อื่นๆ

ทะเลอาร์กติก กับ น้ำแข็งที่กำลังจะหายไป

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ทะเลอาร์กติก กับ น้ำแข็งที่กำลังจะหายไป

พื้นที่น้ำแข็งในทะเลกำลังลดลง  : นักวิทยาศาสตร์ใช้วิธีการวัดระดับน้ำแข็งในทะเล เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก โดย NASA ได้ติดตามพื้นที่ขั้นต่ำของน้ำแข็งในทะเลในเดือนกันยายน และพื้นที่สูงสุดของน้ำแข็งในทะเลในเดือนมีนาคม ตั้งแต่ปี ค.ศ.1978 และพบแนวโน้มที่ชัดเจนว่าน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกกำลังหายไป โดยนักวิทยาศาสตร์น้ำแข็งในทะเลระบุว่า "ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นพื้นที่ขอบเขตต่ำสุดของน้ำแข็งในทะเล 15 ระดับ ซึ่งในแต่ละปีโลกกำลังสูญเสียน้ำแข็งขนาดประมาณพื้นที่รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย"

อาร์กติกภาพที่ 1 จาก : NASA's Scientific Visualization Studio

น้ำแข็งทะเลช่วยป้องกันภาวะโลกร้อน  : น้ำแข็งทะเลช่วยสะท้อนแสงอาทิตย์กลับสู่อวกาศ และทำหน้าที่เป็นผ้าห่มของโลกนอกจากจะป้องกันไม่ให้แสงแดดส่องเข้ามาแล้ว ยังดักจับความร้อนที่มีอยู่ในมหาสมุทร ทำให้อากาศไม่ร้อน โดยนักวิทยาศาสตร์น้ำแข็งในทะเลระบุว่า "ความสามารถของน้ำแข็งในการกักเก็บความร้อนในมหาสมุทรนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ และความหนาของมัน" ในทุกๆ ปี น้ำแข็งจะลายหายไปบางส่วนในฤดูร้อน และเมื่อหน้าหนาวมาเยือนน้ำทะเลจะก่อตัวกลายเป็นน้ำแข็ง แต่ในปัจจุบัน 70 เปอร์เซ็นต์ของน้ำแข็งประกอบด้วยน้ำแข็งที่ก่อตัวและละลายภายในหนึ่งปี ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เรียกว่าน้ำแข็งตามฤดูกาล ซึ่งน้ำแข็งที่ก่อตัวขึ้นใหม่จะมีความบางขึ้น ละลายเร็วขึ้น และแตกหักง่ายขึ้น จึงทำให้น้ำแข็งในทะเลอาร์กติกกลายเป็นผ้าห่มผืนบาง

Advertisement

Advertisement

น้ำแข็งภาพที่ 2 โดย Julia Volk จาก pexels.com

น้ำแข็งในทะเลส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่าอาร์กติกเหนือและใต้น้ำ  : น้ำแข็งในทะเลช่วยควบคุมมหาสมุทรและอุณหภูมิของอากาศ หมุนเวียนน้ำทะเลในมหาสมุทร และรักษาแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ นักวิทยาศาสตร์น้ำแข็งในทะเลได้กล่าวไว้ว่า “มีระบบนิเวศขนาดใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของน้ำแข็งในทะเล” เมื่อน้ำแข็งในทะเลลดน้อยลง สัตว์ต่างๆ เช่น สุนัขจิ้งจอก หมีขั้วโลก และแมวน้ำ จะสูญเสียถิ่นที่อยู่ นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในแหล่งน้ำใต้พื้นผิวน้ำแข็งอีกด้วย

หมีขาวภาพที่ 3 โดย Павел Гавриков จาก pexels.com

การละลายของน้ำแข็งในทะเลไม่ได้ส่งผลต่อการเพิ่มระดับน้ำทะเล  : เนื่องจากน้ำแข็งทะเลก่อตัวขึ้นจากน้ำทะเล เช่นเดียวกับน้ำแข็งในแก้วน้ำซึ่งไม่เปลี่ยนระดับน้ำในแก้วเมื่อมันละลาย การละลายของน้ำแข็งทะเลในแถบอาร์กติกไม่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนระดับน้ำทะเล แต่การละลายน้ำแข็งบนบก เช่น น้ำแข็งบริเวณเกาะกรีนแลนด์หรือแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกต่างหากที่มีส่วนทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เพราะเมื่อน้ำแข็งบนบกละลาย น้ำที่เคยกักไว้บนบกจะไหลลงสู่มหาสมุทร

Advertisement

Advertisement

น้ำแข็งภาพที่ 4 โดย cottonbro จาก pexels.com

การใช้ดาวเทียมตรวจสอบน้ำแข็งในทะเล  : มหาสมุทรอาร์กติกเป็นสถานที่ที่ยากต่อการเข้าถึงและทำการศึกษา NASA, National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA), European Space Agency และหน่วยงานอื่นๆ จึงหันไปใช้เทคโนโลยีดาวเทียมเพื่อรวบรวมข้อสังเกตและข้อมูลจากภูมิภาคนี้ โดยใช้เครื่องมือสองประเภทในการตรวจสอบน้ำแข็งในทะเล
- ประเภทแรกคือ เครื่องมือไมโครเวฟแบบพาสซีฟ วัดการปล่อยคลื่นไมโครเวฟของพื้นผิวซึ่งติดตามพื้นที่ขอบเขตน้ำแข็งเมื่อเวลาผ่านไป และสามารถระบุตำแหน่งได้อย่างแม่นยำในแต่ละปี โดยได้ตรวจสอบพื้นที่ขอบเขตน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกตั้งแต่ปี 1978 - ปัจจุบัน ซึ่งมากกว่า 40 ปี
- ประเภทที่สองคือ เครื่องวัดระยะสูง เรียกว่า Ice, Cloud and Land Elevation Satellite-2 (ICESat-2) ของ NASA เปิดตัวในปี 2018 ซึ่งสามารถใช้ในการประมาณความหนาของน้ำแข็งทะเลได้ โดยใช้เลเซอร์วัดความสูงของน้ำแข็งและระดับความสูงของน้ำ (ความสูงของน้ำแข็งเหนือผิวน้ำสอดคล้องกับความลึกของน้ำแข็งด้านล่าง) เพื่อนำมาคำนวณหาความหนารวม

Advertisement

Advertisement

ดาวเทียมภาพที่ 5 โดย SpaceX จาก pexels.com

จากสภาพอากาศที่แปรปรวนในปัจจุจบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีความเกี่ยวพันธ์กับเหตุการณ์น้ำแข็งขั้วโลกละลายซึ่งมาจากภาวะโลกร้อน และประเทศไทยที่อยู่ห่างขั้วโลกเหนือกว่า 10,000 กิโลเมตร ก็ยังโดนผลกระทบ ดูได้จากอุณหภูมิที่สูงขึ้น ภัยธรรมชาติที่พบเจอถี่ขึ้น โรคร้ายที่คร่าชีวิตผู้คนมากมาย และตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนคือ มนุษย์ ซึ่งหากมนุษย์ร่วมด้วยช่วยกันลดโลกร้อนซึ่งทำได้ง่ายๆ แค่ช่วยกันประหยัดพลังงานไฟฟ้า ประหยัดน้ำมัน ลดขยะพลาสติก ลดการกินทิ้งกินขว้าง และเลือกใช้พลังงานทดแทน ก็อาจจะช่วยให้โลกของเรากลับสู่ภาวะปกติได้

ข้อมูลจาก nasa.gov

ภาพปก โดย Eknbg จาก pixabay.com


เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์