อื่นๆ

ทักษะที่ควรมีตลอดชีวิตสำหรับทุกคน เพื่อก้าวสู่ชีวิตที่เปี่ยมสุข

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ทักษะที่ควรมีตลอดชีวิตสำหรับทุกคน เพื่อก้าวสู่ชีวิตที่เปี่ยมสุข

เมื่อเวลาใกล้จะย่างเข้าสู่ปีใหม่ สิ่งที่มี่เห็นอยู่เสมอบนโลก Social คือ การทบทวนถึงเหตุการณ์ในอดีตว่าเป็นอย่างไร มีเรื่องไหนที่ประสบความสำเร็จ เรื่องไหนที่ยังไม่ถึงเป้าที่วางไว้ รวมถึงการตั้งปณิธานของตนเองในปีที่กำลังจะมาถึง แต่ละคนก็มีปณิธานที่แตกต่างกัน แต่มักจะมีปณิธานอยู่ข้อหนึ่งที่พบเห็นได้บ่อยครั้งและเชื่อว่าหลายคนเองก็ให้ความสำคัญ นั่นคือ เป้าหมายการเก็บเงิน บางคนตั้งเป้าไว้ว่า ปีนี้จะเก็บเงินให้ได้เลข 6 หลัก หรือ 7 หลักบ้างขึ้นอยู่กับเป้าหมายของแต่ละคน การตั้งเป้าหมายเป็นเรื่องที่ดี แต่เป้าหมายจะสำเร็จไม่ได้หากขาดวินัยและการวางแผนที่ดี งั้นวันนี้มี่จะมาแชร์แนวทางการวางแผนด้านการเงินส่วนบุคคลเบื้องต้นกันค่ะ

สภาพคล่องและความมั่งคั่งอ้างอิง: หนังสือ 101 money เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข หน้า 41 และ สามเหลี่ยมทางการเงินของ The momentum

Advertisement

Advertisement

โลกทางการเงินมีคำศัพท์พื้นฐานสำคัญอยู่ 2 คำ คือ สภาพคล่องและความมั่งคั่ง หากคุณอยากมีความมั่งคั่ง คุณก็ควรเริ่มจากการมีสภาพคล่องที่ดีเสียก่อน แล้วสภาพคล่องที่ดีคืออะไรล่ะ?  สภาพคล่องที่ดีคือภาวะที่มีเงินเหลือให้กิน ให้ใช้ ให้เก็บ และเมื่อสภาพคล่องดีแล้ว ความมั่งคั่งจะเป็นผลที่ตามมา เนื่องจากเรามีเงินให้สามารถนำไปต่อยอดและลงทุนได้ในอนาคต โดยวิธีสำคัญเพื่อให้ทราบถึงสภาพคล่องและสามารถวางแผนการเงินส่วนบุคคลได้ คือ

การทำบัญชีรายรับรายจ่ายตนเอง เนื่องจากบัญชีดังกล่าวจะช่วยให้เรารู้ว่า เรามีแหล่งรายได้มาจากไหนและจ่ายออกไปด้วยเรื่องอะไรบ้าง โดยเราควรมีบัญชีการเงินส่วนตัว 2 บัญชี คือ 1) บัญชีรายรับรายจ่ายทั้งปี ซึ่งเป็นการคาดการณ์รายได้และรายจ่ายทั้งปี เปรียบเสมือนแม่แบบทางการเงินของเราเลยค่ะ และ 2) บัญชีบันทึกรายรับ-จ่ายประจำวัน เพื่อสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นและสอดคล้องกับงบรายปีของเราได้นั่นเองค่ะ  ทั้งนี้ การวางแผนที่ดีและควรทำเป็นอย่างยิ่งที่มี่อยากจะให้ทุกคนทำคือ การเก็บก่อนใช้ เนื่องจากไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม เราควรจ่ายเงินให้กับตัวเองเป็นอันดับแรกเสมอ ซึ่งโดยส่วนใหญ่อัตราที่มักกล่าวถึงเป็นประจำคือ อย่างน้อย 10% แต่จะมากหรือน้อยกว่านั้นขึ้นอยู่กับสภาพคล่องของแต่ละคนค่ะ

Advertisement

Advertisement

บัญชีรับจ่ายเมื่อเรามีเงินออมแล้ว ก่อนที่จะนำไปลงทุน เราควรมีทำเป้าหมายแรกของการออมให้สำเร็จเสียก่อน เพื่อเป็นเงินสำรองสำหรับความจำเป็นพื้นฐาน (Basic Needs) โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

