อื่นๆ

ตั้งใจอู้งานยังดีกว่า ทำงานได้แย่ลงเพราะเหน็ดเหนื่อย

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ตั้งใจอู้งานยังดีกว่า ทำงานได้แย่ลงเพราะเหน็ดเหนื่อย

ขอบคุณรูปปกจาก : https://www.canva.com

“ตอนนี้ได้รับมอบหมายงานที่เมื่อก่อนทำกัน 3 คนเปลี่ยนเหลือแค่ 2 คน” คำบ่นในลักษณะนี้จากคนไข้ได้ที่รับฟังบ่อย ๆ ในห้องตรวจไม่ใช่แค่การที่บริษัทลดคน โดยเลิกจ้างพนักงานเท่านั้น ยังมีกรณีที่ต้องช่วยงานส่วนของเพื่อนร่วมงาน ที่หยุดงานเนื่องจากเจ็บป่วย

อาจไม่สามารถใช้กฎของแลนเชสเตอร์ที่ว่า“ ขนาดของกำลังพลผันแปรด้วยสูตรคำนวณยกกำลังสอง” มาอธิบายได้แต่ในความรู้สึกที่ว่าเมื่อคนหายไป 1 คนส่งผลให้กำลังพลลดลงไปมากกว่า 1

คนนั้นน่าจะไม่ต่างกันไม่ต่างจากการที่รถบรรทุกน้ำหนักเกิน มักจะก่ออุบัติเหตุได้ง่ายไม่ว่างาน หรือความเครียดหากมีมากเกินไปก็เป็นต้นตอของความ เจ็บป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ

อู้งาน เพื่อฟื้นพลังงานกาย และ พลังใจ ให้กลับมา ขอบคุณรูปจาก : https://pixabay.com/th/photos/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87-%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%9A-1784755/

Advertisement

Advertisement

ดังนั้นควรให้น้ำหนักกับสิ่งสำคัญที่สุดก่อนอย่างงานที่มีความสำคัญสูงสุด หรือสุขภาพของตัวเองและครอบครัวโดยวางเรื่องที่ไม่สำคัญนักไว้

ก่อนกล่าวคือให้ใช้กลวิธี “ ตัดทอนขั้นตอนอย่างฉลาด ” หรือ“ อู้งาน” ซึ่งนับเป็นทักษะที่ขาดไม่ได้เพื่ออยู่รอดในสังคมต่อจากนี้เมื่อได้ยินคำว่า“ อู้งาน” คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่มองในเชิงลบคราวนี้เราลองมาพิจารณา“ การอู้งาน” ในมุมบวกที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งตนเองและผู้อื่นกันหากมองในมุมกว้าง ๆ การพยายามหาเวลาสำหรับตัวเองให้ได้สัก 30 นาทีใน 1 ชั่วโมงก็เป็น“ การอู้งาน” ประเภทหนึ่งเหมือนกัน เราอาจจะใช้เวลานั้นในการนั่งเหม่อคิดอะไรไปเรื่อยคิดวางแผนในวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือวันหยุดยาวหรืออาจจะใช้สำหรับวางแผนชีวิตการทำงานชีวิตครอบครัวในระยะยาว ก็ไม่เลวเลยเมื่อยุ่งมาก ๆ มีไม่น้อยเลยที่มักทำงานด้วยความเคยชิน ใช้ความพยายามสูงแต่ได้ผลตอบแทนต่ำ หรือว่าประสิทธิภาพลดลงนั่นเอง

Advertisement

Advertisement

ในสถานการณ์เช่นนี้ ถ้าคุณเป็นพวกมนุษย์สารพัดประโยชน์ ที่พยายามจะรักษาภาพลักษณ์ที่ดีกับทั้งบริษัทและองค์กรยิ่งไม่รู้ว่าต้อง “ อู้งาน” อย่างไรท้ายสุดจึงถูกไหว้วานให้ทำงานจากทั่วสารทิศได้ผลลัพธ์ที่ดี

เมื่อวางแผนหยุดครึ่งวันล่วงหน้าบางคนกลัวไม่กล้า “อู้งาน” เพราะคิดว่า

“ เดี๋ยวเพื่อนร่วมงานจะลำบาก”

“ อู้งานมากเท่าไรปริมาณงานก็เพิ่มขึ้นเท่านั้น”

บางคนไม่กล้า ที่จะลางาน เพราะไม่กล้าพอ เนื่องจากกลัวถูกนินทาขอบคุณรูปจาก : https://pixabay.com/th/photos/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%9B-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5-%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2-1605906/

