อื่นๆ

ชีวิตในค่ายอาสา Ep. 1

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ชีวิตในค่ายอาสา Ep. 1

จริงๆแล้วแนวทางการใช้ชีวิตของเราแต่ละคนไม่แปลกเลยที่จะมีความชอบที่แตกต่างกัน และในขณะเดียวกันผู้เขียนเองก็อาจจะมีความชอบที่อาจจะแตกต่างจากผู้อื่นออกไป วันนี้จึงอยากจะเขียนเล่าเรื่องราวความชอบอีกรูปแบบของผู้เขียนเอง ที่อาจจะเหมือนกับใครหลายคน และอาจจะแต่งต่างออกไปจากใครอีกหลายๆคน แต่บทความนี้ไม่ได้มีความตั้งใจที่จะแบ่งแยกแนวทางชีวิตหรือแนวความชอบของใครหรือมิได้บ่งบอกว่าแนวทางของใครดีกว่าของใคร เพราะผู้เขียนเองเชื่อเสมอว่าความชอบและการใช้ชีวิตของทุกคนถึงแม้จะแตกต่างกัน แต่ก็มีประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป ขอแค่ความชอบนั้นและไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับใคร

ครั้งแรกของการออกค่ายอาสา ในรั้วมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ซึ่งในตอนนั้นเป็นที่รู้กันว่าเอกการพัฒนาชุมชน มีอีก 1 จุดเด่นที่หลายๆคณะชื่นชมนั่นก็คือ ชมรมอาสาพัฒนาชนบท ที่มีการตกทอดกันมารุ่นต่อรุ่น และยังคงมีการสืบสานต่อมาจนถึงปัจจุบัน พวกเราเหล่านักศึกษาเอกพัฒนาชุมชน มีความเชื่อกันว่าช่วงระยะเวลาการเรียน ป.ตรี อย่างน้อยๆต้องออกค่ายอาสา 1 ครั้ง ถึงจะได้เรียนรู้การเรียนพัฒนาชุมชนอย่างสมบูรณ์แบบ เพราะความรู้ของการเรียนพัฒนาชุมชนไม่ได้อยู่แค่ในตำราและห้องเรียนเพียงแค่นั้น

Advertisement

Advertisement

ค่ายครั้งที่ 1 ของผู้เขียนเริ่มขึ้นตอนที่ผู้เขียนเรียนอยู่ปี 2 โดยมีความชื่นชอบค่ายอาสาอยู่แล้ว และยิ่งมีรุ่นพี่ให้คำแนะนำเพิ่มเติม ยิ่งเพิ่มความอยากเข้าร่วมชมรมขึ้นอีก ครั้งนี้ผู้เขียนและเพื่อนๆ รวมถึงน้องปี 2 บางส่วน ได้ออกเดินทางตามรุ่นพี่ไปยังจุดหมายของค่าย ซึ่งเป้าหมายในปีนี้คือ โรงเรียนบ้านเหมืองควนกรด หมู่ที่ 7 ตำบลท่าหมอไทร อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ถึงแม้ว่าจุดหมายของค่ายในครั้งนี้จะไปไม่ไกลจากรั้วมหาลัยมากนัก แต่โรงเรียนแห่งนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการช่วยเหลือ โดยเรานำเงินที่ได้มาจากหลายๆส่วน มาลงกับงานดีกว่าเอาไปเป็นค่าเดินทางไปออกค่ายไกลๆแล้วได้งานน้อย

งานหลักของค่ายนี้คือการปูพื้นตัวหนอน เนื่องจากทางโรงเรียนมีพื้นที่แต่บริเวณรอบๆ เป็นพื้นดินทั้งหมด เวลาทำกิจกรรมนอกห้องเรียนเด็กๆจะต้องนั่งทำกิจกรรมบนพื้นดิน และยิ่งช่วงฤดูฝนจะไม่สามารถออกมาทำกิจกรรมการเรียนการสอนนอกห้องเรียนได้เลย ทางโรงเรียนจึงอยากจะขอลานพื้นตัวหนอนไว้ให้เด็กๆได้ทำกิจกรรม ภาพถ่ายพี่น้องชาวอาสาช่วยกันทำงานที่รับมอบหมาย

Advertisement

Advertisement

รูปแบบของค่ายอาสา ถึงแม้ที่นี้จะเป็นค่ายอาสาไม่ใช่ในห้องเรียนก็ตาม แต่สิ่งที่ชาวค่ายทุกคนจะต้องปฏิบัติไม่ต่างจากมาเรียนหนังสือคือ การตรงต่อเวลา การรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด และมีความสามัคคีในหมู่คณะถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ค่ายไปได้ ซึ่งในวันแรกที่เดินทางมาถึงก็มีคณะครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการหมู่บ้านมารอต้อนรับมากมาย ในวันนี้จึงเป็นแค่การประชุมปรึกษาตรวจเช็คอุปกรณ์ในการทำงาน เพื่อเตรียมความพร้อมไว้ในวันพรุ่งนี้

