อื่นๆ

ตัดสินใจไม่ได้ ลองทำตามนี้ แนะข้อคิด เลือกที่เรียนต่อระดับปริญญาตรี

639
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ตัดสินใจไม่ได้ ลองทำตามนี้ แนะข้อคิด เลือกที่เรียนต่อระดับปริญญาตรี

สำหรับน้อง ๆ ที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจเลือกที่เรียนต่อในระดับปริญญาตรี เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ได้ที่เรียนที่ถูกใจกันแล้วหรือยัง ติดปัญหาด้านใดกันบ้างไหม วันนี้ เราจะมาแบ่งปันข้อคิดในการเลือกที่เรียนเพื่อเป็นตัวช่วยให้น้อง ๆ ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

ก่อนอื่นต้องบอกว่า ด้วยการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรกลุ่มวัยผู้เรียนมีจำนวนน้อยกว่าอัตราการเปิดรับตามแผนของมหาวิทยาลัย ดังนั้น การอัตราการแข่งขันของผู้เรียน จึงไม่น่ากดดันเท่ากับการเพิ่มจำนวนผู้เรียนของแต่ละมหาวิทยาลัย นั่นหมายความว่า หลายมหาวิทยาลัยมีที่ว่างรอน้อง ๆ อย่างแน่นอน ด้วยเหตุผลข้างต้นนี้ เราจึงอยากแนะข้อคิดในการเลือกที่เรียนสำหรับศึกษาต่อปริญญาตรี ดังนี้ค่ะ

confirm

1. อย่ากลัวจะไม่มีที่เรียน จนเร่งรีบตัดสินใจ รีบยืนยันสิทธิกับมหาวิทยาลัยนั้น ๆ  เพราะยังมีมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งที่เปิดรับสมัคร และรอให้น้อง ๆ เลือกที่จะเรียน น้อง ๆ บางคนสมัครเรียน โดยยังไม่รู้ความต้องการของตัวเอง และบังเอิญผ่านการคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยนั้น ๆ ก็จะรีบยืนยันสิทธิตามระบบทันที เพราะกลัวว่าจะไม่มีที่เรียน จนมารู้ตัวอีกที อ้าว!! จริง ๆ แล้ว อยากเรียนอีกทีหนึ่งนี่นา แต่ก็เสียค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ไปแล้ว เราอยากให้น้อง ๆ ใจเย็น ๆ และค่อย ๆ เลือกอย่างรอบคอบนะคะ

Advertisement

Advertisement

friend

2. อย่าเลือกเรียนตามเพื่อน เพราะกลัวไม่มีใคร เมื่อเราก้าวข้ามรั้วโรงเรียนไปสู่รั้วมหาวิทยาลัย ภายในรั้วนั้นจะมีกิจกรรมมากมายให้น้อง ๆ ได้ทำความรู้จักเพื่อนใหม่ เก็บเพื่อนโรงเรียนไว้เจอกันในช่วงปิดเทอมก็ยังได้ ลองเพิ่มสังคมเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองที่แตกต่างดูนะ

university

3. อย่ามองข้ามมหาวิทยาลัยใกล้บ้าน น้อง ๆ บางคนมีค่านิยมที่จะรอโบยบินจากบ้านของตัวเองเพื่อไปสู่ต่างจังหวัด  เพื่อให้ได้ใช้ชีวิตแบบตัวคนเดียว สิ่งหนึ่งที่เราอยากฝากให้คิด คือ การเลือกเรียนมหาวิทยาลัยใกล้บ้านนั้น จะช่วยทางบ้านประหยัดได้ระดับหนึ่งเลยทีเดียว ทั้งทางด้านที่พัก และค่าเดินทาง หากอยากใช้ชีวิตห่างไกลจากบ้าน รอมีงานทำ แล้วออกไปใช้ชีวิตก็ยังไม่สาย

choose

4. เลือกคณะที่ชอบ ข้อนี้สำคัญ น้อง ๆ ควรรู้ความต้องการของตัวเอง มีความสนใจทางด้านใด อยากเรียนอะไร มองอนาคตตัวเองไว้อย่างไร โดยเลือกจากความชอบ หรือความต้องการของตัวเอง เพราะหากเรียนรู้จากสิ่งที่เราชอบ และตามความต้องการแล้วนั้น น้อง ๆ จะตั้งใจและเรียนรู้อย่างมีความสุข สามารถมองหาช่องทางในการต่อยอดความรู้ นำไปสู่การประสบความสำเร็จทางด้านอาชีพได้อย่างแน่นอน

Advertisement

Advertisement

trend

5. มองแนวโน้มตลาดอาชีพในอนาคตเป็นองค์ประกอบ ข้อนี้อาจจะยากไปสักนิด เพราะกว่าเราจะเรียนจนอย่างน้อยก็ใช้เวลาถึง 4 ปี แนวโน้มอาชีพเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่ก็ควรเอามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบในการตัดสินใจ หรือมองอาชีพจากอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันก็อาจจะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้บ้าง เช่น ความมั่นคงในอาชีพ ความมั่นคงในรายได้ ความเสี่ยงหรือผลกระทบต่ออาชีพนั้น โดยเฉพาะในช่วงนี้ การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่ออาชีพ และรายได้ที่เรามองเห็นได้อย่างชัดเจน น้อง ๆ ลองสังเกตคนรอบข้างดูนะคะ เขาประกอบอาชีพอะไร และเขาได้รับผลกระทบอย่างได้จากความไม่แน่นอนเช่นนี้

ช่วงนี้เป็นช่วงที่หลายมหาวิทยาลัยกำลังเปิดรับสมัครนักศึกษา ซึ่งเปิดกันหลายรอบไม่ว่าจะเป็นรอบโควตา รอบแฟ้มสะสมผลงาน หรือรอบพิเศษใด ๆ อีกมากมาย เป็นโอกาสที่น้อง ๆ จะช้อปปิ้งเลือกเรียนได้อย่างอิสระภายใต้ความต้องการเรียนในคณะหรือสาขาที่ชอบโดยแท้จริง

Advertisement

Advertisement

อย่างไรก็ตาม ไม่ผิดหากน้อง ๆ จะใช้คำว่า ลองเลือกเรียน เมื่อรู้ว่า สิ่งที่เรียนไม่ใช่ทางถนัด อย่าฝืนที่จะเรียน เพราะจะทำให้น้อง ๆ ไม่มีความสุขไปตลอดชีวิตของการเรียน และอย่าลืมว่า สิ่งที่ลองนั้นมีค่าใช้จ่ายทั้งหมด การศึกษา คือ การลงทุน ลงทุนอย่างไรให้คุ้มค่า ลงทุนอย่างไรให้ได้ผลกำไรคืนกลับมา ใช้ 5 ข้อเสนอแนะนี้ในการตัดสินใจเลือกที่เรียนต่อในระดับปริญญาตรีนะคะ

ขอบคุณภาพจาก

1. https://pixabay.com/th/illustrations/เบ็ด-เครื่องหมายถูก-ตรวจสอบออก-829942/

2. https://pixabay.com/th/photos/คน-นักเรียน-มหาวิทยาลัย-6027028/

3. https://pixabay.com/th/photos/ห้องสมุด-การศึกษา-เพื่อนร่วมชั้น-1822683/

4. https://pixabay.com/th/photos/ความคิดที่-ทางเลือก-ประสบความสำเร็จ-3845389/

5. https://pixabay.com/th/photos/สถิติ-ลูกศร-แนวโน้มที่-เศรษฐกิจ-2899919/

6. ตกแต่งภาพหน้าปก โดยใช้ https://www.canva.com/

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์