อื่นๆ

ทาสปลาทอง

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ทาสปลาทอง

ทาสปลาทอง

หลายคนชื่นชอบในการเลี้ยงปลาสวยงามในตู้กระจก เป็นเสมือนเพื่อนแก้เหงาได้ทุกเวลาที่เรามองดู กลุ่มปลาสวยงามนั้นมีให้เราได้เลือกซื้อหามาเลี้ยงในตู้ได้มากมายหลายสายพันธุ์ ตามความชอบของผู้เลี้ยงเป็นส่วนตัว


ปลาทอง

ปลาทองกับออกซิเจนคือของคู่กันในการเลี้ยงแบบตู้

ปลาทองก็เป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัว มีวุ้นที่หัวพร้อมกับลำตัวรูปทรงกลมอ้วนดูน่ารัก จึงเป็นปลาชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงและถูกใจใครหลายๆคน ด้วยสีสันแสดส้มทองอันสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้ปลาทองเป็นที่นิยมเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ปลาทองนั้นมีอยู่หลายสายพันธุ์ ได้แก่  รักเร่  ฮอลันดา สิงห์   แต่ที่เป็นจุดเสียของปลาทองทุกสายพันธุ์   ก็คงจะหนีไม่พ้นการกินเก่งและขับถ่ายของเสียบ่อยบ่อย ทำให้น้ำในตู้เน่าเสียได้ง่าย ซึ่งส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้เลี้ยงเสมอ เลี้ยงได้ไม่นานปลาสุดรักก็ลอยตายได้ง่ายง่าย ผมในฐานะผู้ที่เคยเลี้ยงปลาทองมาแล้วหลายปี มีข้อมูลดีๆและวิธีการเลี้ยงปลาให้อยู่กับเราได้นานมาฝากกัน

Advertisement

Advertisement


ปลาทองที่ฉันเลี้ยง

ปัจจัยสำคัญที่ผู้เลี้ยงมือใหม่ควรรู้ในการดูแลปลาทองก็คือ การเตรียมตู้ให้เหมาะสม หลายคนอาจคิดว่ามันไม่ยากเลย แค่ใส่หินรองพื้นใส่น้ำลงไปให้เต็ม เปิดระบบกรองเอาปลาที่ซื้อลงแค่นั้น แต่แท้จริงแล้วไม่นาน ปลาคุณอาจตายได้ง่ายง่าย  การรู้วิธีเตรียมตู้ก่อนซื้อปลามาลงก็มีส่วนช่วยให้ปลาไม่เกิดโรคง่ายนั้นเอง คุณควรรู้วิธีกำจัดของเสียที่เกิดจากมูลของปลาทองเสียก่อน โดยการสร้างระบบนิเวศในตู้ปลา ปัญหาของปลาทองหลักๆก็คือการขับถ่ายของเสียจำนวนมากลงที่พื้นอย่างรวดเร็ว ยิ่งจำนวนปลามากก็ยิ่งเสี่ยงต่อการตายสูง มูลของปลาทองทำให้เกิดการสะสมของก๊าซแอมโมเนีย ซึ่งมีผลเสียต่อปลาโดยตรงทำให้ปลาตายได้เสมอ   ดังนั้นเราจึงต้องมีแบคทีเรียเป็นผู้จัดการเรื่องนี้ให้ แบคทีเรียอยู่ได้ทุกที่