หรืออาจมีบางคนมองว่าการอู้งาน เป็นบาปหนักสร้างความเดือดร้อนให้กับคนอื่นอย่างมาก ในความเป็นจริงแล้วมีบางคนในที่ทำงานมองคนขอลาหยุดในเชิงลบอย่าง “ หมอนั้นท่าจะว่างมาก” และสำหรับ “ เจ้านายที่มักรู้สึกไม่พอใจเมื่อลูกน้องขอใช้วันลาพักร้อน” ก็คงคิดไม่ต่างกันซึ่งคนเหล่านี้มีจำนวนไม่น้อยเลย เบอร์ทรันด์รัสเซลล์ นักปรัชญาผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับ “ ทฤษฎีแห่งความสุข”

Advertisement

Advertisement

ได้กล่าวถึงความเกียจคร้านและความเบื่อหน่ายว่า คนทำงานย่อมรู้สึกผิดต่อความเกียจคร้านพร้อม ๆ กับมองว่าเป็นความใฝ่ฝันรูปแบบหนึ่งกล่าวคือพฤติกรรม“ อู้งาน” เกี่ยวพันกับความคิดความรู้สึกที่ซับซ้อนของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกผิดความใฝ่ฝันและการเหน็บแนมประชดประชันมองในแง่การปฏิบัติจริงวิธี“ อู้งาน” คือ การบริหารจัดการเวลาและวางแผนอย่างดีนั่นเอง

ไม่ว่าจะเป็นวันธรรมดาหรือในวันหยุดที่ต้องบริการครอบครัวให้วางแผนและหาเวลาสำหรับ “อู้ ” ไว้และ“ จดบันทึก "รวบรวมเวลาว่างเหล่านั้นไว้ในสมุดแพลนเนอร์ หากตัดสินใจว่าจะใช้เวลาครึ่งวันนี้ สำหรับเติมพลังให้เตรียมยื่นขอวันลาพักครึ่งวันกับที่ทำงานไว้ล่วงหน้าต้องพยายามเก็บรักษาเวลาสำหรับ “ อู้งาน” ไว้อย่างดี จากเจ้าหัวขโมยระวังไม่ให้มีแรงมาแทรกในช่วงเวลานั้นได้

วางแผนการอู้งานของคุณ เพื่อให้ชีวิตคุณเป็นระบบมากขึ้น

ขอบคุณรูปสวยๆจาก : https://pixabay.com/th/photos/%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1-%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99-2618814/

ปีเตอร์เอฟ. ดรักเกอร์ นักวิชาการด้านบริหารจัดการซึ่งดูห่างไกลกับหลักการ “อู้งาน” อยู่มากได้กล่าวไว้ว่า

“ คนที่ต้องการสร้างผลงานที่ดีขึ้นให้เริ่มต้นจากเวลาไม่ใช่เริ่มต้นจากงาน”

หากขยายความคำพูดนี้ คงหมายถึง ให้คำนึงเรื่องการจัดสรรและบริหารจัดการเวลาก่อนเรื่องอื่น เราอาจสามารถตีความใหม่ในเชิงว่าให้เริ่มจากการมองหาเวลาสำหรับ“ อู้ "นั่นเอง

ต้องทำอย่างไรถึงจะหา“ เวลาอู้งาน” ได้

  • เว้นเวลาว่างในช่วงบ่าย 2 โมง-3 โมงของทุกวันไว้ โดยไม่ใส่แผนอื่นลงไปเพื่อความยืดหยุ่นในทางกลับกันการที่เราเว้นช่วงเวลาว่างไว้ แบบนี้ต่อให้ทำงานก่อนหน้า ไม่เสร็จกินเวลาเกินบ่าย 2 โมงก็ไม่กระทบกับตารางงานอื่น ๆ เพราะช่วงนี้ไม่มีแผนงานอื่นอยู่แล้วจึงไม่ต้องเปลี่ยนแผนช่วงหลังบ่าย 3 โมง
  • เมื่อถึงเวลาเลิกงานหรือแม้แต่ในวันที่ทำงานล่วงเวลาเองให้หยุดพักก่อน 15 นาที
  • ให้ขีดเส้นฆ่าในช่องเวลา “อู้ ” ในสมุดแพลนเนอร์ไว้เพื่อให้ไม่สามารถวางแผนทำเรื่องอื่นได้

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์