อื่นๆ

จะทำอย่างไร เมื่อชีวิตไม่เป็นตามที่หวัง ลองมารับมือแบบ “Wabi-Sabi” กันดู

405
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
จะทำอย่างไร เมื่อชีวิตไม่เป็นตามที่หวัง ลองมารับมือแบบ “Wabi-Sabi” กันดู

หลายๆคนคงเคยเจอสถานการณ์ที่กระทบจิตใจ  อย่างการทำงานพลาด ทำตามแผนไม่สำเร็จ ทำธุรกิจไม่รุ่ง ล่าสุดยังเจอช่วงโควิด (Covid 19) ทำให้ช้ำเข้าไปอีก หลายครั้งที่เรารู้สึกว่าแม้จะทำเต็มที่แล้วแต่ชีวิตนั้นไม่เป็นใจเอาซะเลย อุปสรรคในชีวิตทำเอาเราตั้งคำถามกับตนเองบ่อยๆ ว่าฉันไม่ดีพอ ไม่เก่งพอหรือเปล่า ทำไมฉันถึงเจอปัญหาในชีวิตแบบนี้กันนะ

หากใครเป็นแบบนี้ขอให้ยกมือขึ้น เราอยู่ทีมเดียวกันนะคะ ผู้เขียนก็เป็นคนหนึ่งที่เจอเรื่องน่าช้ำใจอยู่บ่อยครั้ง และแต่ละปัญหาที่เจอนั้นทำให้รู้เลยว่ามันไม่ได้อยู่ที่ความหนักหนาสาหัสของปัญหาหรือการหาวิธีแก้ไข แต่มันอยู่ที่ความรู้สึกต่างหาก บางเรื่องนั้นทำให้เราจดจ่อกับปัญหาหรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจนไม่กล้าเดินต่อ ความเฟลจากรอยด่างพร้อยของตนเองนี่แหละตัวปัญหา เป็นตัวการที่ทำให้เราหมดแรงเดินไปข้างหน้าได้ง่ายๆเลยค่ะ

Advertisement

Advertisement

Wabisabi, วะบิซะบิ, วะบิซาบิ, ปรัชญาชีวิต, คำคมชีวิต, ถ้วยเซรามิค, philosophy, ปรัชญา, ญี่ปุ่น

ผู้เขียนอยู่ในวังวนความเฟลแบบนี้สักพักใหญ่ๆ จนได้รู้จักกับปรัญชาหนึ่งที่ดูเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ดี มีชื่อว่า "Wabi-Sabi" (侘寂) หรือ วะบิซาบินั่นเองค่ะ วะบิซาบินี้เป็นหนึ่งในปรัชญาการดำรงชีวิตของชาวญี่ปุ่น กล่าวถึงความไม่สมบูรณ์แบบที่สวยงาม ด้วยคำว่า "วะบิ" มีความหมายถึงความเบิกบานใจไม่ว่าจะในยามใดก็ตาม อีกนัยหนึ่งสื่อถึงการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายโดยไม่เดือนร้อนใจในความเปลี่ยนแปลงของชีวิต  ส่วนคำว่า "ซาบิ" เป็นหนึ่งในสี่องค์หลักของเซนที่ประกอบด้วย  ความสัมพันธ์ ความเคารพ ความบริสุทธิ์ และความสงบ ซึ่งซาบิ แปลว่าความสงบนิ่งนั่นเอง

Wabisabi, วะบิซะบิ, วะบิซาบิ, ปรัชญาชีวิต, คำคมชีวิต, ถ้วยเซรามิค, philosophy, ปรัชญา, ญี่ปุ่น เมื่อทั้งสองสิ่งนี้มาผสานกันทำให้เกิดมุมมองใหม่ของการใช้ชีวิต โดยชี้ให้มองชีวิตแบบเรียบง่าย ไม่สั่นไหวแม้ว่าจะเกิดรอยแผลมากขนาดไหน เราเพียงยอมรับและเรียนรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะมันไม่ได้มาลดคุณค่าของชีวิตเรา มันเพียงมาเติมแต่งชีวิตให้สวยงามขึ้นเท่านั้น

