ไลฟ์แฮ็ก

ตั้งตารอ "เรื่องสนุก" อยู่เสมอ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ตั้งตารอ "เรื่องสนุก" อยู่เสมอ

ขอบคุณรูปปกจาก : https://www.canva.com

รู้สึกมีความสุขกับวันหยุดมากยิ่งขึ้นเมื่อได้

“ตั้งตารอคอย”

“ช่วงเวลาที่สุขที่สุดคือช่วงก่อนจะถึงวันหยุดจริง ๆ ”

ผมคิดว่าน่าจะเป็นความรู้สึกร่วมกันของผู้คนไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กหรือผู้ใหญ่ ก็ตามเมื่อเริ่มต้นปีงบประมาณใหม่ในเดือนตุลาคม มักเป็นช่วงที่งานยุ่งมาก แต่ยังมีแรงสู้ต่อได้เพราะตั้งเป้าหมายไว้ที่ช่วงวันหยุดยาวถัดไป คือช่วงโกลเด้นวีคเมื่อเข้าสู่ช่วงธันวาคม อีกไม่นานจะเข้าสู่วันหยุดฤดูร้อนส่วนช่วงที่แสนยุ่งวุ่นวายในสิ้นปี เราสามารถก้าวข้ามผ่านไปได้เพราะความหวังที่จะได้พักผ่อนหย่อนใจในช่วงวันหยุดปีใหม่

ก่อนวันปีใหม่ คือวันที่แสนยุ่ง ส่งท้ายปี

ขอบคุณรูปจาก : https://pixabay.com

“ ทำงานอีกแค่อาทิตย์เดียวก็ได้หยุดยาวแล้ว”

“ ถ้าเป็นเวลานี้ในสัปดาห์หน้าได้ไปเที่ยวทะเลที่ต่างประเทศแล้ว”

“ หากงานเสร็จวันนี้พรุ่งนี้ก็ได้นอนตื่นสาย”

Advertisement

Advertisement

ความรู้สึกคาดหวัง ความโล่งใจ และความรู้สึกเบิกบานก่อน เข้าสู่วันหยุดช่วยสร้างความสุขให้กับพวกเราช่วงครึ่งแรกของวันหยุดเรายังคงรู้สึกสนุกสนานอยู่ แต่ปัญหาอยู่ที่ช่วงเวลาครึ่งหลังพอใกล้หมดวันหยุด ก็จะเริ่มรับรู้ถึงโลกแห่งความจริงที่ต้องกลับไปทำงาน

“ ใกล้จะหมดวันหยุดแล้วสินะ ... ”

“ พรุ่งนี้ก็ต้องกลับไปทำงานอีกแล้ว”

รู้สึกใจหาย เมื่อวันหยุดใกล้จะหมดลง

ขอบคุณรูปจาก : https://pixabay.com

สำหรับบางคนที่พลังงานเยอะอาจมองว่า“ ได้พักผ่อนเต็มที่แล้วพรุ่งนี้พร้อมสู้งานต่อ” แต่คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ตกอยู่ภายใต้ความรู้สึกเทา ๆ หม่น ๆ  ที่เข้ามาเยือน

ความรู้สึกว่ากำลังจะมีความสุข จะสร้างความสุขให้เกิดขึ้นจริงทางประสาทวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายการเกิดความรู้สึกที่ว่า “ช่วงที่มีความสุขที่สุดคือช่วงก่อนถึงวันหยุดจริง” ได้เหตุผลมาจากลักษณะเฉพาะตัวของโดพามีนซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง ผู้คนนิยมเปรียบเทียบโดพามีนว่าคือ “สารแห่งความสุข” หน้าที่ของโดพามีนในการสื่อประสาท คือการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ทำให้รู้สึกสนุกสนานรื่นรมย์ อธิบายในอีกทางหนึ่งได้ว่าคือพลังงานที่ก่อตัวขึ้น เมื่อได้รับรางวัลอะไรสักอย่าง เช่น ได้รับโบนัสหรือคำชมจากเจ้านาย

Advertisement

Advertisement

ในขณะเดียวกันโดพามีนทำให้เราไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เมื่อเข้าสู่ระดับความสนุกที่มากเกินไป เช่น กรณีของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บุหรี่หรือสิ่งผิดกฎหมายอย่างสารเสพติดที่เรา

“ หยุดไม่ได้”

“ เลิกไม่ได้”

กล่าวคือมีด้านลบที่อาจก่อให้เกิด “ อาการเสพติด” ความคาดหวังที่ว่า“ อีกไม่นานก็ได้หยุดแล้ว” เป็นตัวไปกระตุ้นการหลังของสารโดพามีน อาจกล่าวได้ว่าความคาดหวังส่งผลต่อการสร้างสารโดพามีนมากกว่าการได้ “หยุดพัก” จริง ๆ เสียอีก เราพบข้อมูลยืนยันจากผลการวิจัยว่า “สารโดพามีนเองไม่ได้ก่อให้เกิดความสุข” และจากการทดสอบด้านจิตวิทยาเราทราบว่าสิ่งที่สามารถกระตุ้นสารโดพามีนได้ผลมากที่สุดไม่ใช่ “ความสุข” ในปัจจุบันแต่เป็น “ความคาดหวัง” ต่ออนาคตในกรณีของอาการเสพติดนิโคตินก็เช่นกัน ดูเหมือนว่าความคาดหวังว่า“ ต่อจากนี้จะได้สูบบุหรี่” สามารถกระตุ้นการหลั่งโดพามีนได้มากกว่าความสุขขณะ สูบบุหรี่ทั้งที่ทราบดีว่าบุหรี่ไม่ดีต่อร่างกาย แต่ไม่สามารถยืนต่อความคาดหวังนี้ได้จึงทำให้เผลอสูบบุหรีอยู่เรื่อย ๆ

Advertisement

Advertisement

ในทางตรงข้ามอย่างที่ทราบดีว่าไม่มีอาการ “เสพติดวันหยุด” อยู่จริง เมื่อเปรียบเทียบ “ วันหยุด” กับสารที่สามารถเสพติดได้ง่าย นับว่าปลอดภัยกว่ามาก อีกทั้งการพักผ่อนเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับมนุษย์เรา

วางแพลนวันหยุดไว้ล่วงหน้า

ขอบคุณรูปจาก : https://pixabay.com

เมื่อมองในมุมของสารโดพามีนหากเราต้องการรักษาแรงจูงใจที่ดีในการทำงานให้ได้ตลอด สิ่งสำคัญคือการวางแผนเตรียม “ความคาดหวัง” ในวันหยุดให้ได้ตลอดทั้งปีนั่นเอง“ อีกไม่นานวันหยุดจะสิ้นสุดแล้วรู้สึกหน่วง ๆ ยังไงไม่รู้ ... ”เมื่อคุณรู้สึกเช่นนี้ให้คิดหา“ ความคาดหวัง” ครั้งใหม่จะช่วยให้สารโดพามีนหลั่งและส่งผลให้อารมณ์ดีขึ้นตามมา อาจไม่ต้องถึงกับเป็นการวางแผนไปเที่ยวในสัปดาห์หน้า แค่เพียงค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ที่อยากไปหรือเพียงได้มองดูเอกสารโบรชัวร์ท่องเที่ยวต่าง ๆ เพียงเท่านี้อารมณ์ของคุณจะดีขึ้นอย่างแน่นอน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์