  1. เงินสำรองฉุกเฉิน เงินกองนี้จะใช้ในกรณีที่เราอาจจะหยุดงาน ตกงานหรือมีเหตุจำเป็นต้องใช้เงิน โดยควรเก็บไว้อย่างน้อย 3-6 เท่าของ
    ค่าใช้จ่าย (อาชีพที่มีรายได้ประจำ) หรือ 6-12 เท่า (อาชีพอิสระ)
  2. เงินที่ต้องใช้ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นทุนการศึกษา ซื้อบ้าน ซื้อรถ เลี้ยงดูบุตรหลาน ฯลฯ โดยเงินส่วนนี้สามารถใช้เครื่องมือทางการเงินเข้ามาช่วยเพิ่มพูนผลตอบแทนได้ เพื่อลดระยะเวลาการเก็บเงิน ซึ่งรูปแบบการลงทุนขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่จะใช้เงินก้อนนี้ค่ะ

สภาพคล่อง

อ้างอิง: หนังสือออมให้เงินโต ของแอดมินเพจออมให้เงินโต แบบเข้าใจง่ายๆ หน้า 157-158

เหตุการณ์ไม่คาดฝันเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากที่เราจะต้องระมัดระวังเหตุการณ์เหล่านี้แล้ว เราควรถ่ายโอนความเสี่ยงของสิ่งเหล่านี้ผ่านการศึกษารูปแบบประกันประเภทต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการและกำลังทรัพย์ของตนเอง เพื่อไม่ให้เหตุการณ์เหล่านี้มากระทบต่อเงินออมและสภาพคล่องในอนาคต

Advertisement

Advertisement

ส่วนเงินสะสมเพื่อความมั่งคั่ง (Accumulation) นั่นคือ เงินเก็บยามเกษียณ คนอายุน้อยบางท่านอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวเพราะยังมีเวลาเหลืออีกหลายปี แต่รู้ไหมคะว่า ยิ่งเราอายุน้อย ยิ่งควรวางแผน เพราะช่วงที่อายุน้อยคือ ช่วงที่เรามีกำลังกายมากพอที่จะหารายได้ให้กับตนเอง โดยเราควรวางแผนค่าใช้จ่ายที่ต้องการใช้ตอนเกษียณ ต่อมาก็พิจารณารายได้ที่เราพึงจะมีในอนาคต (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันบำนาญ บำนาญราชการ ฯลฯ) และปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ เพื่อคำนวณหาเงินที่ต้องเก็บเพิ่มในช่วงระยะเวลาทำงาน  ทั้งนี้ หากเรายังมีเงินเหลือหลังจากออมเงินทุกอย่างที่กล่าวไปแล้ว เราก็สามารถนำเงินไปลงทุนต่อเพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่งได้ โดยเงินส่วนนี้เราจะเรียกว่า เงินเพื่อการลงทุน (Investment) อาจจะเอาไว้ส่งต่อให้ลูกหลานหรือใช้จ่ายในสิ่งที่เราอยากได้ และสุดท้ายนี้นอกจากที่เราจะรู้จักวางแผนทางการเงินแล้ว การศึกษาเรื่องวางแผนทางภาษีส่วนบุคคลเป็นเรื่องใกล้ตัว เพื่อให้เราสามารถบริหารจัดการและใช้สิทธิ์สำหรับการขอคืนภาษีได้ ส่วนเรื่องรายละเอียดมี่ไม่ขอพูดถึงในบทความนี้นะคะ เนื่องจากมีรายละเอียดปลีกย่อยจำนวนมาก 😉

เห็นไหมคะว่า จริงๆ แล้วรายได้มากหรือน้อยไม่ได้เป็นปัจจัยกำหนดว่า เราจะออมเงินได้เท่าไหร่ แต่การวางแผนทางการเงินที่ดีและมีวินัยคือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินตามที่เราต้องการได้ ดังนั้น เราต้องกำหนดเป้าหมายในชีวิตและรู้จักวางแผนเรื่องการเงิน เพื่อให้บรรลุชีวิตทางการเงินอันอุดมสุขและไม่เดือดร้อนกับผู้อื่นกันค่าา 😉

ปัจจุบันมีโค้ชด้านการเงินเก่งๆ หลายท่านเลยค่ะ หากเพื่อนคนไหนสนใจอยากเรียนรู้เพิ่มเติมก็สามารถลอง Search google หรือลองเปิด Podcast / Youtube ฟังกันได้นะคะ ^^ บทความนี้เป็นแนวทางพื้นฐานที่มี่เองเคยอ่านมาและพยายามเข้าใจด้วยตนเอง หากต้องการรายละเอียดหรือลงลึกกว่านั้นอย่างที่บอกไปค่า ลองหาแนวคิดเพิ่มเติมจากโค้ชการเงินเก่งๆ กันดูค่าาา ~~~~~~~~~~

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์