อื่นๆ

ชีวิตของเพอร์เฟ็กชั่นนิสต์คนหนึ่ง

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ชีวิตของเพอร์เฟ็กชั่นนิสต์คนหนึ่ง

ผู้เขียนเป็นหนึ่งคนที่ชื่นชอบความสมบูรณ์แบบมาก โดยเฉพาะจะเป็นเอามากจัดกับเรื่องงานที่ตัวเองทำ คราใดที่เห็นจุดผิดพลาดของตัวเองโดยเฉพาะเรื่องงานจะรู้สึกนอยด์ จิตตกเป็นพิเศษ แล้วเฟลอย่างยิ่งยวด เหมือนโดนหวดด้วยไม้เบสบอลและลงไปนั่งซึมเศร้าอยู่ตรงมุมห้อง แต่จะว่าไปเมื่อมาลองนั่งคิดนอนคิดดูดี ๆ แล้ว คุณลักษณะแบบนี้ของผู้เขียน นั้นก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แตกต่างกัน มีแง่มุมที่น่าสนใจ ซึ่งผู้เขียนก็คาดว่าน่าจะมีประโยชน์ต่ออ่านผู้อ่านไม่มากก็น้อยครับ!

1. ต้นกำเนิด

DNAรูปภาพจาก Pixabay.com

ความเป็นเพอร์เฟ็กชั่นนิสต์ของผู้เขียน มันไม่ได้เกิดขึ้นมาโดย DNA แต่อย่างใด แต่มันเกิดขึ้นมาจากการอยากเป็นที่ยอมรับของสังคม หรือใครสักคน ว่าเรานั้นเทพ นั้นเจ๋งขนาดไหน จะว่าไประบบการศึกษาก็มีส่วนทำให้เรามีคุณลักษณะนี้ คือ เราไม่กล้าจะยกมือตอบคำถามคุณครู ถ้าเราไม่รู้ว่าคำตอบนั้นมันถูกต้องจริง ๆ (ซึ่งความจริงแล้วถึงเรารู้ ก็ไม่กล้าตอบอยู่ดีนั่นแหละ! ฮ่า ๆ )

Advertisement

Advertisement

อีกอย่างคือ เราเป็นคนที่ค่อนข้างสมาธิสั้น ไม่ค่อยสนใจเรื่องสำคัญ สนุกสนาน ซุ่มซ่าม ปล่อยปะละเลยบ่อย ๆ จนเกิดความผิดพลาดแล้วก็ถูกด่าว่าเป็นประจำ แม้ธรรมชาติของเราจะเป็นแบบนั้น อันตรงข้ามกันกับสิ่งที่เราเป็นในปัจจุบัน แต่เราก็โคตรชอบอะไรที่มันสมบูรณ์แบบเลย(ว่ะ) รู้สึกว่า (ฟินน่ะ) เออถ้าเราเพอร์เฟ็กก็จะไม่มีใครมาว่าเราได้อีกแล้วไง! (ซึ่งมันก็ไม่จริงนะ เพราะไม่ว่าจะดีแค่ไหน โลกนี้ก็จะมีคนชอบและไม่ชอบอยู่ดี 55)

นั่นแหละ ๆ พอทำงานอันมีมาตรฐานสูงออกมาจนเสร็จ ได้แบบที่พึงพอใจได้แล้ว มันสุขล้น ภูมิใจในตัวเอง เราจึงเลือกในการเป็นคนที่ค่อนข้างจริงจังมากจนถึงปัจจุบัน (ตอนนี้เหลือแค่บางเรื่องแล้วนะ)

2. ความวายป่วงในการเป็นมนุษย์ติดความสมบูรณ์แบบ

เครียดรูปภาพจาก Pixabay.com

คือเราเป็นคนชอบผัดวันประกันพรุ่งมาก เราเป็นคนชอบการทำงานรวดเดียวจบ ให้มาทำทีละนิด ทีละน้อย มันคล้ายกับการไม่ค่อยจริงจังทุ่มเทสักเท่าไร ฉะนั้นเลยต้องรอเวลาที่สามารถทำงานได้อย่างดีที่สุด ซึ่งกว่าจะได้เริ่มทำ คนอื่นเขาก็ไปไหนต่อไหนกันแล้ว

Advertisement

Advertisement

ด้วยความที่รอเวลานานอย่างนี้ พอได้ทำสักทีก็เหมือนหลุดไปอยู่ในอีกโลกหนึ่ง เราชอบเวลาการทำงานแบบนี้มาก (คือมีความสุขจัดเลย เหมือนที่ทำอยู่ไม่เหมือนทำงานน่ะ) เลยทำมันหามเช้าหามค่ำไม่สนใจใคร บางทีพอเครื่องติดแล้วทำเพลินไม่กินข้าว ทำจนกระทั่งเช้าก็มี มันก็เสียสุขภาพได้ง่าย ๆ เลยเหมือนกัน แต่ดันเลิกไม่ได้เพราะงานออกมาดีกว่าปกติมาก (และเรารู้สึกว่างานสนุกกลายเป็นเรื่องบันเทิงซะอย่างนั้น) ว่ากันตามจริงไม่อวยตัวเองนะ เพราะถึงแม้งานจะดีในด้านคุณภาพ แต่ในด้านปริมาณนั้นสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ความไม่สม่ำเสมอ เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอในทุกวาระการทำงาน

อีกอย่าง เราจูนการทำงานกับคนอื่นติดยากมาก คือไม่ใช่ว่าคนที่เป็นเพอร์เฟ็กชั่นนิสต์นั้นจะไม่สามารถทำงานกับคนอื่นได้นะ แต่วิธีการทำงานของเราเฉพาะเจาะจงมากเกินไปจนคนอื่นไม่เข้าใจ เช่น เราส่งงานช้าไม่ใช่เพราะทำไม่เสร็จ แต่ยังไม่ได้มาตรฐานดี ถ้าเพื่อนร่วมงานไม่เข้าใจเรา ก็เกิดปัญหาต่อกันได้ หรือบางทีเราอาจชี้จุดแก้ไขที่มากเกินไปจนหลายคนรับไม่ได้มันก็มี

Advertisement

Advertisement

3. ความดีงามและการรักษาสมดุล

เก่งแบบสมดุลรูปภาพจาก Pixabay.com

เราเชื่อว่าไม่มีใครเป็นเพอร์เฟ็กชั่นนิสต์ได้จริง ๆ เมื่อเจอกับปัญหา ความเครียด หรือปัญหาความสัมพันธ์ ในที่สุดเหล่าเพอร์เฟ็กชั่นนิสต์เหล่านั้นจะรู้ตัวว่า เป็นแบบนี้ต่อไปก็ไม่เพอร์เฟ็กเอาเสียเลยในชีวิตที่ต้องการความสุข จึงต้องแสวงหาทางออกของปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นจนได้

เราจะเกิดปรับตัวเพื่อแก้ไขทุกปัญหาได้อย่างเพอร์เฟ็กที่สุด สบายใจที่สุด และงานออกมาได้อย่างมีมาตรฐานที่สุด (ไม่ใช่สมบูรณ์แบบที่สุด) นั่นแหละคือข้อดีของการแสวงหาความสมบูรณ์แบบ! ที่สมบูรณ์แบบไปด้วยทั้งด้านงาน ความสัมพันธ์ สุขภาพ และความสุข!

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์