เช้าแรกในค่ายอาสา การเดินทางมาค่ายอาสาคงเป็นเรื่องปกติที่เรื่องการกินและที่หลับที่นอนจะเป็นเรื่องง่ายๆ อาจจะมีบางคน บางกลุ่มก็จัดหาที่นอนรวมกันตามอาคารเรียน บางคนก็จัดเตรียมที่นอนตามรูปแบบความชอบของตัวเอง อย่างของผู้เขียนเองก็เลือกนอนเต็นท์สนามที่ได้เตรียมมา เวลา 08.00 น. ทุกคนในค่ายต้องทำภารกิจของตัวเองเสร็จหมดแล้ว และมาเข้าแถวเคารพธงชาติร่วมกันที่หน้าเสาธง โดยมีท่านอาจารย์ เทพกร พิทยาภินันท์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และท่านอาจารย์เทพกร ยังเป็นนักเขียนที่ผู้เขียนเองชื่นชอบในผลงานของท่านหลายเล่ม อีกทั้งยังเป็นผู้ที่ทำให้ผู้เขียนเองเริ่มเขียนบทความและมีความชื่นชอบในการเขียน และชมรมอาสาพัฒนาชนบทยังมีอาจารย์ที่ปรึกษาอีกหนึ่งท่านที่ถือว่าเป็นอาจารย์แม่ของพวกเรา คอยแนะนำคอยช่วยเหลือในเรื่องของการจัดเตรียมค่ายเสมอมา  ท่านนั้นคือ อาจารย์ ถวิล อินทรโม อาจารย์ที่ปรึกษาค่ายอาสาพัฒนาชนบท และยังเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาการพัฒนาชุมชนอีกด้วย ภาพถ่ายการเคารพธงชาติในทุกๆเช้า

Advertisement

Advertisement

เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วภารกิจหลักจึงเริ่มขึ้น เนื่องจากพวกเราได้เรียนรู้ว่าการปูตัวหนอนไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับคนที่ไม่มีประสบการณ์อย่างพวกเรา การทำงานจึงรอรับคำสั่งและขอคำแนะนำจากรุ่นพี่เป็นหลัก พวกเราใช้เวลาในการดำเนินการ ถ้าผู้เขียนจำไม่ผิดคือ 4 วัน ซึ่งหมายกำหนดการเดิมต้องเสร็จตั้งแต่วันที่ 3 และในวันที่ 4 จะต้องเคลียร์ของและพร้อมที่จะเดินทางกลับ แต่เนื่องจากในคืนของวันที่ 2 หลังจากที่งานเดินหน้าไปเกือบครึ่งทาง อยู่ๆก็มีฝนเทลงมาอย่างหนักในพื้นที่ จึงทำให้งานที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำไว้ได้รับความเสียหาย แต่ก็ทำให้พวกเราได้ทราบว่าการอัดพื้นทรายยังไม่แน่นเพียงพอ พี่ค่ายจึงตัดสินใจรื้อตัวหนอนที่ปูแล้วทั้งหมดขึ้นมาใหม่ และเริ่มทำงานกันใหม่ในเช้าวันที่ 3 โดยในรอบนี้มีการแบ่งหน้าที่กันเพิ่มขึ้น  แม่ครัวเวรยังต้องออกมาช่วยทำงานโดยทุกอย่างได้มีการวางแผนใหม่ในที่ประชุมสรุปงานของค่ำคืนนั้นภาพการประชุมสรุปงาน

ภาพการทำงานภาพการทำงานความสามัคคีคือพลัง อย่างที่หลายคนกล่าวไว้  ไม่มีปัญหาใดแข็งแรงกว่า ความสามัคคีได้ และก็เป็นจริง วันที่ 4 ของการเดินทางกลับมหาลัยและต้องส่งงานให้ทางโรงเรียนในตอนเช้าและช่วงบ่ายขึ้นรถกลับ แต่แล้วช่วงเช้าของวันที่ 4 พวกเรายังบุกงานชุดสุดท้ายให้สำเร็จ ก่อนจะส่งงานและเดินทางกลับ จากปัญหาฝนตกที่เกิดขึ้นทำให้งานช้าไปครึ่งวันจากหมายกำหนดการเดิม แต่งานของพวกเราก็เสร็จสมบูรณ์พร้อมส่งมอบให้เด็กได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ สำหรับบางท่านอาจจะบอกว่าเพราะความโชคดี แต่สำหรับผู้เขียนเองมองว่าที่สำเร็จได้ในครั้งนี้เพราะความสามัคคี การจัดการแผนงานและแก้ไขแผนงานให้ทันกับปัญหาของอาจารย์ที่ปรึกษาทั้ง 2 ท่านและพี่ๆชมรมอาสาทุกคน

ภาพถ่ายโดย golf_jira:R

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
เด็กชายคลอง
เด็กชายคลอง
อ่านบทความอื่นจาก เด็กชายคลอง

เป็นคนชอบเที่ยว ชอบมากคือป่า เขา และชอบถ่ายภาพ

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์