ไลฟ์แฮ็ก

จัดระเบียบชีวิต

118
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
จัดระเบียบชีวิต

การอยู่พอดี กินพอดี ใช้วิถีชีวิตแบบเรียบง่าย ในยุคปัจจุบันนี้ถือเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ยาก บางคนมีมาก มากจนไม่รู้จะนำสิ่งที่อยู่ไปทำอะไร แต่ก็ยังคงไขว่คว้าต่อไป แต่บางคนมีน้อย น้อยจนแทบจะไม่มีอะไรเลย พยามวิ่งไล่ไขว่คว้าหามันมา แต่ยิ่งหาก็ยิ่งห่างไกล ออกไปทุกที บางคนวิ่งจนท้อ คนสองกลุ่มมีความต้องการหรือจุดประสงค์ในการไขว่คว้าที่แตกต่างกัน กลุ่มแรกมีความต้องการเพื่อสร้างความร่ำรวย สร้างชื่อเสียงเกียรติยศ ผิดกับกลุ่มที่สองต้องการเพื่อให้พอมีกิน มีใช้เพื่อให้มีชีวิตรอด ไม่ได้หวังความร่ำรวย ทำให้ความไม่เท่าเทียมเกิดขึ้นในสังคม เกิดการแข่งขัน ชิงดีชิงเด่น ใครดีใครได้ สังคมแห่งการพึ่งพาที่เคยมีมาในสมัยปู่ ย่าตา ยาย นั้น เริ่มเลือนหายไปทุกที ทุกฝ่ายทุกกลุ่มล้วนถูกครอบงำด้วยอำนาจเงินและวัตถุนิยม จนทำให้เกิดแนวคิด"มือใครยาวสาวได้สาวเอา" และค่านิยม "ไม่มีต้องหา ไม่มาต้องกู้ยืม"

Advertisement

Advertisement

ภาพประกอบโดย ผู้เขียนการจัดระเบียบชีวิต คือ การจัดการชีวิตให้มีระเบียบ มีแบบแผน มีกฏเกณฑ์ ไม่สับสน ไม่วุ่นวาย หรือไม่ใช้ชีวิตแบบ"มั่วๆ" ไปกับกระแสสังคม ไม่ให้หลงระเริงไปกับโลกยุคโลกาภิวัตน์ แล้วทำไมถึงต้องมีการจัดระเบียบชีวิต ก็เพราะชีวิตไม่มีระเบียบหรือมีแต่ไม่ดีพอ ทำให้สับสน วุ่นวาย เกิดปัญหา เกิดหนี้สิน และมีความทุกข์ บางท่านอาจคิดว่าการจัดระเบียบชีวิตเป็นเรื่องที่ยาก สับสนวุ่นวาย  ที่จริงการจัดระเบียบชีวิตเป็นเรื่องที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ทุกคนสมควรต้องทำ มันทำได้ไม่ยากและไม่ง่าย ขอเพียงแต่หากเรามีความตั้งใจที่จะทำ การจัดระเบียบชีวิตก็เปรียบดังการเล่นกีฬา ผู้เป็นโค้ชจะต้องคอยคัดเลือกคอยกำกับดูแลนักกีฬา มีการเตรียมคน เตรียมร่างกาย เตรียมอุปกรณ์ ศึกษา กฏ กติกา และเตรียมงบประมาณให้เพียงพอ เมื่อเตรียมทุกอย่างพร้อมเวลาแข่งจะได้ไม่เกิดปัญหาและสับสน ชีวิตเราก็เช่นเดียวกันต้องมีการวางแผนให้มีความพร้อม ไม่ปล่อยให้ชีวิตให้ล่องลอยไปตามกระแสสังคมแบบไร้ทิศทาง ไร้การควบคุม เราต้องเป็นโค้ชให้กับตนเอง คอยกำกับ คอยควบคุมดูแล ความคิด ความต้องการ(กิเลส)​ของตนเองอยู่เสมอ ว่าสิ่งใดสำคัญ สิ่งใดไม่สำคัญ สิ่งใดควรสิ่งใดไม่ควร สิ่งใดเหมาะสม สิ่งใดไม่เหมาะสม รู้จักยอมรับได้และพร้อมที่จะปฏิเสธเป็น

Advertisement

Advertisement

ภาพประกอบโดย ผู้เขียนปัญหา ทุกชีวิตตั้งแต่เกิดลืมตามาดูโลก ปัญหาจะเข้ามาเป็นเงาตามตัวหรือเป็นเพื่อนเราไปจนกระทั่งหมดลมหายใจถึงจะหลุดพ้นจากปัญหาได้ ปัญหามีอยู่ 4 ระดับอันได้แก่ ระดับบุคคล ระดับครอบครัว ระดับชุมชนหรือสังคม และระดับชาติ ซึ่งปัญหาทุกระดับล้วนส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนทั้งสิ้น  ปัญหาอาจเกิดจากล่างสู่บนหรือจากบนลงล่าง เชื่อมสัมพันธ์กันแบบลูกโซ่ แต่ถ้าทุกคนได้มีการจัดระเบียบชีวิตที่ดีและถูกต้องจะช่วยให้ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ไปกระทบกับส่วนอื่นหรือหากจะกระทบบ้างก็เป็นเพียงเล็กน้อย

หนี้ ในที่นี้จะขอแบ่งหนี้ออกเป็น 2 ประเภท คือ หนี้ที่เป็นนามธรรมกับหนี้ที่เป็นรูปธรรม

