อื่นๆ

ตาข่ายดักฝัน กับ ความเชื่อ (Dreamcatcher)

634
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ตาข่ายดักฝัน กับ ความเชื่อ (Dreamcatcher)

ตาข่ายดักฝัน(Dreamcatcher)

"ดักจับฝันร้าย และสลายหายไปพร้อมกับแสงอาทิตย์"

Dreamcatcher

ภาพและภาพปกจาก blueberrykings111 / pixabay.com

ตาข่ายดักฝัน เรื่องรางดักจับความฝัน โดยมีความเชื่อกันว่า ตาข่ายดักฝันนี้จะช่วยกรองฝันร้ายให้สลายหายไป คงเหลือแต่เพียงฝันดีให้อยู่กับตัว

ตาข่ายดักฝัน มีที่มาตามความเชื่อของชาวอินเดียแดงเผ่าโอจิบวี(Ojibwe) โดยตามตำนานกล่าวไว้ว่า มีเทพธิดาแมงมุมที่มีชื่อเรียกกันว่า Asibikaashi เธอทำหน้าที่ดูแลผู้คนและเด็กๆในหมู่บ้าน จนเมื่อเวลาผ่านไป ผู้คนในหมู่บ้านก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งยังกระจายที่อยู่แตกต่างกันซึ่งห่างออกไป จึงเป็นเรื่องยากที่เธอจะปกป้องคอยดูแลทุกคนได้หมด ดังนั้นเธอจึงให้เหล่าแม่บ้าน ทอสานใยเป็นตาข่ายดักความฝันขึ้นมา โดยมีลักษณะคล้ายใยของแมงมุม เพื่อคอยปกป้องดูแลทุกคน

Advertisement

Advertisement

Dreamcatcher

ภาพจาก austinstar / pixabay.com

เหล่าแม่บ้านจึงทำตาข่ายดักฝันขึ้นมาจากวัสดุธรรมชาติ ตัวห่วงและเส้นเอ็นทำมาจากต้นวิลโลว์ ขดรัดให้เป็นลักษณะวงกลมคล้ายห่วง ตรงกลางสานเส็นเอ็นคล้ายกันกับใยของแมงมุม ร้อยด้วยลูกปัดจากเมล็ดพืชหรือหินสี ด้านล่างตกแต่งประดับด้วยขนนก

จากนั้นจึงนำไปห้อยเหนือเตียงหรือเปลเด็ก รวมถึงแขวนไว้เหนือประตูและหน้าต่าง ตามความเชื่อที่ว่าจะสามารถกรองฝันร้ายไม่ให้ลอดผ่านเข้ามาได้ หรือหากแขวนเหนือเปลของเด็กน้อย ก็เปรียบเสมือนมีผู้คุ้มครองดูแล
เคล็ดลับในการใช้ตาข่ายดักฝันก็คือ จะต้องแขวนในที่ที่มีแสงแดดส่องถึง เพราะตาข่ายดักฝันจะมีหน้าที่ดับจับฝันร้ายให้ติดค้างตรงส่วนที่ทอคล้ายเส้นใยของแมงมุม และจะสลายหายไปเมื่อโดนพลังงานจากแสงอาทิตย์ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเช่นนี้เป็นประจำทุกเช้า

Dreamcatcher

Advertisement

Advertisement

ภาพจาก Deankez / pixabay.com

ในปัจจุบันตาข่ายดักฝันได้ถูกนำมาปรับใช้หลายแบบ ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงและมุมมองความเชื่อที่แตกต่างออกไป แต่ยังนิยมแขวนให้เด็กทารกเหนือแปลนอน(เชื่อว่าช่วยให้เด็กปลอดภัยจากสิ่งเลวร้าย รวมถึงทำให้ทารกมีพัฒนาการทางสายตาและการเรียนรู้ควบคู่ไปด้วยกับความเชื่อ) หรือแขวนบริเวณหัวเตียงนอน(เชื่อว่าจะทำให้ฝันดี) แขวนริมหน้าต่างและบานประตูเพื่อคอยดักจับสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้ามาในบ้าน รวมถึงยังนำมาทำเป็นของตกแต่งบ้านตามสไตล์โบฮีเมียน และยังนำมาทำเป็นเครื่องประดับอีกด้วย


เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์