Advertisement

Advertisement


Perfectly Imperfect มองเห็นความงามในความไม่สมบูรณ์แบบ

แนวคิดแบบวะบิซาบินี้อาจฟังดูคล้ายนิกายเซน แต่จริงๆแล้วอาจพูดได้ว่าต่อยอดมาจากเซนมากกว่า เหตุเพราะวะบิซาบิเป็นแนวคิดที่พัฒนาขึ้นในสมัยยุคกลางของญี่ปุ่นซึ่งเป็นยุคที่นักรบขึ้นมามีบทบาทในบ้านเมืองเป็นอย่างมาก เกิดศึกนอกศึกในมากมาย แนวคิดวะบิซาบินี้จึงเกิดมาเพื่อพยุงให้ชาวเมืองเกิดความเข้มแข็งในสนามรบ ด้วยแนวคิดที่สื่อให้เห็นถึงโลกแห่งความเป็นจริงดังนิกายเซน และเพิ่มเติมโดยชี้นำให้ตระหนักถึงความไม่สมบูรณ์นี้ด้วยจิตใจสงบที่เปี่ยมด้วยความเข้าใจ

Wabisabi, วะบิซะบิ, วะบิซาบิ, ปรัชญาชีวิต, คำคมชีวิต, ถ้วยเซรามิค, philosophy, ปรัชญา, ญี่ปุ่น

วิถีชงชาของชาวญี่ปุ่นนั้นเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงแนวคิดนี้ได้อย่างชัดเจน โดยมีรากฐานมาจากปรมาจารย์แห่งพิธีชงชาเซน โนะ ริคิว  (Sen no Rikyu)เรือนชงชาของชาวญี่ปุ่นถูกสร้างมาด้วยวัสดุที่ไม่คงทนถาวร สามารถเสื่อมได้ตามกาลเวลา เช่น ตึกสร้างด้วยไม้ ฉาบผนังด้วยดิน และประตูกระดาษ ทำให้ต้องซ่อมแซมอยู่เป็นระยะๆ ภายในห้องมีถ้วยชาทำจากวัสดุธรรมชาติแต่ละใบแต่งแต้มด้วยร่องรอยการใช้งาน มีคราบบ่งบอกถึงกาลเวลา หากสื่อถึงวะบิซาบิโดยแท้ถ้วยชาจะไม่ถูกปั้นให้สมมาตร หากแต่คงความเป็นธรรมชาติด้วยความขรุขระและสากของดิน

Advertisement

Advertisement

Wabisabi, วะบิซะบิ, วะบิซาบิ, ปรัชญาชีวิต, คำคมชีวิต, ถ้วยเซรามิค, philosophy, ปรัชญา, ญี่ปุ่น

เราจะเข้าใจแนวคิดนี้ได้ง่ายขึ้นจากงานศิลปะที่ชื่อว่า "Kintsugi" (金継ぎ) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Golden joinery ค่ะ เป็นการซ่อมถ้วยชามที่เป็นเครื่องปั้นดินเผาหรือเซรามิคด้วยยางไม้ จากนั้นนำสีทองมาวาดตกแต่งรอยแตกนั้น ทำให้ได้เครื่องชามหน้าตาแปลกใหม่ที่ดูสะดุดตาด้วยรอยเชื่อมสีทองแผ่ขยายอย่างงดงามไปตามรอยแตกร้าว สะท้อนให้เราเห็นถึงการยอมรับรอยแตกหักที่เกิดขึ้นและเรียนรู้ที่จะแก้ไข สุดท้ายแล้วรอยร้าวนี้แหละที่ทำให้เกิดความงดงามที่ไม่เหมือนใคร ชีวิตเราก็เช่นกัน


Precious Flaws รอยด่างพร้อยมอบคุณค่า

เราจะมองต้นซากุระเพียงเวลาที่ดอกของมันบานสะพรั่ง

เราจะมองดวงจันทร์เพียงเวลาที่ไม่มีเมฆบัง อย่างนั้นหรือ

- คำถามในข้อเขียน Essays of Idleness (徒然草) ของ นักบวชเค็นโค (Yoshida Kenkō)