1.หนี้ที่เป็นนามธรรมหรือหนี้บุญคุณ คือ หนี้ที่เกิดจากการให้ เช่น ให้ชีวิต ให้ความช่วยเหลือ ให้ความรัก ให้ความซื่อสัตย์ ให้ความจงรักภักดี เป็นหนี้เฉพาะบุคคลที่ไม่สามารถเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาทได้ การชดใช้หนี้ประเภทนี้คือ "การทดแทน" การลงโทษจะใช้ กฎ ระเบียบ ของบ้านเมืองมาบังคับกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งให้ชำระหนี้ประเภทนี้โดยทางตรงไม่ได้เพราะมันขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของแต่ละบุคคล แต่บุคคลที่ละเลย เพิกเฉย ไม่มีจิตสำนึกที่จะทดแทนหนี้จะถูกลงโทษโดยกฏของธรรมชาตินั่นคือ"กฏแห่งกรรม"

Advertisement

Advertisement

2.หนี้ที่เป็นรูปธรรมหรือหนี้สิน เป็นหนี้ที่มีผลตามกฏหมาย เป็นมรดกตกทอดไปยังทายาทได้ ผู้ที่มีหนี้ชนิดนี้จะต้อง "ชดใช้" หากมีการบิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตามสัญญา ปัญหาย่อมเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และจะส่งผลกระทบจากบุคคล สู่ครอบครัว สู่สังคม สู่ประเทศชาติ กฏ ระเบียบ ของบ้านชุมชนหรือสังคมจะถูกนำมาบังคับใช้อย่างเป็นธรรม การนำกระบวนการจัดระเบียบชีวิต เป็นการสร้างกระบวนการให้คนมิให้ลุ่มหลง มัวเมา มีความยั้งคิดหรือคิดก่อนทำไม่ใช่ทำก่อนคิด มีคุณธรรมและมีความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกต่อตนเอง ต่อครอบครัวตลอดถึงสังคม

ภาพประกอบโดย ผู้เขียนทุกข์ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วไม่ได้เป็นไปตามความต้องการ ไม่ได้เป็นไปตามความคาดหวังตั้งใจและไม่ได้เป็นไปตามความคิดหรือเจตนาของแต่ละบุคคล ทุกข์เกิดได้ 2 ทาง คือ

1.ทุกข์เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ การเจ็บไข้ได้ป่วย ความหิวกระหาย ร้อน เย็น หนาว ความโศกเศร้าเสียใจ อาลัยอาวรณ์ การพลัดพราก

2.ทุกข์เกิดขึ้นจากกิเลสของบุคคลเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าทุกคนไม่มีกิเลส ทุกคนย่อมมีกิเลสในตัวเองทั้งนั้น จะมีมากหรือมีน้อยแตกต่างกันไป อยู่ที่การกระทำ(กรรม)​ ใครมีกิเลสมากย่อมทุกข์มาก ใครมีกิเลสน้อยความทุกข์ย่อมมีน้อย ตามเหตุและปัจจัยหรือผลของการกระทำ(กรรม)​ นั้น

การจัดระเบียบชีวิต.ในการด้านการบริหารความทุกข์ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ที่ไม่ควรมองข้าม อย่าคิดว่าทุกข์ได้ก็สุขได้ จริงอยู่หากคิดเช่นนั้นก็มีส่วนถูก แต่ถ้าทุกข์นั้นเกิดขึ้นเรื่อย เกิดขึ้นบ่อยๆ โดยเราไม่มีการเตรียมตัว้ตรียมใจ ไม่มีวิธีการที่รับมือหรือไม่มีเครื่องมือป้องกันหรือจัดการกับความทุกข์นั้น เรามิอยู่กับความทุกข์นั้นอย่างทรมานตลอดไปหรือ มีเครื่องมือชนิดหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้มีความทุกข์เข้าใจความทุกข์ แม้จะมีทุกข์มากหรือน้อยก็ไม่ตระหนกตกใจหรือว้าวุ่นใจจนเกินเหตุสามารถมีรอยยิ้มท่ามกลางความทุกข์ได้นั่นคือ การที่เราเข้าศึกษาเรียนรู้ตามแนวทาง"อริยสัจสี่" ที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานไว้ให้ หากเราได้เรียนรู้ ได้เข้าใจว่า ทุกข์ คือ สิ่งที่ควรรู้ สมุทัย คือ สิ่งที่ควรละ นิโรธ คือ  วิธีการทีจะทำให้ไม่มีทุกข์ มรรค คือ สิ่งที่ควรมีเพื่อเป็นแนวทางที่นำมาปฏิบัติเพื่อให้ไม่มีทุกข์ เพราะหากเราได้เข้าใจในสัจธรรมนี้แล้ว จะช่วยปรับเปลี่ยนให้ความทุกข์กลายเป็นความสุขตลอดไป

ภาพประกอบโดย ผู้เขียนการจัดระเบียบชีวิต คือ การออกจากสภาพที่ถูกครอบงำเพื่อกำหนดชีวิตของตนเอง ว่าต้องการอะไร (What)​ จะไปทางไหน(Where)​ และอย่างไร(How)​

หมายเหตุ

1.ภาพประกอบบทความนี้ผู้เขียนได้จัดทำขึ้นเองโดยอาศัยแบบต้นร่างจาก Canva

2.คำหรือข้อความบางคำผู้เขียนได้นำมาจากหนังสือ วิถีสู้ชีวิตพอเพียง ของ ดร.เสรี พงศ์พิศ : เมษายน 2552)​

ผู้เขียนจึงขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ทำให้บทความนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์