แบคทีเรียเราสามารถหาซื้อมาเติมใส่ได้โดยเราไม่ต้องรอให้เกิดเชื้อเองตามธรรมชาติ หาที่อยู่ให้แบคทีเรียอาศัยด้วย ได้แก่ หินรองพื้น เศษปะการัง หินภูเขาไฟ หรือวัสดุที่มีรูพรุน เปิดระบบกรองทิ้งไว้สัก 1-2 คืน จนน้ำใสเหมือนตาตั๊กแตนเป็นอันใช้ได้ เลือกจำนวนปลาให้เหมาะสมกับตู้คุณ ส่วนตู้ในภาพประกอบผมเลี้ยงไว้ 8 ตัว ตามหลักฮวงจุ้ย ผมไม่ได้ใส่หินรองพื้นแต่ใส่หินพรุนไว้ที่ช่องน้ำล้น เพราะมีเวลาดูดมูลปลาออกทุก2 วัน ใครมีเวลาก็ทำตามผมได้เลย ส่วนการเอาปลาลงตู้ ไม่ควรเทน้ำจากถุงปลาที่ซื้อมาลงไปในตู้เราโดยตรง เพราะอาจมีปรสิตปะปนมาจากน้ำที่อื่นได้ และที่สำคัญควรปรับอุณหภูมิให้ปลาเสียก่อน โดยการลอยถุงไว้กับน้ำในตู้สัก 10 นาที เพื่อให้อุณหภูมิน้ำในถุงกับน้ำในตู้เท่ากัน เมื่อนำปลาลงน้ำ จะได้ไม่เกิดสภาวะน็อกน้ำ  นอกจากนี้เครื่องกรองก็เป็นปัจจัยหลักที่สำคัญเหมือนกัน ระวังอย่าให้กรองและปั๊มเกิดการอุดตัน ควรเปลี่ยนใยกรองและทำความสะอาดตัวปั๊ม สักเดือนละ 2 ครั้ง หรือ สัปดาห์ละ 1 ครั้งก็ได้ เพราะถ้าเกิดปัญหาอุดตันมากเกินไป จะทำให้การถ่ายเทน้ำใหม่น้อยกว่าน้ำเก่าไม่สมบูรณ์เต็ม 100 % มีโอกาสที่ปลาจะมีสภาวะตกเลือดได้ ถ้าน้ำเก่าตกค้างในตู้มากเกินไป

Advertisement

Advertisement

เปลี่ยนใยกรองและทำความสะอาดช่องน้ำล้น

ปลาทองนั้นกินเก่งมาก ไม่ควรให้อาหารตามใจปลาจนเกินไป อาจทำให้ปลาเกิดก๊าซในลำไส้ เป็นโรคถุงลมพองตัวลอยหัวทิ่มตลอดเวลา ว่ายน้ำลงใต้พื้นตู้ไม่ได้ นานไปเกล็ดพองตายได้เหมือนกัน ปลาทองไม่กินอาหารเป็นเดือนก็ไม่ตายน่ะครับ  เราควรคำนึงถึงปริมาณอาหารเสมอ ให้แค่ปลากินหมด  และที่ลืมบอกไม่ได้เลยคือ ไม่ควรเอาปลาขนาดเล็กกว่าไปไว้ในตู้เดียวกันน่ะครับ  ควรคัดตัวที่เท่าๆกันมาเลี้ยงหรือใหญ่กว่านิดหนึ่งก็ได้ แต่อย่าเล็กเกิน เพราะถ้าวันไหนคุณลืมให้อาหารมัน เจ้าตัวเล็กสุดจะกลายเป็นเมนูหลักของพวกตัวใหญ่ได้ทันที


ดังนั้นผู้ที่เริ่มเลี้ยงควรมีความรู้ความเข้าใจ ศึกษารายละเอียดก่อนซื้อปลามาเลี้ยง ขอให้บทความนี้ เป็นองค์ความรู้แก่ผู้อ่านและเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่อยากเลี้ยงปลาทอง ให้ถูกต้องถูกวิธีต่อไป

เครดิตภาพหน้าปก: Canva
ภาพจากผู้เขียน : ยุทธพงศ์ / ภาพที่1/ภาพที่2/ภาพที่3/ภาพที่4/ภาพที่5/ภาพที่6

Advertisement

Advertisement

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
Thaistye
Thaistye
อ่านบทความอื่นจาก Thaistye

บทความของผมมาจากความคิดอย่างแท้จริง

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์