อื่นๆ

ช่วงฤดูฝน...กับคนที่นี่

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ช่วงฤดูฝน...กับคนที่นี่

เมื่อเดือนพฤษภาคมมาเยือน ฤดูกาลก็เปลี่ยนผ่านจากหน้าร้อนสู่หน้าฝนเต็มตัว ปีนี้ทางกรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งมาว่าวันที่ 13 พฤษภาคม 2565 เข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการ

มีผลต่อคนในพื้นที่ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีอย่างไรบ้าง

ตำบลไล่โว่เรื่องที่หนึ่งของคนที่นี่ ก็เกี่ยวกับวิถีการปลูกข้าวไร่ เป็นช่วงวิถีแห่งการหยอดข้าวไร่ เพราะหน้าดินเริ่มอ่อนตัว เนื้อดินได้อุ้มน้ำ การหยอดเมล็ดข้าวในช่วงแรกฝนจึงสมดุลกัน คนที่นี่ยังคงปลูกข้าวไร่หรือที่รู้จักกันว่า "ไร่หมุนเวียน" ไม่ใช่ "ไร่เลื่อนลอย" ที่เคยเข้าใจผิดกัน

ไร่ข้าวการทำไร่หมุนเวียน คือ การใช้พื้นที่อย่างสมดุล พื้นที่ไหนที่เคยทำไร่ข้าวไปแล้ว จะต้องปล่อยทิ้งไว้อย่างน้อย 3-7 ปี ถึงจะสามารถวนกลับมาทำไร่ได้อีกครั้ง เพราะเป็นการฟื้นฟูสภาพป่าให้กลับมาคงที่ได้อีกครั้ง ไม่ให้พื้นที่โล่งเตียนจากการทำต่อเนื่องในทุกๆ ปี และในไร่ข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่ก็เป็นพื้นที่เชิงเขา สามารถปลูกพืชผักอื่นๆ เสริมได้ ไม่ว่าแตงกวา แตงไทย พริก ข้าวโพด แมงลัก เผือก มัน ฯลฯ

Advertisement

Advertisement

เผือกโดยเป็นการผสมผสานและบริหารจัดการในพื้นที่เดียวกัน กว่าจะได้เกี่ยวข้าวในช่วงเดือนพฤศจิกายน ก็สามารถนำพืชผักที่ปลูกแทรกในไร่ข้าวมาบริโภคได้ตลอด แล้วแต่อะไรจะนำมาทำอาหารได้ในแต่ละช่วง

เส้นทางเรื่องที่สองของคนที่นี่ เกี่ยวกับการเดินทาง ด้วยหมู่บ้านที่เป็นพื้นที่ภูเขา การเดินทางก็จะลำบาก เพราะไม่ได้มีเส้นทางที่สะดวก โดยเฉพาะหมู่บ้านที่อยู่ห่างจากตัวอำเภอ ยังเป็นพื้นที่ใช้เส้นทางธรรมชาติและเดินทางลำบากเพราะมีอุปสรรคหลายๆ อย่าง ทั้งสายน้ำ ที่ทำให้การเดินทางมีความเสี่ยง

เส้นทางฝ่าน้ำ

บางเส้นทางไม่สามารถเดินทางได้ด้วยรถยนต์เพราะแม่น้ำที่สูงขึ้นในช่วงฤดูฝน และหมู่บ้านที่อยู่ติดกับแม่น้ำก็มีโอกาสที่จะเสี่ยงกับน้ำท่วมได้เสมอ เพราะเคยเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2561 มาแล้ว หรือกิ่งไม้ ต้นไม้ที่ล้มขวางทางอยู่บ่อยครั้งหรือแม้แต่เส้นทางขาดก็เกิดบ่อย

Advertisement

Advertisement

น้ำท่วมทำให้การเดินทางในช่วงฤดูฝนจึงเป็นอุปสรรคอย่างมาก ยิ่งถ้าเป็นการขนส่งผู้ป่วยก็ยิ่งลำบากขึ้นอีกหลายเท่า โดยเฉพาะการขนส่งทางบก ส่วนทางอากาศก็เสี่ยงต่อสภาพอากาศที่ยากต่อการบินของเฮลิคอปเตอร์อีกด้วยเพราะที่นี่ฟ้าปิดบ่อยเพราะฝนตกทีก็ตกอย่างต่อเนื่องเสมอ

เส้นทางสายโคลนเรื่องที่สามของคนที่นี่ คือ พลังไฟฟ้า ตำบลไล่โว่ยังเป็นอีกพื้นที่ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า เนื่องจากเป็นพื้นที่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก จึงยังไม่มาสามารถเดินสายไฟฟ้าเข้าในพื้นที่ได้ จึงต้องใช้แผงโซล่าเซลล์และเครื่องปั่นไฟเป็นหลักในการใช้พลังงานไฟฟ้า

แผงโซล่าเซลล์บ้านของคนทั่วไป ไม่ใช่วัด โรงเรียน หรือหน่วยงานทางราชการก็จะใช้แผงโซล่าเซลล์เป็นหลักในการใช้ไฟมาให้แสงสว่างในเวลากลางคืน หรือดูโทรทัศน์เท่าที่ได้ หรือใช้โทรศัพท์ในพื้นที่ที่มีสัญญาณ แต่ด้วยฤดูฝนของที่นี่ถ้าตกต่อเนื่องกันหลายๆ วัน พลังงานในแบตเตอรี่ที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์ก็ไม่เพียงพอ สัญญาณโทรศัพท์ก็ขาดหาย ไฟที่จะใช้ให้แสงสว่างก็อาจจะไม่เพียงพอ การติดต่อสื่อสารกับที่อื่นก็จะลำบากหรือตัดขาดไปด้วยเลย

Advertisement

Advertisement

แผงโซล่าเซลล์2ทั้ง 3 ประการ ไม่ว่า วิถีชีวิตการปลูกไร่ข้าว การเดินทาง และพลังงานไฟฟ้าของคนที่นี่ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว บางอย่างก็อาจจะเหมือนกับพื้นที่ที่อื่น บางอย่างก็แตกต่างจากที่อื่น แต่ที่นี่ "ตำบลไล่โว่" ก็เป็นพื้นที่ที่ไม่ต้องจ่าย "ค่าน้ำ ค่าไฟ" เหมือนที่อื่นๆ น้ำเราได้จากภูเขาและแม่น้ำ ส่วนไฟ เราได้จากพลังงานสะอาดของแสงอาทิตย์ (ถึงแม้ว่าฤดูฝนจะเจอแสงอาทิตย์น้อยไปหน่อยก็ตาม) คือ แผงโซล่าเซลล์

คนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง

หากใครที่ได้มาเยือน มาสัมผัสที่นี่ ก็จะเห็นเสน่ห์หลายๆ อย่างที่ทำให้อยากมาสัมผัสอีกครั้ง โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบวิถีแบบบ้านๆ แบบติดป่า เพราะที่นี่คือ "ตำบลไล่โว่" ตำบลแห่งวิถีคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงของจังหวัดกาญจนบุรี เมืองชายแดนด้านตะวันตกของเรา


เครดิต

ภาพปก และภาพประกอบที่ 1-10 โดยผู้เขียน

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์