอล ( University of Bristol ) ของประเทศอังกฤษ จากสถิตินั้นได้บอกว่ามีคนเพียงสิบสองเปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ตั้งเป้าหมายและทำได้สำเร็จ ส่วนอีกแปดสิบแปดเปอร์เซ็นต์ที่เหลือนั้นล้มเหลวในการตั้งเป้าหมาย

โดยสาเหตุที่ล้มเหลวในการตั้งเป้าหมายนั้นตัวของ โจนาธาน อัลเพิร์ต ( Jonathan Alpert ) ผู้เขียนหนังสือ "Be Fearless: Change Your Life in 28 Days ได้บอกว่า 3 สาเหตุหลักๆ ที่เราล้มเหลวในการตั้งเป้าหมายมีดังนี้

Advertisement

Advertisement


1. การตั้งเป้าของเราไม่เจาะจงและไม่ชัดเจน
เป้าหมายชัดเจนหรือไม่
เอาล่ะปีนี้ฉันจะลดน้ำหนักจริงจังซักที เอาล่ะฉันจะออกกำลังกายจริงจังในปีนี้  ใครเคยตั้งเป้าหมายแบบนี้กันบ้างยกมือขึ้น การตั้งเป้าแบบนี้คือการตั้งเป้าที่ไม่มีชัดเจนและไม่มีแรงจูงใจที่มากพอครับ

เพราะการตั้งเป้าหมายที่ดีต้องชัดเจนและเฉพาะเจาะจงลงไปและสามารถวัดค่าและตามเช็คผลได้ เช่น ถ้าคุณตั้งเป้าว่าจะลดน้ำหนัก แทนที่จะบอกว่าลดน้ำหนักเฉยๆ ลองเปลี่ยนเป็นฉันจะลดน้ำหนักให้ได้ 5 กิโล ก่อนสิ้นเดือนมีนาคม

เมื่อมีเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงแล้ว ก็วางแผนระยะ สั้น กลาง ยาว เพื่อที่จะง่ายต่อการติดตามความก้าวหน้าของเป้าหมายเรา เช่น

แผนระยะสั้น ในเดือนมกราคมต้องลดน้ำหนักให้ได้ 1 กิโล

แผนระยะกลาง ในเดือนกุมภาพันธ์ต้องน้ำหนักลดให้ได้อีก 2 กิโล

แผนระยะยาว ในเดือนมีนาคมต้องลดน้ำหนักให้ได้อีก 2 กิโล

ซึ่งการวางแผนในลักษณะนี้จะมีเดดไลน์ให้กับตัวเราเอง มีเป้าหมายที่ชัดเจนและติดตามผลได้ง่ายกว่าการตั้งเป้าหมายลอยๆ โดยไม่มีเดดไลน์ที่แน่นอน

Advertisement

Advertisement

2. คำที่ใช้ในระหว่างทำตามเป้าหมายไม่ได้เป็นคำในแง่บวก

คำพูดแง่บวก

เป็นที่รู้กันดีครับว่า สิ่งที่เราพูด สิ่งเราคิดส่งผลต่อการกระทำของเรา การตั้งเป้าหมายก็เช่นกัน เช่น คุณบอกตัวเองว่าฉันจะลดความอ้วน ฉันจะไม่กินของหวาน ไม่กินชานมไข่มุก ไม่กินอาหาร Junk food พอบอกตัวเองแบบนี้ผลที่ตามมาคือ ภาพของ ชานมไข่มุก ไก่ทอด พิซซ่า ขนมหวาน ลอยขึ้นมาในหัวทันทีใช่มั้ยครับ ลองเปลี่ยนเป็นฉันจะกินผัก กินผลไม้ กินอาหารสุขภาพ น้ำหนักฉันจะได้ลดและมีสุขภาพดีขึ้นด้วย เพราะสิ่งที่เราพูด สิ่งเราคิดนั้นส่งผลต่อการกระทำของเรานั้นเองครับ

3. เป้าหมายที่เราตั้งนั้นไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริงของเรา

ใช่เป้าหมายของเราหรือเปล่า

เป้าหมายที่เราตั้งนั้นควรเป็นเป้าหมายส่วนตัวและต้องการทำจริงๆ ไม่ใช่การตั้งเป้าหมายเพื่อทำตามคนอื่น สถานะการณ์แบบนี้คงเคยเกิดขึ้นกับเราใช่มั้ยครับ เรายังไม่อยากจะลดน้ำหนักแต่แฟนบอกให้เราบอกให้ลดน้ำหนัก ถึงเราเอออ่อและยอมทำตามเพื่อเอาใจ แต่คงต้องฝืนใจทำ และแน่นอนเมื่อฝืนใจทำยังไงก็คงไม่สำเร็จ

ในช่วงเวลา 4 เดือนที่เหลือในปี 2020 นี้ ท่านใดที่มีเป้าหมายอะไรในใจและตั้งใจจะเริ่มลงมือทำอะไรอยู่ ก็ลองนำเอา 3 สาเหตุของ Jonathan Alpert นี้มาวิเคราะห์ ว่าตัวเรานั้นทำพลาดแบบที่ Jonathan Alpert บอกอยู่หรือเปล่า

ผมขออวยพรให้ทุกคนที่ได้อ่านบทความนี้ เป็น 12 % ที่ทำตามเป้าหมายได้สำเร็จกันทุกท่านครับ

Advertisement

Advertisement

Credit Photo: https://www.canva.com/

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
สาระศาสตร์
สาระศาสตร์
อ่านบทความอื่นจาก สาระศาสตร์

นักอ่านที่อยากทดลองเส้นทางนักเขียน

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์