ไลฟ์แฮ็ก

ชื่อเรียกก้อนเมฆแต่ล่ะชนิด จำง่าย ๆ เข้าใจไม่ยาก

2.5k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ชื่อเรียกก้อนเมฆแต่ล่ะชนิด จำง่าย ๆ เข้าใจไม่ยาก

เมื่อเราเหนื่อยล้า แค่เงยหน้ามองท้องฟ้าก็มีความสุข
แต่ บางทีก็นึกสนุกอยากรู้ชื่อของเมฆแต่ล่ะแบบ ที่เคยเรียนมากันตั้งแต่ประถม หรือ มัธยมต้น เชื่อว่าหลายคนคงลืมเกลี้ยง คืนอาจารย์หมดแล้ว บางคนก็อาจจะจำชื่อได้คร่าว ๆ แต่ไม่รู้ว่าเป็นชื่อของเมฆชนิดไหน บทความนี้จะไม่ได้เป็นเชิงวิชาการ แต่เป็นวิธีการจำชื่อคร่าว ๆ หวังว่าจะทำให้คุณผู้อ่าน นึกชื่อเมฆบนท้องฟ้าออกไม่มากก็น้อย


มาทำความรู้จักกับชนิดของเมฆหลัก ๆ มีแค่ 2 แบบ คือ เมฆแบบก้อน และเมฆแบบแผ่น
โดยที่เมฆแบบก้อน จะมีชื่อว่า Cumulus
และเมฆแบบเป็นแผ่น จะมีชื่อว่า Stratus
หากเมฆที่ท่านเห็นมีทั้งแบบก้อน และแบบแผ่นรวมกัน จะเรียกว่า Stratocumulus

เมฆยามเย็น
การเกิดเมฆจะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ เมฆที่เกิดอยู่เหนือพื้นดินไม่สูงมากนัก  เมฆที่ลอยสูงขึ้นไปมากที่สุด และเมฆชั้นกลาง ที่อยู่ระหว่างเมฆชั้นสูงและเมฆชั้นต่ำ

เมฆชั้นต่ำจะทำให้เกิดฝน หากเห็นเมฆชนิดนี้ก่อนฝนตก ให้จำไว้สองคำ คือ นิมโบ และ นิมบัส โดยให้ดูว่าเมฆที่เห็นเป็นแบบก้อนหรือแบบแผ่น หากเป็นเมฆแบบก้อนจะใส่ คำว่า นิมบัส ตามหลัง จึงได้เป็นคำว่า Cumulonimbus เมฆลักษณะนี้ จะทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง หากเป็นเมฆแบบแผ่นจะใส่ คำว่า นิมโบ ขึ้นหน้า จึงได้เป็นคำว่า Nimbostratus ถ้ามีเมฆแบบนี้จะมีฝนตกปรอย ๆ

เมฆbts

ต่อไปเป็นเมฆชั้นกลาง ซึ่งเกิดขึ้นที่ความสูงประมาณ 2 - 6 กิโลเมตร จากพื้นดิน เมฆชั้นนี้ในบางครั้งจะมองเห็นเป็นสีเทา เนื่องด้วยมีความหนาแน่นพอที่จะบังดวงอาทิตย์ จึงทำให้เกิดเงา ให้ใส่คำว่า alto ไปข้างหน้า เมฆแบบก้อน จะได้ชื่อว่า Altocumulus เมฆแบบแผ่น จะได้ชื่อว่า Altostratus

บังแดด
เมฆชั้นสูง จะเกิดที่ความสูงมากกว่า 6 กิโลเมตร เมฆชั้นนี้จะมีเพียงสีขาวเท่านั้น ด้วยความที่มีความหนาแน่นต่ำ จึงไม่สามารถบดบังดวงอาทิตย์ได้ ให้ใส่คำว่า cirro ไปข้างหน้า  ฉะนั้น Cirrocumulus จึงเป็นเมฆที่มีลักษณะเป็นก้อน ส่วน Cirrostratus จึงเป็นชื่อของเมฆชั้นกลางที่มีลักษณะเป็นแผ่น
ญี่ปุ่น
และสุดท้าย เมฆชนิดนี้จะมีเพียงแบบเดียว มีลักษณะคล้ายขนนก เรียกว่า Cirrus จะเกิดขึ้นในวันที่อากาศดี ท้องฟ้าปลอดโปร่งเขาค้อ

Advertisement

Advertisement


ธรรมชาติรอบตัว ล้วนมีแต่ความสวยงาม สร้างความจรรโลงใจ คงจะดีใช่น้อย หากเราจะทำความรู้จัก และสังเกต สิ่งที่ธรรมชาติกำลังสื่อกับเรา


วันนี้คุณได้แหงนหน้ามองท้องฟ้าแล้วหรือยัง


ภาพโดยผู้เขียน

Advertisement

Advertisement

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์