แนวคิดวะบิซาบินี้ชี้ให้เรามองปัญหาในชีวิตแบบไม่ไหวหวั่น เริ่มจากการเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น ดังเช่นเรือนชงชาของริคิวว่าชีวิตนั้นไม่ถาวรคงทนหรอก เราจะต้องคอยซ่อมมันอยู่เสมอๆแหละ และเมื่อชีวิตถูกใช้งานไปตามกาลเวลา มันก็ไม่แปลกเลยที่จะเกิดร่องรอย เมื่อเราเข้าใจได้เช่นนี้แล้วเราจะสามารถลุกเดินต่อได้อย่างมั่นคง ไม่ถือโทษโกรธตนเองและไม่ปล่อยให้ใครมาตัดสินว่าเราเป็นอย่างไร

เราสามารถโอบกอดรอยแตกร้าวนี้ได้เต็มที่และเรียนรู้จากมันเพื่อพัฒนาตนเอง ดังเช่นการแต่งเต้มสีทองบนรอยร้าวของถ้วยชาม หากเราไม่เห็นรอยร้าวก่อน เราคงไม่สามารถวาดสีทองประดับบนภาชนะนั้นได้อย่างงดงามเป็นแน่ ดังนั้นรอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นนี่แหละเป็นสิ่งนำคุณค่า ไม่ได้ลดคุณค่าของเราแต่อย่างใด

Wabisabi, วะบิซะบิ, วะบิซาบิ, ปรัชญาชีวิต, คำคมชีวิต, ถ้วยเซรามิค, philosophy, ปรัชญา, ญี่ปุ่น

ผู้เขียนเข้าใจว่าการบอกให้มองชีวิตเรียบง่ายคงเป็นเรื่องที่พูดได้แต่ทำยากในโลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขันเช่นนี้ ความผิดพลาดหรือแม้แต่ความผิดหวังนั้นอาจทำให้เราเผลอลดค่าตนเองอยู่เสมอๆ ขอเพียงเก็บแนวคิดนี้สำรองไว้ในใจเผื่อเราจะได้เห็นอีกมุมของชีวิตว่าอุปสรรคทั้งหลาย อาจเกิดมาเพื่อเป็นรอยร้าวให้เราแต้มสีทองทับลงไป เพื่อให้เกิดความงดงามที่เราสรรค์สร้างได้แต่เพียงผู้เดียวก็ได้นะคะ


ปรัชญาที่ได้นำมาแบ่งปันนี้เป็นหนึ่งในหลายๆปรัชญาที่ผู้เขียนชื่นชอบและเห็นว่าสามารถเติมกำลังใจให้ชีวิตได้ค่ะ จริงๆแล้วมีอีกหลายปรัชญาที่น่าสนใจ หากมีโอกาสจะนำมาแบ่งปันอีก มีกำลังใจเดินหน้าต่อไปด้วยกันนะคะ :)

ติดตาม Writer และผลงานอื่นๆได้ที่ : Singkling 'เขียน'

ภาพถ่ายโดย Singkling

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.unlockmen.com/wabi-sabi-work/

https://themomentum.co/wabi-sabi/

https://www.bareo-isyss.com/service/decor-guide/wabi-sabi-decor/

https://becommon.co/culture/wabi-sabi-wabi-simply/

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก :  เว็บไซต์ Unsplash ภาพถ้วยชามเซรามิค ภาพเรือนชงชา

ภาพ Kintsugi จากเว็บไซต์ artsy.net


Hashtag:

#ปรัชญาชีวิต #wabisabi  #ประสบการณ์ #ชีวิต #เรื่องเล่า #วะบิซาบิ #ปรัชญาญี่ปุ่น #ปรัชญา #กำลังใจ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
Singklingเขียน
Singklingเขียน
อ่านบทความอื่นจาก Singklingเขียน

ส่วนหนึ่งของไดอารี่ที่เก็บไว้ให้คุณอ่านค่า :) Contact by IG: Itsdiady หรือ itssingkling (รับวาดภาพค่

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์