ไลฟ์แฮ็ก
ทฤษฎีสมคบคิด ทฤษฎีที่ทำให้จินตนาการสำคัญกว่าความรู้
Photo by fotografierende from Pexels
ทฤษฎีสมคบคิด หรือ Conspiracy Theory เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยความหลงเชื่อในบางเหตุการณ์ของคนบางกลุ่ม โดยอาจจะมีหลักฐานเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยก็ได้ แต่อาศัยความเชื่อมโยงและปะติดปะต่อเรื่องราว จนเกิดเป็นความเชื่อหนึ่งขึ้นมา ซึ่งสิ่งนั้นอาจดูเหมือนจะไม่มีความจริงปนอยู่เลย (และออกจะฟังดูเกินจริงไปในบ้างครั้ง)แต่ความจริงในความจริง สิ่งเหล่านั้นก็ยังมีหลักการที่เกี่ยวข้องกับความจริงปนอยู่ด้วยบ้าง แม้จะฟังดูไม่น่าเชื่อเท่าไหร่ก็ตาม
แม้ข้อโต้แย้งหลาย ๆ อย่างจะทำให้ความเชื่อที่จากทฤษฎีสมคบคิดนี้ ถูกหักล้างไป แต่ก็ยังมักจะมีข้อโต้แย้งเล็ก ๆ เสมอที่ยังทำให้ความจริงนั้นยังดูน่าเชื่อถือในสายตาของคนเหล่านั้น และสิ่งนั้นบางทีก็เป็นเหตุผลที่ใหญ่เกินกว่าจะบอกได้ว่าเราเลือกยืนอยู่ในข้างที่ถูกต้อง ทำให้ต้องทบทวนอีกครั้งว่า ‘ความจริง’ ไหน คือ ‘ความจริง’ และ ‘ความจริง’ ไหนที่เกิดจาก ทฤษฎีสมคบคิด
Advertisement
Advertisement
ภาพโดย Dean Moriarty จาก Pixabay
หลายความเชื่อที่เกิดจากทฤษฎีนี้ได้ส่งผลกระทบสู่คนในโลกได้อย่างมากมายจนคาดไม่ถึง และฟังดูใกล้เคียงกับ ‘หายนะ’ ในบางที โดยสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้คนเชื่อในความจริงของทฤษฎีนี้คือ ความฝังใจในวัยเด็กที่แม้ว่าในตอนนั้นจะดูง่ายและแก้ปัญหาให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองได้ดี แต่กระบวนการคิดที่เกิดขึ้นอาจจะผิดเพี้ยนไป กลายเป็นความเชื่อที่ฝังหัวมาตั้งแต่เด็กที่ฟังดูขัดแย้งกับหลักความเป็นจริง แต่เราไม่อาจลบล้างมันได้ เพราะมัน ‘ฝังหัว’ ไปเสียแล้ว และเมื่อเราโตขึ้นความเชื่อนั้นจะถูกพัฒนาให้ผิดแผกไปอันเป็นที่มาของ ทฤษฎีสมคบคิด นั่นเอง
การชี้รุ้งกินน้ำแล้วนิ้วจะกุด การกลืนเมล็ดแตงโมแล้วจะทำให้มันงอกออกในท้อง ถ้าตุ๊กแกร้องเดี๋ยวตุ๊กแกจะกินตับ และความเชื่ออื่น ๆ อีกมากมาย ความเชื่อเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องผ่านมาแล้ว แต่ว่าไม่ใช่ทุกคนที่โตขึ้นมาแล้วจะมีกระบวนการคิดที่แตกต่างออกไป มันไม่ใช่ความผิดปกติเพียงเพราะความเชื่อที่แตกต่าง รวมทั้งความเชื่อที่เรารู้สึกว่าเป็นเรื่องงมงายไร้สาระก็เช่นกัน เพราะในอีกด้านหนึ่งจากมุมมองของคนที่คิดตามหลักทฤษฎีสมคบคิด เราเองอาจจะเป็นฝ่ายงมงายไร้สาระเองก็ได้
Advertisement
Advertisement
จุดร่วมระหว่าง fake news กับ ทฤษฎีสมคบคิด ดูเหมือนจะเป็นการเชื่อในสิ่ง ‘ปลอม ๆ’ เหมือนกัน และเป็นความเชื่อของคนบางกลุ่มว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ต่างกันตรงที่ fake news จะเป็นสิ่งที่ปลอมมากกว่า ในขณะที่ทฤษฎีสมคบคิดนั้นยังอาจมีข้อเท็จจริงปะปนอยู่ได้บ้าง
เครื่องมือที่สำคัญสำหรับแพร่กระจายข่าวสาร รวมถึงความเชื่อที่ผิด ๆ คือ สังคมอินเตอร์เน็ต ที่ในวันหนึ่งมีข่าวสารผ่านตาเรามาในรูปสื่อเหล่านั้นไม่รู้มากมายเสียเท่าไหร่ ซึ่งก็เป็นเรื่องยากที่จะบอกได้เช่นกัน ว่าสิ่งที่เรารับรู้ในตอนนั้นคือข่าวจริงหรือข่าวลวง ซึ่งวิธีสังเกตในเบื้องต้นสามารถทำได้ดังนี้
1.คิดให้ดีก่อนจะเชื่อ นี่คือเป้าหมายหลักเลย ถ้าข่าวปลอมมาแต่เราไม่เชื่อง่าย ๆ ก็ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของคนแพร่กระจายข่าวปลอมนี้แล้ว เมื่อได้รับข่าวอะไรมาเราต้องคิดวิเคราะห์ ใช้หลักเหตุผล คิดถึงหลักความเป็นไปได้เสียก่อน และที่สำคัญอย่ารีบใจเร็วกดแชร์ให้ผู้อื่น ต้องผ่านการตรวจสอบให้ดีเสียก่อน เช่นที่มาของข่าว ซึ่งถ้าเผยแพร่กันอย่างไร้ที่มาก็มีความเป็นไปได้สูงว่าจะถูกปลอมขึ้นมา หรือ การเผยแพร่รูปข่าวที่ดูยังไงก็ไม่น่าเชื่อถือ และการที่เราไม่แชร์ต่อนั้นจะเป็นปกป้องคนอื่นไปอีกทางให้ไม่ต้องหลงเชื่อข้อมูลแบบผิด ๆ
Advertisement
Advertisement
ภาพโดย Free-Photos จาก Pixabay
2.ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เป็นอีกทางเลือกที่ดีทีเราจะเป็นได้ทั้งบทบาทผู้ให้หรือผู้รับได้ในคราวเดียว เพราะนอกจากเราเองจะตรวจสอบข้อเท็จจริงส่วนหนึ่งของข้อมูลได้แล้ว เรายังสามารถทำความดีให้กับคนในสังคมได้ด้วยการแจ้งเบาะข่าวปลอมที่ได้รับ
ภาพโดย Wokandapix จาก Pixabay
3.ตรวจสอบข้อมูลในเว็บที่เชื่อถือได้ ซึ่งอันนี้อาจจะมีข้อจำกัดเสียหน่อยสำหรับคนที่ต้องตรวจสอบในข้อมูลด้านที่เราไม่ถนัดหรือไม่โปรดปราน ซึ่งก็จะเกิดปัญหาขึ้นอีกว่าเว็บไหนคือเว็บที่เชื่อถือได้ อันนี้ก็จะแก้ได้เพียงเบื้องต้นเท่านั้น คือ การอ่าน ๆๆๆ ข้อมูลประกอบอื่น ๆ จาก google เช่น ข่าวนักร้อง A เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอด เราก็อาจตรวจสอบดูว่าล่าสุดเคยมีอาการอย่างไร และข่าวการเสียชีวิตนี้มีเผยแพร่ที่ใดอีกบ้าง
อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้นว่านี่เป็นพียงการสังเกตเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งถ้าเราอยากจะรู้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น อาจต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์..
ความคิดเห็น